วิ่งสมาธิ..ก็ได้


เพิ่มเพื่อน    

 

    แปลกใจ!! ถึงขั้นร้อง...ว้าวๆๆ ออกมาเลยทีเดียว เมื่อมีเพื่อนมาชักชวนว่า วันวิสาขบูชาที่กำลังจะถึงในปลายเดือนนี้ ไป...วิ่งสมาธิ!! กันไหม??

    อะไรกัน!?! มีด้วยหรือ และมันเป็นยังไงหนอกับวิ่งสมาธิ แล้วมันจะสร้างสมาธิได้ยังไงกับการวิ่ง เพราะเราเคยแต่ได้ยินได้ฟังว่า การทำสมาธินั้นยึดโยงอยู่กับการนิ่ง การค่อยๆ หายใจเข้า หายใจออก เป็นเรื่องของความสงบ และการฝึกใช้ชีวิตแบบ slow down 

    ปรากฏว่า คนมาชวนก็อธิบายไม่ได้เหมือนกัน นอกจากบอกว่าเห็นโปสเตอร์ของ สสส. และสมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย รวมถึงภาคีเครือข่ายเชิญชวนวิ่งสมาธิ วิสาขะ พุทธบูชา ในวันที่ 29 พ.ค.ศกนี้ ก็เลยอยากลองไปศึกษา หาประสบการณ์โดยตัวเองบ้าง  

    เอ้า!! ไปก็ไป ถือว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ จากทำบุญใส่บาตร ฟังพระเทศน์ เป็นการวิ่งแทน 

    แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กระจ่างว่า ทำไมเรียกว่าวิ่งสมาธินั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำการบ้านเสียก่อน แล้วจึงไปพบคำอธิบายของ อ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. ระบุถึงการวิ่งสมาธิว่า 

    ไม่ว่าเราจะวิ่งในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด สิ่งสำคัญที่เราควรมีในทุกขณะของการวิ่งคือ ‘สมาธิและสติ’ เนื่องจากเราต้องระมัดระวังทั้งรถและคน ฟังเสียงร่างกายตัวเอง รู้ทันความคิดของตัวเอง เมื่อหยุดฟังตัวเอง และใช้ใจจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำ เราจะเกิดปัญญา ความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำ

    ศ.กิตติคุณ ดร.สุชาติ โสมประยูร ผู้คิดค้นการวิ่งสมาธิ ได้เชื่อมโยงสมาธิกับการวิ่งไว้ว่า การทำสมาธิเป็นกิจกรรมออกกำลังจิตเพื่อเพิ่มสมรรถภาพจิต ส่วนการวิ่งเหยาะๆ เป็นการเพิ่มสมรรถภาพให้ร่างกาย สร้างความแข็งแรงให้ทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ ปอด และร่างกาย เมื่อการวิ่งเหยาะๆ ผนวกรวมกับสมาธิ นั่นหมายถึง การวิ่งเหยาะๆ อย่างมีสติ รู้ตัวเอง

    ราวๆ 20 ปีก่อน ศ.กิตติคุณ ดร.สุชาติ ได้วิ่งเหยาะๆ ไปกับการภาวนา “พุท-โธ” ในระหว่างที่หายใจเข้า-ออก บูรณาการระหว่างร่างกายกับจิตใจ ซึ่งหลังจากการวิ่งแบบภาวนาประมาณ 5 เดือน ก็ค้นพบว่า 1.เกิดอาการติดวิ่งสมาธิ 2.ลดความวิตกกังวล คลายเครียด และหลับสบาย 3.ระบบต่างๆ ของร่างกายได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น 4.แก้ไขปัญหาสุขนิสัยที่ไม่ดีของตนเองได้ง่ายขึ้น 5.ลดความเสี่ยงจากโรคและอุบัติภัยได้มากขึ้น 6.ร่างกายกระฉับกระเฉง ทะมัดทะแมง แคล่วคล่องว่องไว 7.อารมณ์สดชื่น แจ่มใส มีชีวิตชีวา และดูไม่แก่เกินวัย

    ระหว่างทางที่วิ่ง เมื่อเรา “จดจ่อ” “มุ่งมัน” “รู้ตัว” ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า วิริยะ นั่นคือ ความพากเพียรทำในสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ และจิตตะ ที่หมายถึง การไม่ละทิ้งเป้าหมายนั้น ลงมือทำด้วยใจจดจ่อ หรือมีสมาธินั่นเอง

    ใครอยากเพิ่มประสบการณ์ทำสมาธิด้วยการวิ่ง ก็ทดลองเริ่มต้นกันในวันวิสาขบูชานี้นะคะ จะได้รู้ว่า นั่งสมาธิ เดินจงกรม กับวิ่งจงกรม แตกต่างกันอย่างไรในทางปฏิบัติ แต่ในหลักการแล้วดูเหมือนเป้าหมายเดียวกันคือ เจริญสติสร้างปัญญานั่นแหละ.
                                        "ป้าเอง"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"