โขนแบบไทยแท้ ชุด พระรามราชสุริยวงศ์ ของขวัญรัฐบาลสร้างความสุขใน 4 ภูมิภาค


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

       การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามราชสุริยวงศ์ ใช้นักแสดงร่วม 300  ชีวิต คัดเลือกจากวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศ และผ่านการฝึกซ้อมอย่างเข้มข้น เพื่อการแสดงอันวิจิตรงดงาม สืบสานนาฏกรรมชั้นสูงของไทย และพัฒนาทักษะฝีมือนักเรียนนาฏศิลป์ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพผ่านการแสดงโขนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563  ถึงวันแม่ 12  สิงหาคม 2564  จำนวน 14  ครั้ง ใน  4  ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชมฟรี หวังให้ศิลปะไทยเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่มทุกวัยทั่วประเทศ

     กิจกรรมดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรม โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) จัดขึ้นภายใต้โครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั่วทิศแผ่นดินไทย  เพื่อส่งเสริม สืบสาน ทำนุบำรุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงโขน ถือเป็นของขวัญจากรัฐบาล เพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชน

 

     ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล ในการจัดโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั่วทิศแผ่นดินไทย โดยมอบหมายให้ สบศ.จัดโครงการดังกล่าว และนำเอาโขนซึ่งเป็นการแสดงอันเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของประเทศไทย มาจัดแสดงให้สาธารณชนทั่วประเทศได้รับชมถึงความยิ่งใหญ่ ความอลังการ และความวิจิตรงดงามของโขนไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ด้านการสืบสานงานวัฒนธรรมของชาติ ที่ต้องการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชนให้มากที่สุด

     “ เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะร่วมกันเผยแพร่และสืบสานศิลปะการแสดงโขน ให้ดำรงไว้อย่างยั่งยืน และทำให้เยาวชนของเราที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการแสดงนาฏศิลป์ ได้มีโอกาสที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงครั้งนี้ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถและความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้นไป และยังทำให้นาฏกรรมระดับสูงเช่นนี้เข้าถึงประชาชนทุกภูมิภาคโดยทั่วกัน ทำให้เกิดการสร้างความรักสามัคคีด้วยมิติทางวัฒนธรรม และประชาสัมพันธ์ให้สถาบันบัณทิตพัฒนศิลป์ เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น” ปรเมศวร์ กล่าว

      นิภา โสภาสัมฤทธิ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวถึงความสำคัญของการสืบสานการแสดงโขนว่า ปี 2561  องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO)  ได้ประกาศขึ้นบัญชี “Khon, masked dance drama in Thailand” หรือการแสดงโขนในประเทศไทย ให้เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ประเภทรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยรายการแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จัดการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามราชสุริยวงศ์  จึงเป็นอีกพันธกิจหนึ่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ในการพัฒนาและสืบสานเอกลักษณ์ของชาติไทย เป็นการเผยแพร่นาฏศิลป์ชั้นสูงอันเก่าแก่ของไทย อีกทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในระดับชาติ

 

          ด้าน อาจารย์ประเมษฐ์ บุญยะชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ผู้เรียบเรียงบทสำหรับการแสดงครั้งนี้ กล่าวว่า เรื่องราวตอนนี้เป็นตอนที่ พระอิศวรทราบความว่าทศกัณฐ์ได้กระทำการเบียดเบียนเทวดาและมนุษย์โลกให้เกิดความวุ่นวาย จึงมีดำริให้พระนารายณ์และพระลักษมี อวตารลงไปเกิดในโลกมนุษย์เพื่อปราบปรามยุคเข็ญ โดยมีเหล่าเทวดารับอาสาลงไปเกิดเป็นทหารของพระราม หรือพระนารายณ์อวตาร โดยมีทั้งการประพันธ์บทขึ้นใหม่และปรับปรุงจากบทเก่า เป็นตอนที่มีเนื้อหาเรื่องราวสนุกสนานชวนติดตาม มีคติธรรมสอนใจ และสื่อให้เห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามความเชื่อที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบวงศ์มาจากพระนารายณ์ และยังสอดแทรกความรู้ที่มาของสำนวนไทย เช่น 18 มงกุฎ ที่หมายถึงเหล่าเทวดาที่ขอเกิดมาเป็นวานร 18 มงกุฎ บริวารของพระรามซึ่งมิได้มีความหมายในทางหลอกลวงอย่างที่ใช้กันในปัจจุบันแต่อย่างใด

           ขณะที่ ศ.ดร. ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) พ.ศ.2548  ผู้กำกับดูแลการ แสดงทั่วประเทศใน 4  ภูมิภาคทั่วประเทศกล่าวว่า การแสดงชุดนี้ ใช้นักแสดงร่วม 300  ชีวิต ซึ่งคัดเลือกจากวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศ และผ่านการฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นเพื่อการแสดงอันวิจิตร เพื่อให้นักเรียนนาฏศิลป์ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และเปิดให้เข้าชมฟรี เพื่อให้ศิลปะไทยเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่มทุกวัยทั่วประเทศ

 

            โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามราชสุริยวงศ์ มีความยาว 1 ชั่วโมง 50  นาที เป็นการแสดงโขนกลางแจ้งที่ไม่ได้มีการจัดฉากเช่นโขนหลวง เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมได้อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วยฉากสำคัญ 3 ฉากใหญ่ คือ ฉากเทวสภา ซึ่งแสดงการอวตารของพระนารายณ์ พระนางลักษณมี และเหล่าทหาร ฉากยกรบ ที่จะแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของสองทัพ ระหว่างฝ่ายธรรมะกับอธรรม นำเสนอกระบวนท่ารำอันสวยงามที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์เอาไว้และสืบทอดมาจนปัจจุบัน ทั้งกระบวนท่ารบ กระบวนท่ายกทัพ ท่าขึ้นลอย อันเป็นหัวใจของการแสดงโขน และฉากคืนพระนคร ซึ่งแสดงให้เห็นความสวยงามของกระบวนทัพ และบทประพันธ์ที่ไพเราะงดงาม จากครูทัศนีย์ ขุนทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย-คีตศิลป์)2555  สำหรับการแสดงซึ่งจัดขึ้นใน 4  ภูมิภาค ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ทาง www.bpi.ac.th หรือ เฟซบุ๊กสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ หรือ โทร. 02-482-2176 ต่อ 380,384 และ 386  

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"