รับมือโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

           พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้ยึดหน้าจอทีวี ออกแถลงการณ์พิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย และได้ออกมายอมรับว่า การระบาดดังกล่าวส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่จะช้ากว่าที่คาดการณ์

                โดยทางนายกฯ และทีม ศบค. ที่จับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ได้ตัดสินใจที่จะไม่ใช้วิธีการล็อกดาวน์ แต่มีมติแบ่งพื้นที่แต่ละจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงไปถึงจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยจัดมาตรการรับมือแบ่งตามโซนสี พื้นที่สีแดง ที่ต้องเฝ้าระวังระดับสูงสุด มีจังหวัดเดียวคือสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก จะให้มีการจำกัดเวลาปิด-เปิด สถานประกอบการที่มีความจำเป็น, ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด, ห้ามแรงงานต่างด้าวเคลื่อนย้ายเข้า-ออกจากพื้นที่โดยเด็ดขาด, ควบคุมการเข้า-ออกของยานพาหนะและบุคคลคนไทย โดยไม่ให้กระทบการค้าและอุตสาหกรรมมากเกินจำเป็น และให้มีการจัดตั้งด่านตรวจคัดกรอง จุดสกัดและสายตรวจ

                พื้นที่สีส้ม ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร (เฉพาะฝั่งตะวันตก) สมุทรสาคร ราชบุรี และนครปฐม เป็นพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ให้หลีกเลี่ยงจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากทุกรูปแบบ, สถานประกอบการและโรงงานที่ยังเปิดดำเนินการให้เน้นมาตรการป้องกันโควิด-19 ทั้งในบริเวณโรงงานและที่พักคนงาน ส่วนพื้นที่สีเหลือง ตัวเลขที่มีผู้ติดเชื้อน้อย และพื้นที่สีเขียว คือจังหวัดที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ ก็ใช้การเฝ้าระวังและไม่ประมาท

                สำหรับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นชัดเจนแล้ว จากการระบาดของโควิดรอบใหม่ เฉพาะแค่จังหวัดสมุทรสาคร เพียงจังหวัดเดียว หอการค้าฯ ได้ทำการรวบรวมความเสียหายจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งหลังจากได้มีการประเมินตัวเลขแล้ว  หอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร ประเมินความเสียหายจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมประมาณ 16,000 ล้านบาท

                โดยมีภาคธุรกิจ สินค้า และการบริการ เสียหาย 4,200 ล้านบาท, ภาคธุรกิจและประมงต่อเนื่อง เสียหาย 6,000 ล้านบาท, ภาคธุรกิจตลาดชุมชน เสียหาย 4,700 ล้านบาท, ภาคการเกษตร 400 ล้านบาท, ภาคโอท็อป วิสาหกิจชุมชน เสียหาย 50 ล้านบาท, ห้างสรรพสินค้า เสียหาย 100 ล้านบาท อื่นๆ มูลค่าความเสียหาย 500 ล้านบาท

                ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยอาจได้รับความสูญเสียจากการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 คิดเป็นมูลค่าราวๆ 45,000 ล้านบาทในกรอบเวลา 1 เดือน โดยจำแนกผลกระทบได้ดังนี้ ความสูญเสียที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล ที่อาจมีมูลค่ารวมกันราว 13,000 ล้านบาท จากความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการชะลอการบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น นอกจากนี้การส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวในระยะถัดไปก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง โดยเฉพาะในด้านขั้นตอนการตรวจสอบและกระบวนการต่างๆ ที่คู่ค้าอาจหยิบยกให้ผู้ประกอบการไทยมีการดำเนินการเพิ่มเติม

                นอกจากนี้ ยังมีความสูญเสียจากการที่ประชาชนชะลอการทำกิจกรรมในช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท ได้แก่ การเลี้ยงสังสรรค์ การจัดกิจกรรมต่างๆ การลดความถี่ในการใช้จ่ายที่ร้านค้าปลีก เป็นต้น รวมถึงความสูญเสียจากการชะลอการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ คิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปประมาณ 17,000 ล้านบาท หรือราว 30% ของรายได้ท่องเที่ยวในช่วงเวลา 1 เดือน

            ประเด็นที่น่าห่วงซึ่งเป็นปัจจัยใหม่ก็คือ เรื่องของธุรกิจอาหารทะเล ซึ่งโควิด-19 เกิดการระบาดในจุดที่ธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำเค็ม ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมาก ประเด็นแรก จังหวัดสมุทรสาคร มีการล็อกดาวน์ และองค์การสะพานปลา ก็สั่งปิดสะพานปลาทุกจุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้เชื่อว่าจำนวนอาหารทะเลในประเทศต้องลดลงอย่างไม่ต้องสงสัย ยังไม่นับรวมกับการส่งออก แปรรูปอาหารทะเล ซึ่งข่าวการแพร่ระบาดในไทยครั้งนี้ อาจส่งผลต่อเรื่องความเชื่อมั่น และส่งผลกระทบต่อออเดอร์ที่สั่งซื้อจากไทย และที่สำคัญที่สุด คือ ความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารทะเลจะลดลง ทั้งในส่วนของคนไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อไป.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"