'อดีตรองอธิการฯมธ.'แจงเหตุที่ต้องมี'ม.112' จับไต๋ม็อบทำไมอยากเลิก


เพิ่มเพื่อน    

14 ธ.ค. 63 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติไว้ดังนี้ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ลองเปรียบเทียบประมวลกฎหมายอาญาทั้ง 2 มาตรา ส่วนที่ต่างกันที่เป็นสาระสำคัญจริงๆ ก็คืออัตราโทษเท่านั้น 

การกำหนดอัตราโทษที่สูงกว่า สำหรับการหมิ่นประมาท หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์พระมหากษัตริย์ หรือหมิ่นประมาทประมุขสูงสุดของประเทศ เป็นเรื่องที่ชอบด้วยเหตุผล

การจะให้ยกเลิกมาตรา 112 แล้วให้พระมหากษัตริย์ใช้มาตรา 326 เช่นเดียวกับคนทั่วไป เป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ประการที่ 1 การจะให้พระมหากษัตริย์ทรงดำเนินการฟ้องหมิ่นประมาทเอง และเป็นคู่กรณีกับคนทั่วไป เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงเท่ากับเป็นการลิดรอนสิทธิของพระมหากษัตริย์ในการปกป้องพระเกียรติของพระองค์

ประการที่ 2 การมีกฎหมายปกป้องคุ้มครองประมุขสูงสุดของประเทศ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แม้ไม่ได้มีทุกประเทศ แต่การที่บอกว่า ไม่ยอมรับกฎหมายนี้ เนื่องจากไม่เป็นสากล เพราะประเทศอื่นๆ ไม่มี เป็นการบิดเบือนจากความจริง

เหตุผลข้อดียวที่ฟังขึ้นในการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยใช้อ้างกัน คือ เปิดโอกาสให้มีการใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งกันทางการเมือง ด้วยการใช้มาตรานี้แจ้งความดำเนินคดีต่อบุคคลที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เนื่องจากใครก็สามารถไปร้องทุกข์กล่าวโทษกรณีนี้ได้

ปัญหาข้างต้นน่าจะแก้ได้โดยไม่ต้องยกเลิกมาตรา 112 กล่าวคือ ให้กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสียว่าผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจะเป็นใครได้บ้าง เช่น กำหนดให้ผู้ที่จะร้องทุกข์กล่าวโทษได้คือ เลขาธิการสำนักพระราชวัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น

การยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กลับเป็นการเปิดโอกาสให้ใครก็ได้ที่อยากจะกล่าวหา โจมตีด้วยคำหยาบคาย ล้อเลียน หรือกระทำการใดๆที่เป็นการหมิ่นพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ กระทำได้อย่างสะดวก เพราะไม่ต้องกลัวถูกดำเนินคดี 

ดังนั้นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการยกเลิกมาตรา 112 จึงเป็นบุคคลประเภทดังกล่าว ประชาชนทั่วไปที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย เพราะประชาชนทั่วไป ไม่ได้มีความประสงค์จะทำผิดกฎหมายมาตรานี้อยู่แล้ว

นอกจากมาตรา 112  ยังมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 133 ที่มีไว้เพื่อปกป้องกษัตริย์ หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ผู้ฝ่าฝืนตัองระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี ซึ่งหากยกเลิกมาตรา 112 โดยไม่แตะต้องมาตรานี้ จะหมายความว่าอย่างไร

การเรียกร้องที่เน้นให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ในขณะนี้ จึงดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เป็นการเรียกร้องเพื่อส่วนรวมจริง แต่เป็นการเรียกร้องเพื่อตัวเองและพรรคพวก ที่กำลังถูกดำเนินคดีกันเป็นระนาว และเพื่อจะได้สามารถจาบจ้วงล่วงละเมิดกันให้สนุกปากได้ต่อไป เสียมากกว่า".


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"