พลังงานสะอาด เทรนด์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อม


เพิ่มเพื่อน    

 

    ด้วยบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทั้งในเรื่องของภาวะวิกฤติโควิด-19 แม้ว่าหลายๆ ประเทศจะมีการคิดค้นวัคซีน และเริ่มมีบางประเทศประกาศนำมาให้บริการกับประชาชนแล้ว ส่งผลให้หลายฝ่ายต่างคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มจะทยอยฟื้นตัว รวมทั้งเศรษฐกิจไทย ที่รัฐบาลพยายามออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อออกมาอย่างไม่ขาดสาย

                ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายส่วนเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง ในขณะเดียวกันปัญหาโลกร้อน และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องฝุ่นขนาดเเล็ก PM 2.5 ที่กำลังฟุ้งกระจายอยู่หลายประเทศ ทำให้เกิดอันตรายกับสุขภาพ ทำให้หลายๆ ประเทศมีความกังวล โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของโจ ไบเดน ที่ให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น รวมไปถึงนโยบายการเปิดเสรีไฟฟ้าที่กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังผลักดัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้อุตสาหกรรมไฟฟ้ายังคงเป็นพลังงานพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศ

                ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถือว่าเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมพลังงาน โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าที่เดิมเน้นการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเริ่มหันมาให้ความสนใจกับพลังงานสะอาดมากขึ้น ดังนั้นทิศทางพลังงานในอนาคต จึงเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าทั้งภาครัฐและเอกชนได้หันมาพัฒนามองหาพลังงานที่สามารถสร้างความมั่นคง สามารถตอบโจทย์ด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนเชื้อเพลิงต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                ซึ่งในด้านของภาครัฐเองก็มีนโยบายเปิดกว้างให้ภาคเอกชนสามารถเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น ในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือภาพตลาดไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปเมื่อผู้บริโภคกลายเป็นผู้ผลิตและขายไฟฟ้าเองด้วย ที่มีมากขึ้น จึงเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขันของกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศมากขึ้น ทำให้มีการเตรียมแผนรองรับและมุ่งขยายการลงทุนด้านนวัตกรรม ที่สร้างรายได้จากธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่เป็นนิวเอาเคิร์ฟ รองรับการเปลี่ยนแปลงของการทำธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต

                จะเห็นได้จากกลุ่ม บมจ.ปตท.เอง หันมารุกในธุรกิจนี้เช่นกัน โดยใช้บริษัทในกลุ่มคือ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่   หรือ GPSC หนึ่งในผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคที่มีการปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมกับเป้าหมายไปสู่พลังงานหมุนเวียน 8,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 โดยกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์หลัก ”3S” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กรในระยะยาว ดังนี้

                S1: SYNERGY & INTEGRATION GPSC มุ่งที่จะแสวงหาการผนึกกำลังกับพันธมิตรในการสร้างโอกาสในการลงทุนและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างที่เมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมาได้เข้าซื้อกิจการ ของ บมจ.โกลว์ พลังงาน หรือ  GLOW ทำให้ GPSC เติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีความพร้อมสำหรับการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและแผนการขยายธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 

                S2: SELECTIVE GROWTH GPSC ที่มุ่งขยายธุรกิจและเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ S3: S-CURVE GPSC มุ่งเน้นการขยายการลงทุนด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่เป็น New S-Curve เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการทำธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต และเป็นผู้นำด้าน Energy Solution Provider ของกลุ่ม ปตท. ผ่านการดำเนินการพัฒนาธุรกิจใหม่ 3 ส่วน คือ การลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ Semi Solid แห่งแรกของประเทศไทย, การพัฒนาธุรกิจการเป็นผู้ให้บริการระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ Smart Energy Storage System: ESS ซึ่งใช้ในการควบคุมการจัดเก็บและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

                จากนี้ไปบริษัทพลังงานคงต้องเร่งปรับตัวเองเพื่อรองรับกับเทรนด์พลังงานโลกที่รักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นเพื่อให้โลกสามารถประคองตนเองให้ผ่านพ้นวิกฤติโลกร้อนไปให้ได้.

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"