จับวันแรกกว่าหมื่นราย จอมปาด-เบียดที่คับขัน


เพิ่มเพื่อน    

 

  เริ่มแล้ว ติดตั้งกล้อง 15 จุดตรวจจับจอมปาด จอมเบียดในที่คับขัน เผยสะพานข้ามแยกศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ สถิติทำผิดสูงสุด ส่งใบสั่งถึงบ้าน ถ้าดื้อแพ่งต่อภาษีไม่ได้

    วันที่ 9 พฤษภาคมนี้ เป็นวันแรกที่กองบังคับการตำรวจจราจรเริ่มใช้กล้องจับภาพรถเปลี่ยนช่องทางกะทันหัน หรือกล้องเลนเชนจ์ เพื่อตรวจจับรถฝ่าฝืนเปลี่ยนช่องทางเดินรถในเขตห้าม โดยได้เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เวลา 01.00 น.ที่ผ่านมา ใน 15 จุด ประกอบด้วย 1.สะพานแยกบางเขน ถนนงามวงศ์วาน ขาออก 2. สะพานข้ามแยกศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ขาออก 3.ทางลอดแยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก ขาเข้า 4.สะพานข้ามแยกบรมราชชนนี ถนนบรมราชชนนี ขาออก 5.สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน ถนนแจ้งวัฒนะ ขาเข้า 6.สะพานข้ามแยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี ขาออก 7.แยกสามเหลี่ยมดินแดง ถนนดินแดง ขาเข้า 8.สะพานข้ามแยกประชานุกูล ถนนรัชดาภิเษก ขาออก 9.สะพานศิริราช ด้านถนนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ ขาออก 10.แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ขาออก 11.แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ขาเข้า 12.สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง ถนนรัชดาภิเษก ขาออก 13.สะพานข้ามแยกพระราม 4 ถนนรัชดาภิเษก ขาออก 14.สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถนนประชาธิปก ขาเข้า 15.สะพานข้ามแยกกำนันแม้น ถนนกัลปพฤกษ์ ขาออก

    นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งกล้องจับรถเปลี่ยนช่องจราจร และบังคับใช้กฎหมายไปก่อนหน้านี้แล้ว 3 แห่ง คือ ที่สะพานข้ามแยกยมราช สะพานข้ามแยกประชานุกูล และอุโมงค์สุทธิสาร

    พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.ธีรศักดิ์ สุริวงศ์ ผบก.จร. แถลงว่า การติดตั้งกล้องตรวจจับรถฝ่าฝืนเปลี่ยนช่องเดินรถในเขตห้าม เนื่องจากพบการจราจรติดขัดมาก และมีปัญหาขับรถปาด เบียด หรือแซงมาก อันดับ 1 คือ สะพานข้ามแยกศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ตามด้วยแยกสามเหลี่ยมดินแดง สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน แต่ละจุดจะมีป้ายแจ้งเตือน 3 ระยะ ก่อนถึงจุดตรวจจับ ระบบตรวจจับแต่ละจุดจะมีกล้อง 4 ตัว ทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง มีความละเอียดคมชัดสูง ตรวจจับได้ทั้งกลางวัน กลางคืน และทุกสภาพอากาศ พร้อมบันทึกข้อมูลเก็บไว้นานถึง 1 ปี ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ผ่านระบบ ATS ส่งภาพกลับมายังศูนย์ควบคุมและสั่งการ บก.02 เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนรถ ยี่ห้อ รุ่นและสีรถ ก่อนจะออกใบสั่งและส่งไปยังระบบ PTM ของธนาคารกรุงไทย เพื่อได้บาร์โค้ดกลับมา ยืนยันความถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานในการออกใบสั่ง จากสถิติการทดลองจับเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบผู้ฝ่าฝืนถึง 226,257 ราย/เดือน เฉลี่ย 7,542 ราย/วัน

    สำหรับผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 21 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เบื้องต้นตำรวจจราจรจะทำการเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 500 บาท สามารถชำระผ่านตู้เคาน์เตอร์และตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ หรือผ่าน  KTB netBank หรือตามสถานที่ที่ระบุไว้ในใบสั่ง

    ด้าน พ.ต.อ.กิตติ อริยานนท์ รอง ผบก.จร. เปิดเผยว่า ผู้ที่ได้รับใบสั่งแล้วไม่ยอมไปชำระค่าปรับภายใน 7 วัน เจ้าหน้าที่จะประสานข้อมูลไปยังกรมการขนส่งเพื่ออายัดการต่อภาษี. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"