โลกการทำงานหลังโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

     การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานในหลายด้าน ทั้งความต้องการแรงงาน ตลอดจนรูปแบบการทำงาน และการสัมภาษณ์งานที่เปลี่ยนไป สำหรับสถานการณ์ในตลาดแรงงานจากข้อมูลความต้องการแรงงานขององค์กรในจ๊อบไทยแพลตฟอร์ม พบว่าองค์กรมีความต้องการแรงงานในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 รวมกันอยู่ที่ 346,357 อัตรา ซึ่งเป็นการนับจำนวนอัตราแบบไม่ซ้ำกัน

            ขณะเดียวกัน จ๊อบไทยยังเปิดเผยข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องโลกการทำงานที่เปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด-19 จากคนทำงานทั่วประเทศจำนวน 7,548 คน และสำรวจความคิดเห็นขององค์กรทั่วประเทศจำนวน 1,019 องค์กร พบว่า ในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์มีผู้ที่ได้ทำงานที่บ้านเพียง 34.1% และผู้ที่ไม่ได้ทำงานที่บ้าน 65.9% สำหรับผู้ที่ได้ทำงานที่บ้านระบุข้อดีของการทำงานที่บ้านว่า ทำให้เมีโอกาสได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น มีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการเมืองในองค์กรได้ มีช่วงเวลาในการทำงานนานขึ้นกว่าการทำงานในออฟฟิศ และยังสามารถจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานดีกว่าในออฟฟิศ

            สำหรับองค์กรนั้นมีการปรับเปลี่ยนสวัสดิการหลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีการเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศมากที่สุด เพิ่มสวัสดิการเวลาทำงานสามารถยืดหยุ่นได้ และสวัสดิการเงินกู้ยืม ส่วนสวัสดิการที่ถูกยกเลิก ได้แก่ กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานกีฬาสี งานเลี้ยงสังสรรค์ ท่องเที่ยวประจำปี การให้โบนัส และเงินรางวัลประจำปี ส่วนอุปสรรคในการทำงานของฝั่งองค์กรที่พบมากที่สุด คือ การสรรหาและว่าจ้างพนักงานใหม่ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน การดูแลเรื่องสวัสดิการให้กับพนักงาน การสื่อสารภายในองค์กร และการสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรให้กับพนักงาน ตามลำดับ

            จากการสัมภาษณ์องค์กรเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า องค์กรที่ให้พนักงานทำงานที่บ้านมีรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เนื่องจากองค์กรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เช่น การประชุมออนไลน์ ทั้งกับบุคคลภายในและภายนอก ทำให้คนทำงานต้องเกิดการปรับตัว การเรียนรู้ เลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ตลอดจนลดขั้นตอนในการทำงาน ลดการใช้เอกสารแบบกระดาษ ซึ่งกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ขององค์กร

            ส่วนเรื่องค่าตอบแทนของพนักงานในปี 2564 พบว่า องค์กรส่วนใหญ่มีแผนปรับขึ้นเงินเดือนตามโครงสร้างปกติ 48.2%,  องค์กรที่มีแผนปรับเงินเดือนแต่จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าปกติ 28.9%,
 องค์กรที่จะไม่มีการปรับเงินเดือน 18.1%, องค์กรที่ยังไม่ได้สรุปนโยบาย 3.2% และองค์กรที่ปรับลดเงินเดือนของพนักงานลง 1.6%

            ผู้ตอบแบบสอบถามฝั่งคนทำงานแบ่งเป็นผู้มีงานทำ 62.7%,  ผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 23.7% อีก 13.6% เป็นผู้ว่างงานที่เกิดจากเหตุผลอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มผู้ว่างงานที่เกิดจากผลกระทบจากโควิด-19 เป็นผู้ที่ทำงานในประเภทธุรกิจการบริการ ธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจการขายปลีก ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนคนมีงานทำกับคนว่างงานที่ทำงานในประเภทธุรกิจเดียวกัน พบว่าประเภทธุรกิจที่มีผู้ว่างงานเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สูงสุดคือ ธุรกิจการท่องเที่ยว โดยมีสัดส่วนผู้ว่างงานที่เป็นผลกระทบจากโควิด-19 สูงถึง 71.9%

            การสำรวจแผนการหางานใหม่ในปี 2564 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีงานทำ พบว่ามีผู้ที่จะหาใหม่อย่างจริงจัง 26.4%,  ไม่ได้หาอย่างจริงจังแต่เปิดโอกาสสำหรับงานใหม่ 55.4% และมีเพียง 18.2% ที่คิดว่าจะไม่หางานใหม่ โดยสาเหตุอันดับหนึ่งคือไม่พึงพอใจเรื่องเงินเดือน, อันดับสอง ไม่มีความก้าวหน้าในสายงาน, อันดับสาม ไม่พึงพอใจเรื่องสวัสดิการ, อันดับสี่ ไม่พึงพอใจเรื่องวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมขององค์กร, อันดับห้า งานที่ทำไม่มีความท้าทาย

            นั่นเป็นเพียงข้อมูลจากผลสำรวจบางส่วนเท่านั้น แต่จากการแข่งขันที่สูงขึ้นทำให้คนหางาน สมัครงาน มีต้องสร้างความสามารถในการแข่งขัน ปรับตัวพร้อมรับกับเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สำหรับนักศึกษาจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน จะมีโอกาสได้งานมากขึ้นถ้าสามารถสร้างจุดเด่นให้ตัวเองน่าสนใจ จะเห็นว่าโลกการทำงานมีการเปลี่ยนอยู่เสมอ คนทำงานการต้องพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ เปิดรับและเรียนรู้สิ่งใหม่ พัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางด้านภาษา ด้านเทคโนโลยี และซอฟต์สกิล เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มความสามารถให้กับตัวเองอยู่เสมอ. 

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"