เวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นถอดบทเรียน “การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน”ยึดหลัก3ส.


เพิ่มเพื่อน    

           ในเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น วาระ:ทศวรรษร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ “การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน” เป็นหนึ่งในวาระขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 7 ประเด็น เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างสรรค์แนวทางการบริหารจัดการท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ ที่ทำให้ชุมชนมีความอยู่ดีมีสุข (wellbeing) และเป็นแนวทางการบริหารจัดการหรือต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม 

                โจทย์สำคัญคือผู้นำชุมชนท้องถิ่นจะต้องทำอย่างไรในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนให้ประสบผลสำเร็จ ทั้งการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน สนับสนุนให้มีการจัดทำนโยบายท้องถิ่น นโยบายภาครัฐ จัดทำแผนหรือโครงการส่งเสริมเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ให้ความสำคัญ รับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมเยาวชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี และเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ

                ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง นำเสนอชุดการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน พร้อมชี้ให้เห็นสถานการณ์การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในแต่ละกลุ่ม ชุดกิจกรรมการดูแลเด็ก 0-2 ปี ชุดกิจกรรมดูแลเด็ก 3-5 ปี ชุดกิจกรรมการส่งเสริมการเล่นและกิจกรรมทางกายช่วยเด็ก 0-2 ปี 3-5 ปี 6-12 ปี หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานภาคเอกชน/สถาบันวิชาการ อำเภอ ตำบล สานพลัง 4 องค์กรหลักในพื้นที่ร่วมมือกันทุกหน่วยงาน อปท. รพ.สต. วัด มัสยิด โรงเรียน เข้ามารับผิดชอบส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนร่วมกัน สร้างเป้าหมายร่วมกัน โดยการจัดประชุมหรือเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย มีการจัดทำ MOU ร่วมกันในการแก้ไขปัญหา และใช้หลัก 3 สร้างการมีส่วนร่วม สร้างการเรียนรู้ สร้างการเปลี่ยนแปลง

            สถานการณ์เด็กและเยาวชน จำนวนประชากร 1,646,820 คน มี 568,531 ครัวเรือน เด็กปฐมวัย 0-6 ปี 6,972 คน (11.55% ของเด็กปฐมวัย) เด็ก 3-6 ปี 53,370 คน (88.45%) ของเด็กปฐมวัย เด็กและเยาวชนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า สุขภาพและพัฒนาการของเด็ก เด็กแรกเกิด-6 เดือน ไม่ได้กินนมแม่อย่างเดียว การรับวัคซีนไม่ครบ

            ครัวเรือนที่มีเด็กปฐมวัย 9.50% (53,994 ครัวเรือน) ครัวเรือนที่มีเด็กปฐมวัยอาศัยอยู่กับพ่อแม่ 13.33% (7,196 ครัวเรือน) ครัวเรือนที่มีเด็กปฐมวัยอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย 3.87% (2,088 ครัวเรือน) ครัวเรือนที่มีเด็กปฐมวัยอาศัยอยู่กับญาติ 1,962 ครัวเรือน ข้อสังเกตว่าการทิ้งเด็กปฐมวัยให้อยู่กับญาติพี่น้อง เด็กจะมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กได้รับวัคซีนไม่ครบ พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย น้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์ บางครั้งก็อ้วนไป ผอมไป สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียนระดับปฐมวัย การเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีบทบาทต่อการพัฒนาเด็ก การคิดวิเคราะห์ต่างๆ การเรียนการศึกษาต้องอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณเป็น ดังนั้นการดูแลเด็กปฐมวัยต้องอาศัยบทบาทของผู้นำ

            การสร้างการมีส่วนร่วมสร้างการเรียนรู้ สร้างการเปลี่ยนแปลง รพ.สต. อปท. รร. กลุ่ม อสม. ปราชญ์ชาวบ้าน สร้างผู้นำต้นแบบที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลและเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างการมีส่วนร่วมของ 4 องค์กรหลัก และภาคเอกชนสร้างเครือข่ายผู้นำ การจัดการการศึกษาไทย ปัญหาการใช้ชีวิต เราจะทำอย่างไรให้ลูกหลานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

            ข้อเสนอสำหรับเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกันกำหนดทิศทาง “การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน” ควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล application เพื่อระบุตำแหน่งและแจ้งเตือนการรับวัคซีนของเด็ก จัดบริการสาธารณะสำหรับเด็กกลุ่มเฉพาะ ควรจะมีการจัดระบบฐานข้อมูลเชิงลึก การบูรณาการอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน มีพื้นที่สร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมตามความสนใจให้เด็กและเยาวชน พัฒนารูปแบบการสร้าง การเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการเตรียมแผนการปฏิบัติงานในสถานการณ์วิกฤติ.

 

 

 

ต.ทุ่งหัวช้างสร้างโรงเรียนใกล้บ้านที่มีคุณธรรม

ในช่วง Leader Talk:ทรงศรี ชูวัฒนกุล นายกเทศบาล ต.ทุ่งหัวช้าง อ.เมือง จ.ลำพูน ถ่ายทอดประสบการณ์จากการทำงานให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนฟังว่า

            ผมเคยเข้าร่วมงานกับ สสส.ตั้งแต่ปี 2557 เป็นศูนย์จัดการเครือข่ายที่มีลูกข่าย 15 อพท. และได้ขึ้นเป็น สศจด.เมื่อปี 2563 ทำให้เทศบาล ต.ทุ่งหัวช้างได้ฝึกประสบการณ์และได้รับความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้เครือข่ายทั้ง 15 แห่งได้มาเรียนรู้จากเทศบาล ต.ทุ่งหัวช้าง โดยการหนุนเสริมของ สสส.ในทุกประเด็น สุขภาพ เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม ชุมชน รวมถึงประเด็นในเรื่องเด็กและเยาวชนในพื้นที่ด้วย

            มีเทศบาล 3 ตำบลแยกออกจาก อ.ลี้ 30 กม. รร.ลี้จัดการเรียนการสอนดีที่สุด ผู้ปกครองจึงส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน เรื่องของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ พบว่าเด็กในพื้นที่ต้องออกไปเรียนโรงเรียนที่ไกลๆ เนื่องจากโรงเรียนในตัวอำเภอนั้นมีศักยภาพ จึงทำให้ผู้ปกครองต่างพาเด็กไปเรียนในตัวอำเภอ ทำให้มีความยากลำบากในการเดินทางและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงขึ้นในแต่ละครอบครัว เพื่อเป็นการส่งเสริมลูกหลานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีชาวบ้านมาขอร้องให้ทางเทศบาลหนุนเสริมในเรื่องดังกล่าว ผลักดันให้เยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และนำเสนอให้สร้างและเปิดโรงเรียนที่มีคุณภาพให้กับเด็กในพื้นที่ได้เรียนหนังสือที่มีประสิทธิภาพใกล้บ้าน

            จากจุดเริ่มต้นนี้ทำให้ศึกษาวิธีการที่จะทำให้ดีที่สุด และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการขับเคลื่อน เพื่อเปิดโรงเรียนที่มีคุณภาพ ในช่วงแรกเข้าไปศึกษาวิชาการบริหารงานและศึกษาผลสัมฤทธิ์ของเด็กใน รร.เอกชน เพื่อนำมาถอดบทเรียนและบริหารคนในโรงเรียนของเทศบาล และเพื่อเป็นการสร้างความพร้อมให้ได้ทุกวิชาพื้นฐาน ทั้งเด็กต้องเรียนรู้ รวมถึงเพื่อให้เด็กมีคุณภาพและสามารถที่จะไปสอบแข่งขันในโรงเรียนที่มีคุณภาพในสายอาชีพซึ่งต้องมีพื้นฐานที่ดีได้ด้วย ทั้งนี้การเปิดโรงเรียนได้รับการตอบรับที่ดี

            “ผมปรึกษากับทีมสมาชิกสภาเทศบาลฯ เพื่อหารือค้นหาแนวทางวิธีการต่างๆ ให้เกิดโรงเรียนใกล้บ้านที่มีคุณธรรม สามารถสร้างให้เด็กในพื้นที่ให้ไปเรียนต่อได้ในโรงเรียนชั้นนำต่างๆ ได้ หรือในสาขาวิชาชีพที่ดีมีคุณภาพค่อนข้างยากได้ สาขาวิทย์-คณิต-อังกฤษได้เป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่หนุนเสริม เพียงแต่ให้ตั้งใจมุ่งมั่นที่จะสร้างเด็กและเยาวชนบ้านเราให้มีการศึกษาที่ดีเป็นที่ตั้ง และให้ทำอย่างตั้งใจ”

            ขณะนี้นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 มีจำนวนมากที่สุดในอำเภอ นักเรียน 270 คน เรามีวัยดักแด้ในศูนย์เด็กเล็ก รร.อนุบาล ขณะนี้ประชากรมีจำนวนกว่า 2 หมื่นคน การสร้างความพร้อมของเมืองเล็กๆ นั้นจะต้องใช้ความมุ่งมั่น ต้องบริหารจัดการอย่างเต็มที่ ด้วยการตั้งเป้าหมายเพื่อความสำเร็จของบุตรหลานเป็นอย่างดี

            ในส่วนเทศบาล ต.ทุ่งหัวช้างได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย หรือเป็นตัวชี้วัดการันตีงานในเรื่องดังกล่าว ทำให้มีงบประมาณที่ได้รับจากรางวัลไปหนุนเสริม ทำให้เรื่องการศึกษาในพื้นที่ยิ่งดีขึ้นและมีความต่อเนื่องด้วย.

ส่งเสริมให้เรียนใน กศน.ให้ศึกษาอาชีพเพิ่ม

ในช่วง Leader Talk:สมจิตร นามสว่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท อ.จอมพระ จ.สุรินทร์

                การขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนในพื้นที่ใช้พื้นฐานของตนเองเป็นบทเรียน และได้ถอดบทเรียนจากความยากจน จากการขาดโอกาสของตนเองสมัยเด็กมาเป็นตัวตั้ง ว่าผมจะทำอย่างไรให้เด็กในชุมชนได้รับโอกาสที่ดีที่สุด รวมทั้งชาวบ้านเองก็มีความคาดหวังให้ลูกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นำมาสร้างเป็นวิธีการในการจัดการ และนำเอาศรัทธามาผนวกเริ่มต้นด้วยการให้ใจกับเด็กในการเริ่มต้นพัฒนา คำนึงถึงความสำเร็จที่ชัดเจนในพื้นที่

            “ผมได้สรรหาความร่วมมือจากท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาของเด็กในพื้นที่ นอกจากการให้การศึกษาแล้ว ยังมีอีกหลากหลายปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญ เด็กกำพร้าขาดพ่อแม่ เด็กอาศัยอยู่กับปู่ย่าหรือตากับยาย”

            ในการใช้เทคนิควิธีการเข้าหาเด็กกลุ่มนี้ด้วย บางคนไม่ได้รับการศึกษาต่อในระบบอย่างต่อเนื่อง ใช้การศึกษานอกระบบ เพราะบางคนก็มีการขาดช่วงในระบบการศึกษาและเล่าเรียน และผมจะช่วยหนุนเสริมได้

            เด็กกลุ่มนี้มีความเข้าใจในสายงานอาชีพ คือส่งเสริมให้เรียนใน กศน.แล้วยังให้ศึกษาอาชีพเพิ่ม การทำการเกษตร การเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาเป็นอาชีพให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว เป็นการฝึกอาชีพ เด็กกลุ่มนี้จึงสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นที่มาอีก 1 ข้อที่ทำให้ผมได้ทำงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้สำเร็จ และชาวบ้านไว้ใจให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นไปด้วยดีอย่างยิ่ง ได้รับการตอบรับที่ดี ชาวบ้านเห็นด้วยจากประสิทธิผลที่เกิดขึ้น จึงได้มีการต่อยอดการดำเนินงานจากเรื่องดังกล่าวอีกมากมาย

            เรื่องดังกล่าวที่ส่งเสริมงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป็นลำดับต้นแล้ว การปฏิบัติงานในองค์กร เน้นให้ใช้บุคลากรที่มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เป็นหลัก เพื่อให้เกิดการผลักดันในพัฒนาพื้นที่ตนเองให้ดีด้วยใจ

การสร้างครูให้ครบเหมือนกลุ่มสาระในทุกชั้นเรียน

ในช่วง Leader Talk:กิตติพงศ์ สีเหลือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

                แรงบันดาลใจในการทำงาน เนื่องจากเกาะเสม็ดใต้สมัยก่อนไม่มีความเจริญ เป็นสถานที่อยู่ห่างไกลความเจริญมาก เนื่องจากพื้นที่เสม็ดใต้สมัยก่อนไม่เจริญ เรียกได้ว่าอยู่ห่างไกลความเจริญมาก เมื่อมองประชากรในชุมชนจึงคิดที่จะมีการพัฒนาให้เด็กในชุมชนได้มีพัฒนาการที่ดี และเกิดการเรียนรู้ในการสร้างเด็กในชุมชน มีการสร้างเด็กในทุกช่วงวัย สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน แต่เนื่องจากการทำงานนั้นไม่สามารถที่จะทำงานแต่เพียงผู้เดียวได้ จึงจำเป็นที่จะร่วมมือกับองค์กรในทุกภาคส่วน ในการที่จะมาร่วมระดมความคิดและการที่จะพัฒนาให้ได้มีศักยภาพที่ดีมากขึ้น และเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพเด็กให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นไป

            การจะสร้างความสำเร็จได้นั้นจะต้อง 1.สร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ภาครัฐและผู้นำให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน 2.ส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดมีการดื่มนมแม่ และมีการเยี่ยมบ้านประชากรและดูแลกลุ่มแม่เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อดูแลเด็กในการที่จะพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด

            การสร้างครูให้ครบเหมือนกลุ่มสาระในทุกชั้นเรียน มีวิธีการที่จะช่วยคนอื่นมาร่วมทำ และสิ่งที่อยากช่วยคนอื่นทำ ในการที่เราจะทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราไม่สามารถที่จะทำงานเพียงผู้เดียวได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรวมกลุ่มองค์กรร่วมกันในการทำงาน และการได้เรียนรู้ถึงความสำคัญในการพัฒนาและมีคุณภาพที่ดี ชุมชนเราจะดีขึ้นได้อย่างไร การให้บทบาทในการทำงานตั้งแต่การจัดทำแผนการบริหารจัดการงบประมาณ ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจในการทำงาน

การรับสมัครผู้ใหญ่ใจดีเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลเด็กและเยาวชนในตำบล

ในช่วง Leader Talk:ประยงค์ หนูบุญคง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขอนหาด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

            การสร้างความเท่าเทียมของเด็กในชุมชนกับสังคมเด็กในเมือง เนื่องจากการศึกษาที่ได้รับไม่เหมือนกัน ทำให้เด็กในชุมชนทำอย่างไรจะประสบความสำเร็จ และสร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง หน่วยงาน ผู้นำให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยการตั้งกลุ่มงานเด็กและเยาวชนขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน ส่งเสริมให้เยาวชนมีอิสระในการดำเนินกิจการต่างๆ ในชุมชน ส่งเสริมให้เขาจัดกลุ่มแกนนำ

            การรับสมัครผู้ใหญ่ใจดีเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลเด็กและเยาวชนในตำบล การสร้างแกนนำเยาวชน กลุ่มงานด้านเด็กและเยาวชน และผู้ใหญ่ใจดีร่วมกันจัดทำแผนงานประจำปีในการขับเคลื่อนงาน กิจกรรมจิตอาสาพาน้องเข้าวัด ทำบุญช่วงเทศกาล กิจกรรมการลดจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ กิจกรรมช่วยเหลือเยาวชนนอกระบบ มาเรียนรู้อาชีพในชุมชน หนุนเสริมและนำเสนอผลงานเยาวชนในรอบปี เพื่อจะได้ทำงานร่วมกัน ช่วยคนอื่นมาร่วมกันทำงาน ให้เขาเห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ถ้ามีการพัฒนาชุมชนก็จะดีขึ้น การให้บทบาทในการทำงานตั้งแต่การจัดทำแผนการบริหารคน การจัดการงบประมาณ ทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในการทำงาน เกิดความเป็นเจ้าของในงานที่ได้ทำ ให้งานพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นพลังเยาวชนพลังท้องถิ่น.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"