ชาวบ้าน 'กลุ่มฮักน้ำเลย' ประณามกรมชลฯผิดสัญญา-เดินหน้า 'เขื่อนศรีสองรัก' ไม่ศึกษาผลกระทบ


เพิ่มเพื่อน    

14 ธ.ค.63 - ชาวบ้านในนามกลุ่มฮักน้ำเลยกว่า 150 คนและพระสงฆ์  เดินทางด้วยรถอีแต๊ก พร้อมด้วยป้ายผ้าเขียนข้อความต่างๆ ไปยังบริเวณหัวงานของโครงการก่อสร้างเขื่อนศรีสองรัก บ้านห้วยหินสอ ต.ปากตม อ.เชียงคาน จ.เลย เพื่อเรียกร้องให้กรมชลประทานทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม ก่อนที่จะเดินหน้าโครงการเขื่อนศรีสองรัก

นางมุด อุ่นทุม ตัวแทนกลุ่มฮักน้ำเลยกล่าวว่า  โครงการเขื่อนศรีสองรักถูกผลักดันซึ่งกรมชลประทานมาตั้งแต่ปี 2556 ได้ล่วงเลยมาเป็นระยะเวลามากกว่า 7 ปีแล้ว โดยกรมชลประทาน อ้างเหตุผลในการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ต่อมาปี 2559 ในยุครัฐบาลคสช. ได้อนุมัติโครงการโดยใช้มูลค่างบประมาณลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท  โดยไม่ต้องการทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม  ทั้งที่มีชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำเลยจำนวนกว่า 70 ชุมชนอาจจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากเขื่อนศรีสองรัก

นางมุด กล่าวว่า การทำกิจกรรมวันนี้เพราะอยากย้ำจุดยืนเรื่องการคัดค้านโครงการเขื่อนศรีสองรัก เนื่องจากความกังวลใจโดยเฉพาะเรื่อง น้ำท่วม เพราะที่ผ่านมาชุมชนลุ่มน้ำเลยจะตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงทันที หากเขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำ ที่ผ่านมาชุมชนลุ่มน้ำเลยเคยมีประสบการณ์เผชิญกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่มาแล้วในอดีต เมื่อปี 2521 กับ ปี 2545 นอกจากนี้ การศึกษาการวางโครงการฯ มีความผิดพลาดของกรมชลประทาน ไม่สอดคล้องกับภูมินิเวศของพื้นที่ลุ่มน้ำเลย  และยังละเลยการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการฯ ที่มีมูลค่าโครงการมากถึง 5,000 ล้านบาท รวมทั้งการปิดบังอำพรางข้อมูล “โครงการเขื่อนศรีสองรัก” และ “โครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล” ที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง  แต่กรมชลประทานมักอ้างเสมอว่า โครงการทั้ง 2 ไม่เกี่ยวข้องกัน และไม่สร้างความกระจ่างชัดด้านข้อมูลให้กับประชาชนในพื้นที่ จนเกิดความคลุมเครือ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นเหตุผลสำคัญในการคัดค้านโครงการฯ ของ กลุ่มฮักแม่น้ำเลย  ล่าสุดโครงการดังกล่าวยังมีแผนที่จะทำคันไดร์กั้นน้ำความยาวกว่า 21 กม.จากหัวงานเขื่อนตลอดลำน้ำเลย ซึ่งชาวบ้านมีความกังวลใจมากขึ้นกว่าเดิมเรื่องการสูญเสียที่ดินและน้ำท่วมนอกคันไดร์ดังกล่าว

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 สถานการณ์การความขัดแย้งกรณีเขื่อนศรีสองรัก ได้นำไปสู่เวทีการพุดคุยเพื่อหาทางออกปัญหาร่วมกันระหว่าง กรมชลประทาน กับกลุ่มฮักแม่น้ำเลย โดยมีส่วนราชการจังหวัดเลย เป็นพยาน ณ ศาลากลางจังหวัดเลย  ในการประชุมวันนั้นมีข้อสรุปว่า ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 58 ต่อโครงการเขื่อนศรีสองรัก โดยตัวแทนกรมชลประทาน ลงนามรับรองร่วมกับชาวบ้านว่า จะเป็นผู้ดำเนินการเสนอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนศรีสองรัก ตามกฎหมายดังกล่าว

ต่อมา เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 มีการจัดเวทีสาธารณะ “ปัญหาความขัดแย้งของโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก” ระหว่างกลุ่มฮักน้ำเลย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรมชลประทาน เพื่อให้แสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาระหว่างชาวบ้านและกรมชลประทานต่อโครงการดังกล่าว โดยยืนยันให้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมของโครงการดังกล่าว ก่อนจะเดินหน้าโครงการ อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านกลุ่มฮักน้ำเลยเห็นว่า  กรมชลประทานกลับใช้กลวิธีในการเตะถ่วงปัญหา ไม่ปฏิบัติการข้อตกลง และข้อเสนอของชาวบ้านในการตั้งคณะกรรมการฯ อีกทั้งบิดเบือนเจตนารมณ์การตั้งคณะกรรมการฯ โดยหันไปตั้งกรรมการในระดับจังหวัดแทน ซึ่งเคยแต่งตั้งมาก่อนและขาดประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

“พวกเรากลุ่มฮักแม่น้ำเลยจึงขอประณามกรมชลประทาน ที่ผิดคำสัญญาในการลงนามตามบันทึกข้อตกลงในการตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนศรีสองรัก และขอเรียกร้องให้ กรมชลประทาน ดำเนินการติดตาม และประสานงานไปยัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการแต่งตั้ง คณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนศรีสองรัก ตามข้อตกลงที่มีร่วมกัน”นางมุด กล่าว

อนึ่ง โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก รัฐบาลคสช. ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี มีมติอนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2560 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักในพระราชดำริ โดยแผนการดำ เนินงาน 6 ปี โดยเริ่มในปีงบประมาณ 2561-2566 วงเงินการก่อสร้าง 5,000 ล้านบาท ขณะนี้ โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาเลขที่ กจ 36/2562 (สพด.) ลงวันที่ 25 เมษายน 2562 เริ่มสัญญาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 โดยผู้รับจ้างในการดำเนินการก่อสร้างโครงการ ได้แก่ บริษัท ไทยคอนซัลแตนท์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท วายพี คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท เอ กรุ๊ป คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างพื้นฐานของโครงการแล้ว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"