หมึกบลูริงปิ้งขาย ชี้มีพิษร้ายกินตาย


เพิ่มเพื่อน    


    กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโพสต์เตือนอันตรายหมึกบลูริง หลังมีผู้แจ้งเห็นเสียบไม้ย่างขายในปทุมธานี ระบุมีพิษกินถึงตาย และทนความร้อนได้ถึง 200 องศา รุนแรงกว่าพิษงูเห่า 20 เท่า ปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
    เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ เฟซบุ๊กกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แจ้งว่า สถาบันวิจัย ทช.ได้รับแจ้งจากคุณจันทรา พุ่มแจ่ม พบหมึกบลูริงเสียบไม้ปิ้งขายในตลาดนัดตอนเย็นในพื้นที่ จ.ปทุมธานี โดยมีข้อความเตือนว่า
    "จากทะเลมาปทุมธานี หมึกบลูริงพิษร้ายระวังด้วย... แม้ว่าหมึกย่างจะอร่อยมากก็จริง ยิ่งเจอน้ำจิ้มรสเด็ดยิ่งแจ่ม แต่ให้สังเกตเพิ่มกันหน่อย ทั้งพ่อค้าแม่ค้าคัดแยกให้ดีก่อนเอามาปรุงอาหารขาย ลูกค้าก็เช่นกัน ก่อนบริโภคสังเกตลายสักนิด ถ้าพบหมึกมีลายเป็นวงๆ สีน้ำเงินทั่วตัวจนไปถึงเส้นหมวด ให้หลีกเลี่ยงด่วน อันตรายมาก เพราะพิษของหมึกชนิดนี้ แม้ปรุงสุกก็ไม่สลาย ยังมีอันตราย พิษนี้ทนความร้อนได้สูงถึง ๒๐๐ องศาเซลเซียส ดังนั้น แม้ย่างสุกก็ไม่สามารถทำลายพิษได้ ปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษใดๆ ต่อต้านได้"
    จากข้อมูลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า หมึกบลูริง หรือหมึกสายวงน้ำเงิน (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกยักษ์จำพวกหนึ่ง แต่มีขนาดเล็กมาก ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวเพียง 4-5 เซนติเมตร มี 8 หนวด แต่ละหนวดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร หลังจากเพศเมียวางไข่จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ และใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนเจริญเป็นตัวเต็มวัย โดยมีอายุขัยประมาณ 1 ปี
    หมึกบลูริงมีจุดเด่นต่างจากหมึกทั่วไปตรงที่มีลวดลายเป็นวงแหวนสีน้ำเงิน กระจายตามลำตัวและหนวด ซึ่งจะตัดกับสีของลำตัวที่ออกเป็นสีเหลืองน้ำตาลอย่างชัดเจน วงแหวนสีน้ำเงินเหล่านี้สามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม เนื่องจากหมึกชนิดนี้มีสีสวยงาม และมีขนาดไม่ใหญ่มาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบเลี้ยงปลาสวยงามและสัตว์แปลกๆ ปัจจุบันทั่วโลกพบหมึกบลูริงทั้งหมดประมาณ 4 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานการพบหมึกสายวงน้ำเงิน สกุล Hapalochlaena maculosa ในบริเวณน่านน้ำไทยทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
     ก่อนหน้านี้ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลว่า หมึกบลูริงมีพิษร้ายแรงกว่างูเห่า 20 เท่า ผู้ถูกกัดอาจจะตายภายในเวลารวดเร็ว สารพิษของหมึกชนิดนี้คือ เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) เป็นพิษที่มีผลต่อระบบประสาท โดยปริมาณพิษที่มนุษย์รับประทานแล้วเสียชีวิตคือประมาณ 1 มิลลิกรัม รุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า อีกทั้งพิษยังทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร และปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษใดๆ ต่อต้านได้
    อาการของเหยื่อเมื่อโดนพิษหมึกบลูริง เริ่มจากการชาบริเวณริมฝีปาก ลิ้น ต่อมาจะชาบริเวณใบหน้า แขน ขา และเป็นตะคริวในที่สุด อาจมีอาการน้ำลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียร่วมกับปวดท้องและรุนแรงขึ้น เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้ป่วยที่ได้รับพิษปริมาณมาก พิษจะเข้าไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หายใจไม่ออก เนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่บางรายมีรายงานพบว่าเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเพียง 20 นาทีเท่านั้น
    การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ปฐมพยาบาลทันทีหลังถูกกัด โดยใช้การกดรัดและตรึงอวัยวะส่วนนั้นไม่ให้เคลื่อนไหว เพื่อทำให้พิษไม่แพร่กระจายเข้าระบบไหลเวียนโลหิต ก่อนรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"