ชาวบ้านค้านโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล ชี้ผลกระทบรุนแรง-หวั่นรอยเลื่อนแผ่นดินไหว


เพิ่มเพื่อน    

8 ธันวาคม 2563 - ชาวบ้านในนามกลุ่มฮักน้ำเลย อ.เชียงคาน จ.เลย จำนวน 15 คน ได้ยื่นหนังสือต่อนายสมเกียรติ ประจำวงศ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ซึ่งกำลังลงพื้นที่บริเวณจุดชมวิว สกายวอลค์เชียงคาน เพื่อติดตามโครงการเขื่อนสานะคาม และโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยโมง-ลำพะเนียง-ต้นน้ำพอง

นายเกรียงไกล สิงห์หฬ ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มฮักแม่น้ำเลย  กล่าวว่า กลุ่มฮักน้ำเลย เป็นองค์กรชาวบ้านซึ่งอยู่ในพื้นที่บริเวณหัวงานโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล หรือโครงการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล โดยได้ติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่องและแสดงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการฯ  เนื่องจากกังวลเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อโครงการดังกล่าว  รวมทั้งเห็นว่า โครงการฯ ไม่เคยมีการประเมินความคุ้มค่าของโครงการจัดการน้ำที่ผ่านมา การผลักดันโครงการ ฯ ยังไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

นายเกรียงไกล กล่าวว่า การสรุปผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล ฯ นั้น ยังไม่มีความครอบคลุมและรอบด้าน โดยเฉพาะประเด็นที่ตั้งของโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล ที่จะตั้งอยู่ในเขตและรัศมีของ “รอยเลื่อนเลย” ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย รวมทั้งเขตประเทศสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้ตามรายงานของกรมทรัพยากรธรณีล่าสุด แจ้งว่า “รอยเลื่อนเลย” ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา และตลอดปีเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้ง แต่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นภายใต้โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล ไม่เคยนำประเด็นดังกล่าวนี้ ไปพิจารณาและกำหนดเป็นขอบเขตการศึกษาและผลกระทบ

ทั้งนี้ในหนังสือที่ยื่นต่อสทนช. ระบุว่า กลุ่มฮักน้ำเลย มีข้อเสนอต่อสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ให้พิจารณาและดำเนินการต่อ ขอให้ทบทวนรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูลโดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 ที่เพิ่งแล้วเสร็จว่า มีการศึกษาครอบคลุมและรอบด้านหรือไม่  ในมิติผลกระทบและการคาดการณ์ความเสี่ยงด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์แผ่นดินไหว เนื่องจากว่า ที่ผ่านมาไม่ได้มีการนำประเด็น “รอยเลื่อนเลย” ไปประกอบการพิจารณาประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ขอให้สทนช.ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการบริหารจัดการน้ำโขงเลยชีมูลขึ้นมาใหม่ ภายใต้บริบทและเงื่อนไขที่โครงการ ฯ มีที่ตั้งโครงการ ฯ อยู่บน “รอยเลื่อนเลย” ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นประเด็นที่ชาวบ้านกังวลใจมากที่สุด  และกระบวนการศึกษาที่ผ่านมา ไม่มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริงโดยเฉพาะชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณโครงการและคาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเสนอว่า โครงการ ฯ จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตชุมชน จากงานวิจัยไทบ้านที่ผ่านมา พบว่าชุมชนมูลค่าจากการใช้ประโยชน์แม่น้ำเลยเฉพาะสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปลา มีมูลค่ามากถึง 7,200,000 บาท จากการใช้ไม่ถึงครึ่งของชุมชนเดียว 

อนึ่งเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารายงานการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ของคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ที่มี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกมธ. โดยมีตัวแทนของกมธ. ได้เสนอและผลักดันโครงการผันน้ำโขงเลยชีมูล เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามายังอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์และผันน้ำไปยังพื้นที่ลุ่มน้ำมูลและชี ซึ่งใช้งบประมาณเกือบ1 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการอภิปรายกว่า 14 ชั่วโมง กมธ.ชุดนี้ได้ขอถอนรายงานออกจากการพิจารณา เพื่อขอให้มีการปรับปรุงรายงานและขอขยายเวลาทำงานต่อไปอีก 45 วัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"