SMEต้องดิสรัปชัน


เพิ่มเพื่อน    

     
    ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจไทยเกิดการชะลอตัวของอุปสงค์และอุปทานในหลายอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการผลิตและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทย ดังนั้นสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในฐานะหน่วยงานที่วิเคราะห์ภาพรวมและกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย จึงได้ประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมรวมทั้งแนวทางการปรับตัวของอุตสาหกรรมไทยในปี 2564 ดังนี้
    โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์และได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์และมีการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้น 1-4% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความจำเป็นในการอุปโภคและบริโภค และความกังวลของระยะเวลาการระบาด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เช่น เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ผัก-ผลไม้แช่แข็ง ผลไม้และผักบรรจุกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ได้แก่ ตู้เย็น ไมโครเวฟ สำหรับอุตสาหกรรม
    ด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วงจรรวมและฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ที่มีปัจจัยบวกจากการเวิร์กฟรอมโฮม ซึ่งนำไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ส่วนอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และอุตสาหกรรมถุงมือยาง คาดว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้น 5-10% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้ทางการแพทย์และในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทั้งภายในประเทศและการส่งออก
    2.อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก และมีการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการผลิตขยายตัวเล็กน้อยประมาณ 0.5-1% เมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ที่มีการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างจากโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการผลิตขยายตัว 0.5-3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมแฟชั่น (สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และเครื่องหนัง) เริ่มกลับมาฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
    ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มน้ำมันเตาจะมีการขยายตัวจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบมากจากการแพร่ระบาดในรอบแรก แต่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และ 3.อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยคาดว่าการผลิตจะหดตัวร้อยละ 10.0-15.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตน้ำมันเครื่องบินยังคงมีข้อจำกัดจากการเดินทางทางอากาศ  
    อย่างไรก็ตาม จากเพื่อให้เศรษฐกิจและผู้ประกอการสามารถที่จะเดินหน้าธุรกิจไปได้อย่าต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรมได้พยายามที่จะหามาตรการมาช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี ซึ่งถือว่าเป็นเศรษฐกิจฐานรากของระบบเศรษฐกิจไทย ให้อยู่รอดและสามารถเดินหน้าธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะที่กำกับดูแลผู้ประกอบการ จึงให้ความสำคัญกับการดูแลเอสเอ็มอีอย่างมาก 
    ทั้งนี้ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กให้ก้าวผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ได้ด้วยดี โดยคาดว่าสัปดาห์นี้ ธพว.เริ่มดำเนินการให้ความช่วยเหลือ 
    เช่นเดียวกับ สุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า ที่ผ่านมานั้นมีซึ่งผู้ประกอบการบางส่วนมีการเตรียมความพร้อม วางแผนทางการเงินและการผลิตไว้บ้างแล้ว แต่ในระยะยาวควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ห่วงโซ่การผลิตสิ่งแวดล้อม และแรงงาน รวมถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค เพื่อพัฒนาสินค้าเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง ความอ่อนไหวในทุกสถานการณ์เพื่อให้สามารถรักษาฐานการผลิตได้ ขณะเดียวกันภาครัฐอาจพิจารณานำมาตรการบรรเทาผลกระทบและฟื้นฟูที่เคยใช้ในการแพร่ระบาดรอบแรกกลับมาใช้ ซึ่งทางกระทรวงจะดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอย่างทันท่วงที
    อย่างไรก็ตาม ในยุคของการแปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และปัจจัยลบที่มีมาก ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอเพื่อปรับตัวเองสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือดิสรัปชัน (Disruption) หากไม่สามารถทำได้ก็คงต้องล้มหายตายจากกันไป.

บุญช่วย  ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"