จัดการปัญหาสร้างหนี้


เพิ่มเพื่อน    


    อย่างที่ทราบในปัจจุบันภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ แนวโน้มของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ครัวเรือนมีการขยายตัวที่ต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยหนี้สินเฉลี่ยของครัวเรือนไทย (เฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้) ในปี 2562 อยู่ที่ 3.6 แสนบาทต่อครัวเรือน ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5.1% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่ารายได้ของครัวเรือน (ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 3.3%) ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ทั้งปีของครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาเป็น 98.6% ในปี 2562 จาก 83.2% ในปี 2552
    ขณะที่ตัวเลขธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ระบุว่า  สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงขึ้นไปอยู่ที่ 84% จากที่เคยอยู่ที่ 80% 
    และปัญหานี้ก็กลายเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะครัวเรือนไทยจำนวนไม่น้อยมีความเปราะบางจากภาระหนี้ต่อเดือนที่สูง และหากจัดการไม่ดีจะยิ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว
    โดยจากข้อมูลของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ที่นำ Machine Learning มาวิเคราะห์ข้อมูลหนี้ครัวเรือนในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยมีรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ต่อรายได้ในแต่ละเดือน (Debt Service Ratio หรือ DSR) อยู่ที่ 23.5% ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 53.4% ของการชำระหนี้ต่อเดือนเป็นการชำระหนี้เพื่อการบริโภค (รวมยานพาหนะ) และรองลงมาเป็นการชำระหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งมีสัดส่วนที่ 18.8% 
    ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีภาระหนี้ต่อเดือนมากที่สุด 15% แรกของครัวเรือนกลุ่มที่มีหนี้ หรือจำนวนราว 1.5 ล้านครัวเรือน พบว่าครัวเรือนกลุ่มนี้เริ่มมีความเสี่ยงเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญต่อการประสบปัญหาทางการเงิน เช่น การผิดนัดชำระหนี้ หรือการที่ไม่สามารถชำระค่าสาธารณูปโภคได้ตรงกำหนด เป็นต้น โดยครัวเรือนที่เป็นกลุ่มเปราะบาง มี DSR เฉลี่ยถึง 75.4% ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่สูงมาก เพราะนั่นหมายความว่าครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวเหลือเงินเพื่อการบริโภคหลังจากหักการชำระหนี้เพียงราว 1 ใน 4 ของรายได้เท่านั้น
    "รายได้ยิ่งน้อยยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นกลุ่มเปราะบาง และโอกาสจะเพิ่มขึ้นหากเป็นครัวเรือนพึ่งพารายได้จากการทำการเกษตร รายได้ครัวเรือนทั้งจากการทำงาน การลงทุน และรายได้อื่นๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการบ่งชี้โอกาสในการเป็นกลุ่มเปราะบาง หรือการมี DSR สูงเป็น 15% แรก"
    การมีรถและบ้านที่แพงเกินไปเพิ่มโอกาสการเป็นกลุ่มเปราะบาง รวมไปถึงการใช้จ่ายท่องเที่ยว-บันเทิงต่อรายได้ที่สูง เพิ่มโอกาสการมีปัญหาหนี้สูง โดยเฉพาะสำหรับครัวเรือนรายได้น้อย 
    ทั้งนี้ EIC แนะให้คำแนะนำครัวเรือนสามารถปรับตัวเพื่อลดโอกาสในการประสบปัญหาภาระหนี้สูงได้ดังต่อไปนี้ 1.เพิ่มรายได้ แม้จะเป็นเรื่องที่ท้าทายในยุคปัจจุบันในช่วงที่มีโควิด-19 ระบาด แต่การเพิ่มรายได้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดในการสร้างความสามารถในการชำระหนี้ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงแนวโน้มธุรกิจและกลยุทธ์การบริหารสภาพคล่องในระยะข้างหน้า เพื่อลดความเสี่ยงในการประสบปัญหาในการชำระหนี้ 2.ลดรายจ่ายไม่จำเป็น เช่น การลดรายจ่ายด้านสันทนาการ หรือการชะลอการซื้อสินค้าที่ยังไม่มีความจำเป็น จะสามารถช่วยลดภาระหนี้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรายจ่ายท่องเที่ยว-บันเทิงที่ถูกบ่งชี้จากผลการวิเคราะห์ว่ามีผลในการลดโอกาสการเป็นหนี้สูง โดยเฉพาะสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย 3.เพิ่มสัดส่วนการเก็บออม ส่วนเกินที่เกิดจากการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายควรนำมาสร้างกันชนทางการเงินเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะสั้น รวมถึงความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวผ่านการออม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนในการช่วยลดโอกาสการเป็นครัวเรือนกลุ่มเปราะบางได้ดี.
ลลิตเทพ  ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"