วอนอย่าตกใจ! แบงก์ชาติแจง เงินสำรองแกร่ง


เพิ่มเพื่อน    

     อย่าแตกตื่น! แบงก์ชาติแจงผลการขาดทุนสะสม แค่ขาดทุนทางบัญชีหลังบาทแข็งค่า  ยืนยันไม่ได้เก็งกำไรค่าเงิน ระบุเงินสำรองยังแกร่ง วอนประชาชนอย่าตกใจเกินเหตุ "ธีระชัย" ยันเหตุเพราะไทยมีสำรองมากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก  

    หลังมีการนำผลการขาดทุนสะสมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปเผยแพร่ในโลกออนไลน์  ซึ่งได้สร้างความตื่นตระหนกในวงกว้าง และคาดการณ์กันว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจนั้น ล่าสุด ธปท.ออกมาชี้แจงเพื่อหยุดกระแสความไม่เข้าใจนี้แล้ว 

    นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ขอให้ประชาชนอย่าตกใจเกินเหตุกับผลขาดทุนสะสมของ ธปท. ตามที่มีกระแสแชร์กันในโซเชียลมีเดีย อาจสร้างความตกใจเพราะมีข้อเท็จจริงและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหลายประการ

       ทั้งนี้ยืนยันว่า ธปท.ไม่ได้เก็งกำไรค่าเงิน โดย ธปท.เข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินควร จนอาจจะเป็นผลเสียต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบาง เมื่อ ธปท.ซื้อเงินตราต่างประเทศแล้ว ก็บริหารเงินสำรองระหว่างประเทศด้วยความรอบคอบโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาว และเปิดเผยตัวเลขฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศทุกสัปดาห์

       นอกจากนี้ เงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากเงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยมาก ทั้งจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงต่อเนื่องมาหลายปี และการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ

      "เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น จึงเกิดการขาดทุนจากการตีราคา (valuation loss) หรือการขาดทุนทางบัญชี และในทางตรงข้ามถ้าเงินบาทอ่อนค่าลง เงินสำรองระหว่างประเทศที่ตีมูลค่าเป็นเงินบาทก็จะเพิ่มขึ้น (valuation gain) หรือมีกำไรทางบัญชี โดยปกติเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งขึ้น ธนาคารกลางก็มักจะขาดทุนจากการตีราคา แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ค่าเงินอ่อนค่าลง ส่งผลให้ธนาคารกลางมักจะมีกำไรจากการตีราคา" 

      ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2560 ธปท.มีเงินสำรองระหว่างประเทศรวมฐานะการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าประมาณ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นหนึ่งบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ ธปท.จะขาดทุนจากการตีราคาทันที 2.4 แสนล้านบาท ในทางตรงกันข้ามถ้าเงินบาทอ่อนค่าลงหนึ่งบาท ธปท.ก็จะมีกำไรจากการตีราคาทันที 2.4 แสนล้านบาทโดยไม่ต้องทำอะไรเลย

      นอกจากนี้ เงินสำรองระหว่างประเทศต้องเก็บอยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยมีเงินตราต่างประเทศเพียงพอ สำหรับรองรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การไปลงทุนในต่างประเทศของคนไทย และเป็นกันชนรองรับการไหลออกของเงินทุน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากทั้งโดยนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติ และปัจจุบันเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับมั่นคงเพียงพอ ซึ่งต่างจากสถานการณ์ในช่วงปี 2540

      นางจันทวรรณกล่าวว่า เงินสำรองระหว่างประเทศที่ ธปท.ซื้อเข้ามายังอยู่ในรูปของเงินตราต่างประเทศ ไม่ได้เสื่อมคุณภาพลงเมื่อเวลาผ่านไปเหมือนกับสินค้าเกษตรหรือสินค้าโภคภัณฑ์ที่บทความนำไปเปรียบเทียบ โดยมูลค่าของเงินสำรองระหว่างประเทศในรูปของเงินบาทจะเปลี่ยนแปลงได้ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงตามอัตราแลกเปลี่ยน การขาดทุนจากการตีราคาทางบัญชี ไม่ได้แปลว่าเงินสำรองที่ ธปท. ถืออยู่จะด้อยค่าลงเรื่อยๆ จนสร้างปัญหาให้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ

    ด้านนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว  Thirachai Phuvanatnaranubala ด้วยหัวข้อว่า "ขาดทุนแบงก์ชาติไม่น่าตกใจ" โดยในเนื้อหาระบุว่า  ปัญหาขาดทุนของแบงก์ชาติไม่ได้เกิดจากการเข้าไปต่อสู้กับนักเก็งกำไรในตลาดสากล แต่เกิดจากประเทศไทยมีสำรองมากร่วมสองแสนล้านดอลลาร์ และเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

    การขาดทุนของแบงก์ชาติขณะนี้ไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไร หรือจากซื้อๆ ขายๆ เงินตราต่างประเทศ หรือจากซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเล่นหุ้น แต่เกิดจากการมีสำรองมาก อธิบายง่ายๆ ตัวอย่างมีสำรองสองแสนล้านดอลลาร์ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเทียบกับดอลลาร์ 1 บาท แบงก์ชาติก็จะมีการขาดทุนทางบัญชี 200,000 ล้านบาท แต่ในทางกลับกัน ค่าเงินบาทอ่อนลงเทียบกับดอลลาร์ 1 บาท แบงก์ชาติก็จะกลับมีกำไรทางบัญชี 200,000 ล้านบาท

    ถ้าคิดว่ากำไรหรือขาดทุนทางบัญชีของแบงก์ชาติไทยเป็นปัญหาใหญ่โตแล้ว ลองเทียบกับประเทศจีนซึ่งมีทุนสำรองหลายล้านล้านดอลลาร์ ผลกำไรและขาดทุนก็จะเป็นตัวเลขใหญ่โตมหาศาลกว่านี้มากมาย

    ในประเทศพัฒนาแล้ว แบงก์ชาติของเขามักจะไม่พยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงเกี่ยวกับค่าเงินของตนมากนัก กล่าวคือมักจะปล่อยให้ค่าเงินของตนเองเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาดอย่างแท้จริง ส่วนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องก็ต้องบริหารจัดการดูแลตนเอง ถ้าเอกชนรายใดไม่สามารถรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ ก็จะสามารถซื้อเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจากแบงก์พาณิชย์ได้

    นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมประเทศที่พัฒนามากกว่าประเทศไทยหลายประเทศ จึงมีสำรองในมือแบงก์ชาติของเขาไม่มากนัก เพราะเขาไม่จำเป็นต้องใช้สำรองในการบริหารจัดการค่าเงินของเขานั่นเอง แต่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเอเชียที่เน้นการส่งออก มักจะใช้ในโยบายเข้าไปดูแลค่าเงินของตนเองมากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"