'ฤาษีดัดตน'บริหารกายด้วยตัวเอง บรรเทา'ปวดเมื่อย'ศีรษะจรดเท้า


เพิ่มเพื่อน    


    นับเป็นท่านวดสร้างความผ่อนคลายสำหรับผู้สูงอายุเสมอๆ สำหรับ “กายบริหารฤาษีดัดตน” ที่นอกจากปลอดภัย เพราะได้รับรองมาตรฐาน กระทั่งได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่สำคัญคือผู้สูงอายุสามารถทำที่บ้านเองได้ โดยเฉพาะคุณตาคุณยายที่มีปัญหาเดินหลังโก่งหรือหลังงอ และมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขน-ขา กระทั่งอาการแน่นหน้าอกขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ศาสตร์การนวดแบบแพทย์แผนไทยดังกล่าวสามารถช่วยผู้สูงวัยได้ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า 

    ในงาน “ศิริราช 130 ปี 130 โครงการ ทำงานเพื่อแผ่นดิน” ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เมื่อเร็วๆ นี้

(อาจารย์พนิตสุภา เชื้อชั่ง)

 

อาจารย์พนิตสุภา เชื้อชั่ง แพทย์แผนไทยประยุกต์ รพ.ศิริราช มาแนะนำท่าฤาษีดัดตนเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไว้น่าสนใจว่า “ปัญหาหนึ่งที่พบได้ในผู้สูงอายุคือ ปัญหาเรื่องความเสื่อมของกระดูก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการ “เดินหลังโก่ง” สำหรับกายบริหารท่าฤาษีดัดตนท่านี้ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่แนะนำให้ผู้สูงอายุพยายามยืดตัวขึ้น ถึงไม่ตรงมากก็ไม่เป็นไร แต่ให้เอาความรู้สึกมายืด (ให้ผู้สูงวัยรู้สึกในใจว่าตอนนี้กำลังยืดหลังอยู่) หลังจากที่ผู้สูงอายุปฏิบัติตามท่ากายบริหารดังกล่าว จะถือเป็นการบริหารภายในอย่างหนึ่งที่ช่วยสร้างการไหลเวียนของลมที่ดี ช่วยให้ออกซิเจนไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้ 

(“ท่าแก้ก่อน”)

นอกจากนี้ ฤาษีดัดตน “ท่าแก้ก่อน” ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการหลังโก่งได้เช่นเดียวกัน โดยเริ่มจาก 1.นั่งยืดขาบนเก้าอี้ (เก้าอี้ 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน) พร้อมกับกระดกปลายเท้าเข้าหาลำตัว 2.ใช้มือจับที่ปลายเท้าให้พอตึง (ผู้สูงอายุบางรายที่มีอาการเจ็บสามารถแตะที่บริเวณหัวเข่าหรือหน้าแข้งได้เช่นกัน) 3.เงยหน้าขึ้นพร้อมกับนับในใจ 5-10 วินาที จากนั้นให้คลายออก สำหรับท่านี้ให้ทำเช้า-เย็น โดยทำครั้งละ 3 รอบ (1 รอบ = นับ 1-10 ในใจ) ความพิเศษของท่ากายบริหารนี้ หากฝึกบ่อยๆ หลังที่โก่งจะเริ่มดีขึ้น และทำให้เดินได้คล่องขึ้น 

(“ท่าดำรงกายอายุยืน”)

    ส่วนท่าต่อมาอย่าง “ท่าดำรงกายอายุยืน” สำหรับท่านี้จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าทั้งสองข้าง 1.ให้ยืนตรงและแบะปลายเท้าออกเล็กน้อย พร้อมกับกำมือทั้งสองข้างวางเรียงกันไว้ที่น่าอก 2.จากนั้นค่อยๆ ย่อตัวลงช้าๆ พร้อมกับทำค้างไว้ 5-10 วินาที 3.ค่อยๆ ยืดตัวขึ้นในท่ายืนเดิม ท่านี้ไม่เพียงลดอาการปวดเมื่อย แต่ยังช่วยฝึกเรื่องการทรงตัวที่ดีให้กับผู้สูงอายุอีกด้วย แนะนำให้ฝึกวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 รอบ (1 รอบ = นับ 1-10 ในใจ) 

(“ท่าแก้ลมแน่นหน้าอก”)

    ปิดท้ายกันที่ “ท่าแก้ลมแน่นหน้าอก” 1.ยืนตรงพร้อมกับแยกขาออกเล็กน้อย (หากผู้สูงอายุทรงตัวไม่ดีให้แยกขา แต่ถ้าทรงตัวดีให้ยืนขาชิดกัน) 2.ยืดแขนทั้ง 2 ข้างไปด้านหลัง พร้อมกับเงยหน้า แบะไหล่ ให้แขนทั้งสองข้างยืดให้มากที่สุด (หรือทำแค่พอตึงหากรู้สึกเจ็บ) จากนั้นให้คลายสู่ท่าเตรียม ประโยชน์ของกายบริหารท่านี้จะทำให้ช่องทางเดินลมทำงานได้ดีขึ้น จึงช่วยลดอาการแน่นจุกเสียด แนะนำว่าให้ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 2 รอบ (1 รอบ = นับ 1-10 ในใจ). 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"