เคาะแพ็กเกจปีใหม่ทั่วหน้า คนละครึ่งเฟสสอง3.5พัน


เพิ่มเพื่อน    

 

“ซานต้าตู่” นั่งหัวโต๊ะ ศบศ.เคาะแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ถ้วนหน้า ทั้งคนละครึ่งเฟสสอง 5 ล้านสิทธิ์ เพิ่มวงเงินเป็น 3,500 บาท แจก 500 บาทให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการ 3 เดือน เราเที่ยวด้วยกันก็เฮ ขยายห้องพัก-ค่าเครื่องบิน แถมคลอดมาตรการจูงใจผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไปเที่ยว ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลพาเหรดยันปีหน้าไทยฟื้น
เมื่อวันพุธที่ 2 ธันวาคม มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
ภายหลังการประชุม นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า ที่ประชุม ศบศ.เห็นชอบมาตรการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 และมาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยใช้เงินรวมประมาณ 43,500 ล้านบาท โดยขั้นตอนจากนี้จะเสนอให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณารายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะวันเวลาเริ่มมาตรการก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
     นายพรชัยกล่าวว่า โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 จะเหมือนกับระยะแรก โดยเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติมอีก 5 ล้านคน แต่ได้รับวงเงินคนละ 3,500 บาท ซึ่งผู้ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการระยะแรก เพราะไม่ได้ใช้จ่ายภายในวันที่กำหนดสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ โดยจะเริ่มใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค.2564 ส่วนผู้ได้รับสิทธิ์อยู่แล้ว ก็เพิ่มวงเงินให้อีกคนละ 500 บาท และขยายเวลาใช้สิทธิ์ออกไปจนถึงวันที่ 31 มี.ค.เช่นกัน ซึ่งผู้ที่มีสิทธิอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้จนหมดเหมือนข่าวลือออกมา และในขั้นตอนการขยายสิทธิ์ให้จะเปิดให้ทำด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด  
     “มาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะเพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับผู้ถือบัตรคนละ 500 บาทต่อคน เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค.2564”  
     นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ที่ประชุม ศบศ.ยังเห็นชอบปรับปรุงโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยเพิ่มจำนวนห้องพักในโครงการจากเดิม 5 ล้านคืนเป็น 6 ล้านคืน โดยจำนวนห้องที่เพิ่มมาจะสนับสนุนเฉพาะ E-Voucher แต่ไม่อุดหนุนเรื่องค่าที่พัก และขยายสิทธิ์ห้องพักต่อคืนจากที่ได้คนละ 10 คืนต่อ 1 สิทธิ เพิ่มเป็น 15 คืน และขยายช่วงเวลาการจองที่พักจากเวลา 06.00-21.00 น. เป็นเวลา 06.00-24.00 น. และขยายเวลาใช้สิทธิ์ไปจนถึง 30 เม.ย.2564 จากที่สิ้นสุด 31 ม.ค.2564 ให้ครอบคลุมถึงช่วงสงกรานต์   
     “ยังเพิ่มโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาต แต่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เข้าร่วมโครงการได้ และอนุมัติธุรกิจการขนส่งภาคท่องเที่ยว ธุรกิจสปาหรือนวดเพื่อสุขภาพใช้ E-Voucher พร้อมกับปรับปรุงเกณฑ์สนับสนุนค่าบัตรโดยสารเครื่องบินจากเดิมสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เป็นสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เฉพาะการเดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดที่ภาคท่องเที่ยวพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงและเจอผลกระทบจากโควิด ทั้งภูเก็ต พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ และเชียงราย” นายยุทธศักดิ์กล่าว และว่า ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์การลาสำหรับข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถลาพักร้อนในวันธรรมดาเพิ่มได้ 2 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อใช้สิทธิ์ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน
      นายยุทธศักดิ์กล่าวต่อว่า ยังมีการปรับปรุงโครงการกำลังใจ โดยเปิดให้บริษัทนำเที่ยวที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ พร้อมเห็นชอบโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไป แต่ต้องเดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัทนำเที่ยว โดยมีระยะเวลาของโปรแกรมการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 3 วัน 2 คืน และเดินทางท่องเที่ยวได้เฉพาะวันธรรมดา หรือเข้าพักในวันอาทิตย์ถึงวันพฤหัสบดี โดยมีราคาค่าใช้จ่ายต่อโปรแกรมไม่น้อยกว่า 12,500 บาทต่อคน ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายผ่านบริษัทนำเที่ยวในลักษณะร่วมจ่ายคนละ 5,000 บาท ส่วนบริษัทนำเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการต้องจดทะเบียนทำธุรกิจ ก่อนวันที่ 1 ม.ค.2563 และสามารถรับนักท่องเที่ยวผ่านโครงการได้ไม่เกิน 3,000 ราย โดยโครงการมีเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ ครม.อนุมัติ โดยตั้งเป้าหมายมีคนกลุ่มนี้เที่ยว 1 ล้านคน  
    วันเดียวกัน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และ รมว.พลังงาน กล่าวในงานสัมมนา “โควิด 19 กับอนาคตเศรษฐกิจไทย 2021” ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยเชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้จะติดลบน้อยกว่า 6% และในปี 2564 เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกได้ที่ระดับ 3-4% ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากโควิด-19 จะใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน หรืออาจเร็วกว่านั้น เพราะภาคการเงินของไทยแข็งแกร่งมาก เรียกว่ากระดูกยังดีอยู่ เพราะวิกฤติครั้งนี้ไม่น่ากลัวเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้งตอนปี 2540 ที่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวนานถึง 3-4 ปี
    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวว่า รัฐบาลยังมีเม็ดเงินเพียงพอในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่จากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท ที่ส่วนหนึ่งแบ่งไปใช้ในด้านสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท และเยียวยาประชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไปแล้ว 3-4 แสนล้านบาท โดยยังเหลือวงเงินอีก 5-6 แสนล้านบาท ที่จะเป็นกระสุนฟื้นฟูและดูแลเศรษฐกิจในกรณีที่โควิด-19 ยังไม่ยุติได้
“ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ เชื่อว่าจะติดลบน้อยกว่าที่คาดการณ์ ส่วนปี 2564 คาดว่าจีดีพีจะกลับมาโตเป็นบวกได้ที่ระดับ 4-5%”นายอาคมกล่าว
    นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมการส่งออกของไทยในปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวติดลบที่ 7% แต่เชื่อว่าในปี 2564 การส่งออกจะกลับมาเติบโตเป็นบวกได้ที่ระดับ 4%
    ขณะเดียวกัน นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวว่า ที่ประชุม กกร.ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2563 ดีขึ้น โดยจีดีพีปี 2563 จะติดลบในกรอบ 6-7% ขณะที่การส่งออกจะติดลบ 7-8% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะหดตัวอยู่ในกรอบ -1% ถึง -0.9% ส่วนในปี 2564 แม้เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญในระยะข้างหน้า ที่ประชุม กกร.จึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2-4% ขณะที่การส่งออกจะขยายตัวในกรอบ 3- 5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในกรอบ 0.8-1.2%
    นายกลินท์กล่าวอีกว่า มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทยได้เสนอในที่ประชุม กกร.ขอให้ภาครัฐพิจารณา 2 มาตรการ คือ 1.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับกรณีหนี้คงเหลือเดิมปรับลดดอกเบี้ยคงที่ 2% พร้อมพักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 ปี และขอวงเงินสนับสนุนเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจไทย อนุมัติปล่อยสินเชื่อได้ไม่เกินรายละ 60 ล้านบาท/โรงแรม ดอกเบี้ย 2% ปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อครบกำหนดแล้วให้แปลงเป็นสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ำผ่อนชำระกับธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้ามีหลักประกันไม่พอ ขอให้ บสย.หรือรัฐบาลเป็นผู้จัดตั้งกองทุนค้ำประกัน และไม่จำกัดสิทธิ์สำหรับโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีวงเงินรวมเกิน 500 ล้านบาท และ 2.มาตรการสนับสนุนเงินเดือนค่าจ้าง 50% Co-payment เพื่อรักษาการจ้างงาน สนับสนุนให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจ้างพนักงานเดิมจำนวน 200,000 คน หรือจำนวนไม่เกิน 30% ของจำนวนพนักงานปัจจุบัน ระยะเวลาโครงการ 1 ปี.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"