ระดมพลสกัด PM2.5


เพิ่มเพื่อน    

 

     เป็นที่พูดกันไม่หยุดไม่หย่อนสำหรับปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้เร่งหามาตรการป้องกันเพื่อหาวิธีที่จะลดมลพิษในอากาศ ขณะที่กระทรวงคมนาคม โดยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ได้ดำเนินการตรวจควันดำรถบรรทุกและรถโดยสารทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องตามนโยบายของ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รมว.คมนาคม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

            สำหรับการดำเนินการ เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตรวจวัดควันดำรถโดยสารและรถบรรทุกทั่วประเทศ จำนวน 764 คัน พบรถที่มีค่าควันดำเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ราชการกำหนด พ่นห้ามใช้ 6 คัน ในขณะที่พบรถที่มีค่าควันดำ 30-45% ได้ออกใบเตือนเพื่อให้ผู้ประกอบการไปบำรุงดูแลรักษารถไม่ให้มีค่าควันดำเกินจำนวน 2 คัน ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม-25 มกราคม 2564 ดำเนินการตรวจควันดำรถทั้งสิ้น 100,534 คัน พ่นห้ามใช้แล้วจำนวน 851 คัน

            ขณะที่กรมทางหลวงชนบท (ทช.) โดยแขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานี นำเครื่องจักรกลและยานพาหนะที่ใช้ปฏิบัติงานเข้าตรวจวัดค่าไอเสีย (ควันดำ) เพื่อป้องกันการเกิดเขม่าควัน ฝุ่นละออง อันก่อให้เกิดผลเสียมลภาวะทางอากาศ PM2.5 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี นำเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจและวัดค่าไอเสีย (เขม่าควันดำ) โดยมีเครื่องจักรกลและยานพาหนะเข้ารับการตรวจสอบทั้งสิ้นรวม 30 คัน ซึ่งการตรวจวัดผ่านตามเกณฑ์ค่ามาตรฐาน ณ แขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานี

            ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ห่วงใยประชาชน และให้ความสำคัญกับเรื่องฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิต เพื่อรณรงค์ลดและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามข้อสั่งการของนายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ที่ให้สำนักงานทางหลวงชนบท แขวงทางหลวงชนบท และหมวดบำรุงทางหลวงชนบททั่วประเทศ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษาเครื่องจักร ยานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน และให้ปฏิบัติตามมาตรการลดมลพิษทางอากาศของเครื่องจักรกลและยานพาหนะตามมาตรการของกรมทางหลวงชนบทอย่างเคร่งครัด

            ด้านนายวันชัย รัตนวงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แสดงความคิดเห็นกรณี PM2.5 ว่าหากพิจารณาภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยฝุ่น PM2.5 พบว่ามีอัตราการปล่อยฝุ่นที่ใกล้เคียงกัน โดยภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 40% ขณะที่ภาคขนส่งอยู่ที่ประมาณ 30-40% ซึ่งในส่วนของภาคขนส่งประกอบด้วยรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก ที่เป็นตัวการสำคัญของการปล่อยควันดำออกจากท่อไอเสีย ทำให้เกิดมลพิษทำลายสุขภาพของประชาชน แต่หากพิจารณาเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะพบว่ารถโดยสารสาธารณะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหา PM2.5 เพราะรถบรรทุกส่วนใหญ่จะวิ่งอยู่รอบนอกเมือง

            มองว่าหากแผนฟื้นฟู ขสมก. ซึ่งมีการบรรจุเรื่องการจัดหารถเมล์ใหม่ที่เป็นรูปแบบรถเมล์ไฟฟ้า (อีวี) ไว้ในแผนพื้นฟูด้วย เพราะแม้ ขสมก.จะขาดทุนที่มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเก็บค่าโดยสารราคาถูก แต่ก็ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

            ดังนั้น ขสมก.ควรต้องเร่งดำเนินการ แต่การจะเปลี่ยนนั้นไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยกล็อตทีเดียวทั้งหมด อาจจะทยอยเปลี่ยนก็ได้ จะได้ไม่เป็นภาระงบประมาณมากเกินไป โดยให้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญเปลี่ยนรถเมล์ที่มีอายุการใช้งานมากๆ ก่อน เพราะในหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน รถเมล์ที่ใช้น้ำมันที่มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปีจะได้รับการเปลี่ยนใหม่ แต่ปัจจุบันรถเมล์ที่วิ่งในกรุงเทพฯ มีอายุกว่า 10-20 ปีแล้วยังไม่ได้รับการเปลี่ยนใหม่ จึงถึงเวลาแล้วที่ควรโละทิ้งและเปลี่ยนใหม่ให้เป็นรถเมล์พลังงานสะอาดทั้งหมด

            จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อเสนอแนะสำหรับการสกัดกั้น PM2.5 ซึ่งนักวิชาการมองว่าการจัดหารถเมล์ใหม่ใช้พลังงานไฟฟ้ามาให้บริการ มั่นใจว่าจะตรงกับความต้องการของประชาชน และเพิ่มความปลอดภัยในการบริการให้ประชาชน ไม่ต้องทนกับการนั่งรถเมล์ผุพัง สูดควันพิษอีกต่อไป แต่ทั้งนี้เมื่อมีรถเมล์ใหม่แล้วควรควบคุมเรื่องคุณภาพการบริการด้วย.

++++++++++++++

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"