'สวธ.-ม.ศิลปากร'ผนึกกำลัง'เปิดตำนานสุวรรณภูมิ'


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

 

     ไม่เพียงรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างเข้มเข้น อีกทั้งยังเปิดหน้างานขยายความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมในทุกแพลตฟอร์ม   ล่าสุด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)  กระทรวงวัฒนธรรม ได้ทำบันทึกข้อตกลง แลกเปลี่ยนความรู้กับสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยศิลปากร  โดยเชิญชวนให้สถาบันการศึกษามาช่วยกันขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างความหลากหลายแง่มุมให้กับวงการ

      ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  เปิดเผยว่าทางสวธ.ได้ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางศิลปะและวัฒนธรรม กับ ผศ.ชัยชาญ  ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมี อัจราพร พงษ์ฉวี รองอธิบดี สวธ. และ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมลงนามเป็นพยาน เอ็มโอยูครั้งนี้มีหลายเป้าหมายที่น่าสนใจ เน้นการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมของทุกภาคส่วน ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมให้มีศักยภาพและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่นานาชาติ เสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน  เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน    กำหนดความร่วมมือระยะเวลา 3 ปี และอาจขยายเวลาความร่วมมือตามความเหมาะสมต่อไป
    “ ตามบันทึกความร่วมมือนี้ทางมหาวิทยาลัยศิลปากรจะดำเนินการบริหารจัดการโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนไปยังทุกภาคส่วน จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน จะมีการทำงานใน 5 ด้าน ตั้งแต่แลกเปลี่ยนข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อโครงการทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ร่วมกันศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาโครงการศิลปวัฒนธรรมเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ ศึกษาวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการสร้างกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม และจับมือกันค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ” ชายย้ำจุดยืนความร่วมมือ

 

เปิดพื้นที่ส่งเสริมศิลปินไทยในระดับนานาชาติ

 

    ฝั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร  เผยว่า เอ็มโอยูฉบับนี้เป็นอีกก้าวการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม   มีโปรเจ็คสร้างสรรค์ที่ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ ที่จะเกิดขึ้น  โดยทางมหาวิทยาลัยศิลปากรจะชวน สวธ. ศึกษา ค้นคว้า เจาะลึก และเผยแพร่เรื่องราวของดินแดนสุวรรณภูมิในมิติที่ครอบคลุมสังคมไทยและสังคมโลก   ซึ่งในฐานะที่ศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษา ที่ดำเนินการเรียนการสอน ครอบคลุมทุกศาสตร์และทุกศิลป์  จะนำจุดเด่นนี้มาต่อยอดเผยแพร่ความรู้เรื่องราวดินแดนสุวรรณภูมิ ปลุกการเรียนรู้ ขบคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    “ เส้นทางศิลปะและวัฒนธรรมสุวรรณภูมิยังขาดการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียด เส้นทางวัฒนธรรมโบราณนี้เชื่อมโยงอินเดีย ศรีลังกา ไทย กัมพูชา และเวียดนาม  มีองค์ความรู้ด้านดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม วรรณกรรม และโบราณคดีที่สำคัญ  สุวรรณภูมิเป็นดินแดนสำคัญระดับโลก “ อำมฤทธิ์ ย้ำอีกว่าเป้าหมายภารกิจที่ว่านี้ ทำให้ต้องมีการผนึกกำลังกันศึกษา

 

พัฒนาโครงการศิลปวัฒนธรรมมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล


    อีกโปรเจ็กต์ ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ที่ผลักดันให้เกิดศิลปินรุ่นใหม่ อ.อำมฤทธิ์ บอกว่า การส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทยไปต่างประเทศเป็นงานที่สำคัญ ย้อนไปปี 2562 โครงการสงขลา พาวิลเลี่ยน ศาลาใหม่  เกิดขึ้นเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี กลุ่มศิลปินไทย รวมถึงตนร่วมผลักดันเพื่อเปิดพื้นที่แสดงผลงานศิลปินไทย และประสานกับ สวธ.นำผลงานศิลปินแห่งชาติร่วมแสดงนิทรรศการ Trans-Synthesis : ทวิลักษณ์และการข้ามผ่าน ด้วย จัดในช่วงเวลาเดียวกับงานเวนิส เบียนนาเล่ เทศกาลศิลปะระดับโลกที่มีผู้ชมนับแสนคน นำมาสู่ความร่วมมือฉบับนี้  ซึ่งในการทำงานทั้งสองหน่วยงานในกรอบปี 64 อีกงานคือ การส่งเสริมกิจกรรมศิลปะของศิลปินระดับเยาวชน เริ่มจากคัดสรรนิสิตและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จากนั้นคัดเลือกผลงานที่โดดเด่นเพื่อจัดแสดงนิทรรศการที่ จ. สงขลา เมืองเก่าที่มีมรดกทางวัฒนธรรมมากมาย ต่อจากนั้นจะเชื้อเชิญศิลปินเยาวชนระดับภูมิภาคอาเซียนร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการ  ตามแผนจะมีทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โควิด ถ้าออฟไลน์จะต้องลงทะเบียนล่วงหน้า จำกัดจำนวนผู้ชม และลดความแออัดของกิจกรรม  ค้นหามิติใหม่แสดงงานไปด้วยกัน คาดว่าจะเริ่มเดือน มี.ค.นี้
    “ เดิมโครงการส่วนมากคัดศิลปินมืออาชีพ  ศิลปินรุ่นใหญ่ แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครย้อนกลับมาที่ตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น สร้างพื้นที่ให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพ มีโอกาสทำงาน ก็เหมือนการแข่งขันกีฬาระดับเยาวชนเป็นเครื่องมือสร้างตัวจริงสู่ทีมชาติในอนาคต  โปรเจ็คนี้สร้างเยาวชนที่แข็งแกร่งสู่วงการ สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจประเทศ” รองคณบดีฯ กล่าว
    แผนงานพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมด้วยองค์ความรู้ด้านการออกแบบ ซึ่งศิลปากรมีความโดดเด่นด้านนี้ รองอธิการบดี บอกว่า หาก สวธ.จะจัดมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมตามภูมิภาคต่างๆ ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร จะร่วมออกบูธแสดงผลงานออกแบบ ทั้งแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องประดับ งานคราฟ ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัย หากสถาบันการศึกษาและชุมชนเครือข่ายวัฒนธรรมสนใจต่อยอด จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือเชิงพื้นที่ต่อไป  ตรงตามเป้าหมายเอ็มโอยูพัฒนาต่อยอดและสร้างการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"