ธปท.ออกแบงก์ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


เพิ่มเพื่อน    

 

"ธปท.” ออกธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 จำนวน 2 ชนิด โดยชนิดราคา 1,000 บาท จำนวน 10 ล้านฉบับ ชนิดราคา 100 บาท จำนวน 20 ล้านฉบับ เริ่มเปิดแลกตั้งแต่ 12 ธ.ค.นี้ "โพล" เผย ปชช.ส่วนใหญ่รักในหลวง  หนุนต้านข่าวใส่ร้ายคุกคามสถาบัน
    เมื่อวันที่ 28 พ.ย. นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 เป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และยังเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญ ตลอดจนพระราชพิธีที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย โดยจะนำออกใช้ในวันที่ 12 ธ.ค.2563 ซึ่งเป็นวันครบ 1 ปีของการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562
    ทั้งนี้ ธนบัตรที่ระลึกชุดนี้มี 2 ชนิดราคา คือ 1,000 บาท จัดพิมพ์จำนวน 10 ล้านฉบับ และ 100 บาท จัดพิมพ์จำนวน 20 ล้านฉบับ โดยธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท มีรูปทรงแนวตั้ง ใช้หมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้เป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ใช้อยู่ในธนบัตรแบบปัจจุบัน ส่วนชนิดราคา 100 บาท มีลักษณะโดยรวมและลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบ 17 ที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน โดยปรับโทนสีธนบัตรให้เป็นสีเหลือง สำหรับภาพด้านหลังธนบัตรทั้ง 2 ชนิดราคา เป็นภาพจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562
    "ธนบัตรที่ระลึกทั้ง 2 ชนิดราคา สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ประชาชนสามารถแลกตามมูลค่าที่ตราไว้หน้าธนบัตรได้ที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือไอแบงก์ และสำหรับชนิดราคา 100 บาท สามารถกดจากตู้กดเงินสดอัตโนมัติที่มีป้ายสัญลักษณ์ได้อีก 1 ช่องทางด้วย โดยธนบัตรที่ระลึกทั้ง 2 ชนิดราคา เตรียมกระจายให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว โดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินสามารถแลกรับธนบัตรที่ระลึกทั้ง 2 ชนิดราคาได้ที่ศูนย์จัดการธนบัตรของ ธปท.” ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว
    ส่วนนายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธปท. กล่าวว่า ภาพรวมปริมาณการพิมพ์ธนบัตรเพื่อออกใช้ในระบบในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2-3% ลดลงจากปกติที่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5-6% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีทางการเงินที่ทันสมัย ทำให้ประชาชนหันไปใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น แต่เชื่อว่าหากถึงจุดหนึ่งที่มีสถานการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ความต้องการใช้ธนบัตรก็จะปรับเพิ่มขึ้น เพราะคนต้องการใช้ธนบัตรมากกว่าการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
    วันเดียวกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่องประชาชนรักในหลวง กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,214 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 20-26 พ.ย.2563 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.5 เชื่อว่าประชาชนผู้มีใจเป็นธรรมรักในหลวง รองลงมาคือร้อยละ 97.9 สำนึกว่าในหลวงทรงงานอยู่เบื้องหลังช่วยเหลือประชาชนและวิกฤติชาติ เช่น ช่วย 13 ชีวิตเด็กที่ถ้ำหลวง แก้วิกฤติโควิด-19 แก้ปัญหาที่ทำกินของเกษตรกร และ โคกหนองนาโมเดล เป็นต้น
    นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.4 สำนึกว่าในหลวงทรงเสี่ยงชีวิต และสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล ในขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.3 สำนึกว่าในหลวงทรงสละทรัพย์สินส่วนพระองค์เพื่อประชาชนด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ และการศึกษา เป็นต้น และส่วนใหญ่ร้อยละ 96.9 สำนึกว่าในหลวงทรงรักประชาชนอย่างเท่าเทียม แม้แต่ในกลุ่มผู้มีอคติ ถูกยุยงปลุกปั่น ตามลำดับ
    เมื่อจำแนกแบ่งเป็นกลุ่มเยาวชนและกลุ่มที่ไม่ใช่เยาวชน ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 90.4 ของกลุ่มเยาวชน และร้อยละ 97.7 ของกลุ่มไม่ใช่เยาวชน สำนึกว่าในหลวงทรงสละทรัพย์สินส่วนพระองค์เพื่อประชาชนด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ และการศึกษา นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.8 ของกลุ่มเยาวชน และส่วนใหญ่ร้อยละ 97.3 ของกลุ่มไม่ใช่เยาวชน สำนึกว่าในหลวงทรงรักประชาชนอย่างเท่าเทียม แม้แต่ในกลุ่มผู้มีอคติ ถูกยุยงปลุกปั่น ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.6 อยากเห็นประชาชนพิจารณาแยกแยะเรื่องส่วนตัวของประชาชนแต่ละคนเองว่าเป็นอย่างไร และส่วนใหญ่ร้อยละ 98.1 อยากเห็นประชาชนผู้มีสัมมาทิฏฐิ จิตใจบริสุทธิ์เป็นกลางแท้จริง ต่อต้านข่าวใส่ร้าย ต่อต้านการคุกคามในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน
    "ผลโพลนี้ชี้ชัดว่าประชาชนรักในหลวง ส่วนที่เหลือคือคนส่วนน้อยที่เห็นต่าง แต่ต้องให้ความสำคัญความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติของกลุ่มคนเห็นต่างด้วย จะประมาทไม่ได้ เพราะคนส่วนน้อยกำลังใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือยุยงปลุกปั่นทำคนไทยแบ่งเป็นสองขั้ว สร้างความแตกแยกของคนในชาติ ถ้าปล่อยไว้จะเป็นปัญหาที่ลุกลามบานปลายได้ โดยผลโพลนี้สุ่มสำรวจกับคนในโลกความเป็นจริง ไม่ใช่คนในโลกโซเชียล จึงเป็นเสียงของคนที่มีตัวตนแท้จริง ไม่ใช่คนอวตารในโลกโซเชียล และไม่มีการเสนอตัว ไม่มีการจัดตั้งฝูงคนเข้ามาตอบแบบสอบถามในการสำรวจนี้” ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"