ฝุ่นพิษ PM 2.5 สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่น่าจับตา


เพิ่มเพื่อน    

แฟ้มภาพ : ปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ จากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

 

 

     ในปี 2564 นี้ ปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ยังเป็นสถานการณ์อันตรายต่อเนื่องที่น่าจับตา วิกฤตฝุ่นพิษเหล่านี้ส่งผลกระทบกับชีวิตของคนไทย เข้าสู่ฤดูหนาวเดือนธันวาคม ปี 2563 ฝุ่นพิษมาตามนัด ห่มคลุมกรุงเทพมหานครขมุกขมัวจนติดอันดับต้นๆ เมืองมลพิษอากาศย่ำแย่  ขณะที่ฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดภาคเหนือเกินเกณฑ์มาตรฐานทุกปี

ทั้งที่รัฐบาลได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2562  แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง

     ย้อนดูสถานการณ์มลพิษ PM2.5 ในไทยผ่านข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)   ปี 2559-2562 มลพิษอากาศ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเกินเกณฑ์มาตรฐาน (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ) ในช่วงต้นปี ระหว่างเดือนม..-มี.. และปลายปี คือ ในเดือนธันวาคมของทุกปี

     ส่วนในภาคเหนือ จากการตรวจดูข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 17 แห่งของ คพระหว่างวันที่ .. 62-วันที่ 31 ..63 พบว่า สถานการณ์ PM2.5 จะเกินค่ามาตรฐานระหว่างเดือน ก..-เม.. ลงลึกระดับพื้นที่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐานเริ่มมีผลกระทบสุขภาพมากถึง 75 วัน และพบวันที่มีค่าฝุ่นสูงสุดถึง 366  มคก.ต่อลบ.. หรือเกินมาตรฐานถึงเท่า

     ทั้งๆ ที่เกณฑ์มาตรฐานฝุ่น PM2.5 ที่กำหนดโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของไทยก็สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของนานาชาติที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดไว้ถึงเท่าตัว (เฉลี่ยไม่เกิน 25 มคก./ลบ.. เฉลี่ย 24 ชม. ) ซึ่งในบ้านเรามีเสียงเรียกร้องให้ปรับค่ามาตรฐานลงมาเท่า WHO พร้อมคำถามดังๆ ปอดคนไทยทนมลพิษได้ดีกว่าของคนต่างประเทศหรือ?

แฟ้มภาพ : ฝุ่นละอองขนาดเล็กปกคลุมชั้นบรรยากาศกรุงเทพฯ เมื่อเดือนธ.ค.2563 

 

     ช่วง ปีมานี้ หลายคนได้ยินคำว่า ฝุ่น PM2.5 ถี่ขึ้นในข่าวและโลกโซเชียล  เจ้าฝุ่นจิ๋ว PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมอย่างน้อย 20 เท่า  ขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เล็กจนกระทั่งขนจมูกของคนเราไม่สามารถกรองได้ ที่สำคัญ คือ สามารถแทรกซึมผ่านผนังถุงลมฝอยเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง ส่งต่อไปทั่วร่างกายพร้อมกับเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจแบบเรื้อรังและมะเร็งได้

     ที่น่าตกใจพบสัญญาณสุขภาพคนภาคเหนือตายด้วยโรคมะเร็งปอดและปอดอุดกั้นเพิ่มมากขึ้น ยืนยันด้วยข้อมูลล่าสุดของ Thaihealth Watch และสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ซึ่งรวบรวมสถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปี ย้อนหลังรายเขตสุขภาพระหว่างปี 53-62  พบว่า แนวโน้มอัตราตายจากโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาค แต่ภาคเหนือมีอัตราตายสูงกว่าภาคอื่น เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า จาก 20.3 คนต่อแสนประชากรในปี 53 เป็น 30.7 คนในปี 62 รองลงมา กรุงเทพฯ    นอกจากนี้ ทุกภาคมีแนวโน้มตายจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น 1.3 - 2 เท่า ที่มาของความเสี่ยงเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งอาจมาจากสูดดมฝุ่นควันอันตราย

      ย้ำกันอีกครั้งแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 มาจาก ปัจจัยหลัก ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง ,ภาคอุตสาหกรรม,ภาคการก่อสร้าง ,การเกษตรและป่าไม้ โดยเฉพาะการเผาในที่โล่งแจ้งที่ทำให้ทุกพื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ  ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงถึงจุดความร้อนจากการเผา หรือ Hot Spot กับค่ามลพิษอากาศ  อีกแหล่งPM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน ภาคเหนือเผชิญหมอกควันซ้ำเติมจากเมียนมา ใต้จากการเผาป่าในอินโดนีเซีย

     ข้อมูลจาก Thaihealth Watch ชี้ด้วยว่า นโยบายภาครัฐมีส่วนทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ทั้งจากการเก็บภาษีรถยนต์เก่าในอัตราที่ต่ำกว่ารถยนต์ใหม่ ทำให้มลพิษที่เกิดจากรถเก่าที่เครื่องยนต์สันดาปไม่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น พบรถเก่าอายุตั้งแต่ 11 ปี เพิ่มจาก ล้านคัน ปี 50 มาเป็น 14 ล้านคันปี 62 ผลจากลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นตามปีรถคันนั้นใช้งาน อีกทั้งการไม่ยกระดับมาตรฐานไอเสียและมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ก่อมลพิษ 

     ปัจจุบันไทยยังใช้มาตรฐาน EORO 4 สำหรับรถบรรทุกขนาดเล็ก ตั้งแต่ปี 55 และใช้ EURO 3 รถบรรทุกขนาดใหญ่ ตั้งแต่ปี 53 ไม่ปรับเปลี่ยนเพราะเกรงกระทบภาคเอกชน  ขณะที่หลายชาติ เช่น จีน ขยับไปEURO 5 ปล่อยไอเสียน้อยลง ส่วนรัฐบาลไทยเลื่อนเป้าสู่ EURO 5 ไปเป็นปี 67 จากเดิมปี 63 ที่ผ่านมา ทั้งที่ควรรปรับให้เร็วที่สุด ทำให้ปัญหามลพิศอากาศจากการคมนาคมแก้ไขได้อย่างล่าช้า

 

เด็กเล็กกลุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน

 

     ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ โฆษกศูนย์แก้ไขมลพิษทางอากาศ และหัวหน้าโครงการ Prime mover มลพิษทางอากาศที่ส่งต่อสุขภาพ สสส. กล่าวว่า  ฝุ่น PM2.5 ที่พยายามสื่อสารมาตลอด คือ อย่าติดกับดักเกณฑ์มาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ไทยควรขยับลงไปที่ 25 มคก.ต่อ ลบ.. แต่เรายังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำต่อ อีกประเด็นที่อยากสื่อสารป่าไม้ก็ปล่อยสารตั้งต้น PM 2.5  ฉะนั้น ถ้ายึดติดค่าวัด โดยไม่สนใจสารพิษมีอะไรบ้าง คงไม่ครบทุกมิติ ผลกระทบฝุ่น PM2.5 สัมพันธ์กับโรคระบบทางเดินหายใจและมะเร็งปอด แต่มีอีกหลายโรคเพิ่มขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ PM2.5 อย่างมีนัยยะสำคัญ  แต่คนไทยไม่ทราบ จากการศึกษาแบ่งกลุ่มตัวอย่าง กลุ่ม  กลุ่มแรกอยู่ในพื้นที่อากาศสะอาดค่าฝุ่นไม่เกินมาตรฐาน อีกกลุ่มอยู่ในพื้นที่เสี่ยง มีค่ามลพิศอากาศสูง กลุ่มหลังพบป่วยโรคเบาหวาน ตับ ไต โรคอัลไซเมอร์ สูงขึ้น

     “  เพราะฝุ่นขนาดเล็กมาก เข้าสู่เม็ดเลือดแดง ไปอวัยวะต่างๆ รวมไต ซึ่งทำหน้าที่กรองฟอกเลือดให้สะอาด เมื่อเลือดสกปรก ไตทำงานหนัก มลพิษอากาศกระทบโดยตรงต่อกลุ่มเสี่ยง ผู้หญิงเสี่ยงมากกว่าชาย เด็กเล็กจะอ่อนไหวต่อมลพิษอากาศมากกว่ากลุ่มช่วงวัยอื่น ขณะที่ก๊าซที่ส่งผลมากต่อการแอดมิทในโรงพยาบาล คือ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ “   ศ.ดร.ศิวัช กล่าว

     หัวหน้าโครงการ Prime mover ย้ำ WHO ระบุแต่ละปีมีคน 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพราะโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น โรคหัวใจ ปอดอักเสบ และโรคหลอดเลือดสมอง บางโมเดลทะลุ ล้านคน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิดทั่วโลก  1.77 ล้านคน ในช่วง ปี   หากเทียบความเสียหายฝุ่น PM2.5 คงไม่ได้ ถือเป็นมัจจุราชเงียบบั่นทอนชีวิตคนไทยและคนทั่วโลกมาตลอด ในไทยบางโมเดลมีคนไทย หมื่นคนต่อปีต้องเสียชีวิตจากฝุ่นพิษ  

     ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 มี แนวทาง คือ แก้ต้นเหตุ และแก้ปลายเหตุ ศ.ดร.ศิวัช ชี้ว่า การแก้ต้นเหตุใช้เวลานานมาก และเป็นงานช้าง  ก่อนจะถามว่าประเทศไทยทำอะไรได้บ้าง ควรศึกษาจากประเทศพัฒนาแล้วที่เผชิญสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก และแก้ปัญหาอย่างไร ตนเห็นด้วยกับ พ...อากาศสะอาด เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ ทำไมเราไม่ใช้กฎหมายที่มีอยู่บังคับใช้ให้เกิดประโยชน์  มีประสิทธิภาพมากขึ้น  มีการพูดถึงตัวเลขมูลค่าความเสียหายจากฝุ่น PM2.5  กว่า 1.5 พันล้าน แต่อีกข้อมูลจากนักเศรษฐศาสตร์ในโครงการ Prime mover ประเมินไว้สูงถึง 3% ของจีดีพี เพราะรวมต้นทุนสุขภาพ การเสียโอกาสจากรายได้ที่ลดลง เม็ดเงินลงทุน ภาพลักษณ์ของประเทศที่เสียหายจากฝุ่นปกคลุมเมืองใหญ่  

     “ แหล่งกำเนิดฝุ่นมาจากขนส่ง เกษตรกรรม อุตสาหกรรม  ปัญหาที่ตามมา PM 2.5 เป็นลูกบอลปัญหาที่ไม่มีใครอยากรับ หน่วยงานรัฐเกี่ยวข้องเกือบทุกกระทรวง แต่ทุกคนไม่อยากเป็นเจ้าภาพ รับเละ กรมควบคุมมลพิษก็ไม่มีอำนาจจัดการและไม่มีกฎหมายรองรับของตัวเอง เทียบกับสหรัฐอเมริกา มีหน่วยงาน USEPA สำนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อม มีอำนาจตรวจสอบ รับผิดชอบเวลามีปัญหา  ถ้าทำงานแย่ ประชาชนเรียกร้องให้เปลี่ยนได้  ซึ่งมีดาบให้ซามูไร คือ พ...อากาศสะอาด หรือ Clean Air Act ฉะนั้น ประเทศไทยต้องมีทั้งสองอย่างนี้ ผมพยายามเรียกร้องมาตลอด ไม่เช่นนั้น จะเจอเรื่องเดิม และทุกคนแตะบอลไปให้ไกลที่สุด ผลักให้หายะของส่วนรวม เป็นความรับผิดชอบของทุกคน“ ศ.ดร.ศิวัช ย้ำไทยต้องมีเจ้าภาพไล่บี้ฝุ่น PM2.5

 

หยุดเผาตอซังและไร่อ้อย มีการจัดการที่เหมาะสม ลดปัญหาฝุ่นพิษ

 

      อีกแนวทางสำคัญเกี่ยวข้องภาคคมนาคมและการขนส่ง นักวิชาการระบุ  ตราบใดที่บ้านเรายังใช้น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพไม่ดี ไม่เทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้ว ยากที่จะลดเพดานค่ามาตรฐานมาที่ 25 มคก.ต่อลบ.. ได้ รัฐควรยกระดับมาตรฐานไอเสียและมาตรฐานน้ำมันเป็น EURO 5 โดยเร็วที่สุด ไม่ใช่เลื่อนไปเรื่อยๆ ส่วนภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ยึดหลักแนวคิด Food Traceability เป็นการตรวจสอบย้อนกลับการเพาะปลูกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย สามารถใช้เทคโนโลยีดาวเทียมตรวจสอบว่า พื้นที่เกษตรเกี่ยวข้องกับจุดความร้อน Hot Spot  ถ้าไม่มี คุณไม่เกี่ยว รวมถึงส่งเสริมการปลูกพืชยืนต้นแทนพืชเชิงเดี่ยว ลดการเผา อยากย้ำว่า  PM2.5 เป็นเรื่องใหญ่กว่าแค่ฝุ่นจิ๋ว  

     “ฝุ่น PM 2.5” หากไม่แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม จะกลับมาเขย่าปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ต้องวิตกกังวลกันทุกปี

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"