'นครินทร์ ชาทอง' ศิลปินแห่งชาติ นายหนังตะลุงเสียชีวิตด้วยวัย 75 ปี


เพิ่มเพื่อน    

   

 

 

 

     วันนี้ - นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายนครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน - หนังตะลุง) พุทธศักราช 2550  เสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ที่ 28ธันวาคม 2563  เวลาประมาณ 04.00  น. ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื่องจากโรคเบาหวาน ความดัน และไต รวมอายุ 75  ปี โดยทางญาติแจ้งว่า มีกำหนดพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563  เวลา 17.00  น. และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 28  ธันวาคม 2563-4 มกราคม 2564 เวลา 19.00  น. ณ ศาลาการเปรียญ ณ วัดปทุมธาราวาส ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยจะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ ในวันอังคารที่ 5  มกราคม 2564  เวลา 15.30  น. ณ เมรุชั่วคราว วัดปทุมธาราวาส จังหวัดสงขลา

     นายชาย กล่าวว่า  สวธ. ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ เผยแพร่และถ่ายทอดผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000  บาท ตามระเบียบสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ

     สำหรับประวัติของนายนครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน -หนังตะลุง) พุทธศักราช 2550  เกิดเมื่อวันที่ 15  กันยายน 2488  เป็นนายหนังพื้นบ้านที่มีความชำนาญ และความสามารถในการแสดงหนังตะลุงแบบโบราณที่มีการสอดแทรกเนื้อหาข้อคิดต่าง ๆ เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีการดัดแปลงพัฒนาแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัยและเหตุการณ์เฉพาะหน้า

     นายนครินทร์ ชาทอง เป็นที่ยอมรับของนายหนังตะลุงทั่วภาคใต้ และเป็นนายหนังที่สวมวิญญาณให้กับนายหนังตะลุงอย่างเหมาะสม ให้เสียงรูปหนังตะลุงทั้งเสียงภาคกลาง และภาษาถิ่นไม่ต่ำกว่า 20  เสียง และสามารถเชิดรูปหนังตะลุงได้ทุกลีลา ตลอดถึงการใส่จริตกิริยาต่าง ๆ นายหนังตะลุงนครินทร์ ชาทอง เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ โดยมุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานการแสดงหนังตะลุงจนเป็นเลิศ และเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนทั่วไปทุกจังหวัดภาคใต้ และได้เผยแพร่ความรู้เป็นที่ยกย่องนับถือพร้อมทั้งทำคุณประโยชน์ในการแสดงหนังตะลุงอย่างมาก ซึ่งเป็นสมบัติสืบทอดไปยังชนรุ่นหลังสืบไป จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน – หนังตะลุง) พุทธศักราช 2550

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"