ศึกซักฟอกส่อวุ่น! เคลียร์วันไม่ลงตัว


เพิ่มเพื่อน    

 “วิษณุ” มั่นใจฝีมือประธานชวนคุมประชุมสภาอยู่  ลั่นหากเกินเยียวยาก็ประชุมลับได้ “ธรรมนัส-ชินวรณ์” เชื่อไม่ลากโยงกฐินอภิปรายไปพัวพันศึกเลือกตั้งซ่อมนครศรีธรรมราช หารือกรอบเวลาพ่นน้ำลายเหลว นัดประชุมใหม่ 5 ก.พ. หลังฝ่ายค้านยืนกระต่ายขาเดียวขอ 5 วัน อ้างมี รมต.ชำแหละ 10 ราย ก๊วน พปชร.ภาคใต้ยันส่งชิงเก้าอี้เมืองคอน เพราะเสียงประชาชนเรียกร้อง

เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ถึงกรณีมีรัฐมนตรีมาขอคำปรึกษาเรื่องกฎหมายหรือไม่ ว่าอีกหน่อยอาจจะมา แต่ขณะนี้ยังไม่มี  
         ถามถึงความห่วงเรื่องญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่มีการเกี่ยวข้องกับสถาบัน จำเป็นต้องประชุมลับหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ก็ยังไม่เกิดเหตุอะไรขึ้นมา เอาไว้มีสัญญาณเมื่อเกิดเหตุ การดำเนินการอย่างนั้นก็คงต้องคิดกัน แต่ยังไม่ค่อยห่วงมาก เพราะมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และข้อบังคับการประชุมสภา หากมีความจำเป็นสามารถขอให้ประชุมลับได้ แต่ประชาชนอาจอึดอัดนิดหน่อย เพราะอยากฟังว่าเขาพูดอะไรกัน แต่หากจำเป็นก็ต้องประชุมลับ เพราะข้อบังคับและรัฐธรรมนูญเปิดไว้
     เมื่อถามต่อว่าในอดีตเคยมีการขอเปิดอภิปรายลับหรือไม่ นายวิษณุตอบว่า อาจมี แต่นึกไม่ออก ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับประเด็นความมั่นคงของชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ข้อพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร เป็นเรื่องธรรมดา  
        ขณะที่ ร.อ.ธรรมนัส? พรหม?เผ่า? รมช.?เกษตร?และ?สหกรณ์? ในฐานะ?รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ? (พปชร.?) กล่าวถึงความพร้อมรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พปชร. ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ได้เตรียมความพร้อมแล้ว ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.?) อาจนำเรื่องการส่งผู้สมัคร?เลือกตั้งซ่อม?เขต 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช? มา?เป็นเงื่อนไขการลงมตินั้น ไม่น่าเป็นประเด็น? เชื่อว่า ?พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร. ได้พูดคุยแล้ว? ขอให้ผู้ใหญ่ได้คุยกัน?  
    ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าพรรคร่วมรัฐบาล?จะเหนียวแน่นในการลงมติไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัส?กล่าวว่า ขอให้แยกระหว่างการเมืองกับการเลือกตั้งซ่อม และเชื่อว่าสามารถหาทางออกแบบสันติ?วิธีได้? สำหรับการอภิปรายจะเป็นไปตามกรอบหรือไม่เป็นเรื่องของหัวหน้าพรรคทั้งสองพรรค? หากพาดพิงไปนอกเหนือญัตติ?เป็นเรื่อง?ของสภาพิจารณา
    นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรค ปชป. ในฐานะรองประธานวิปรัฐบาล กล่าวในประเด็นนี้เช่นกันว่า เป็นคนละมิติกัน การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นบทบาทในสภา ประเด็นอยู่ที่เนื้อหาของฝ่ายค้านมีมากพอหรือไม่ เราต้องรอฟังก่อนตัดสินใจ แต่มั่นใจว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะลงมติไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกรณีสมาชิกพรรคบางคนจะลงมติสวนนั้น เป็นความคิดส่วนบุคคล ซึ่งการซักฟอกไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องของประเทศ
5 ก.พ.ประชุมอีกรอบ
    นายชินวรณ์ยังกล่าวถึงกรอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า จะประชุมคณะกรรมการประสานงานรัฐสภาที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เป็นประธาน โดยจะหารือถึงกรอบเวลาที่ตกลงไว้เดิมคือ อภิปรายระหว่างวันที่ 16-19 ก.พ. และลงมติวันที่ 20 ก.พ. ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็เห็นชอบกรอบเวลาดังกล่าวแล้ว ส่วนที่ฝ่ายค้านขอเวลาอภิปราย 5 วัน ไม่รวมวันลงมตินั้น ไม่อยากให้เสียเวลาเถียงเรื่องนี้ เพราะจะเสียเวลาไปเปล่าๆ และไม่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย แต่อยากให้ฝ่ายค้านไปบริหารจัดสรรเวลากันเองมากกว่า
    ต่อมาในเวลา 13.10 น. นายสุชาติได้เป็นประธานประชุม โดยใช้เวลาประชุมกว่า 3 ชั่วโมง จากนั้นนายวิรัชให้สัมภาษณ์ว่ายังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องจำนวนวันอภิปราย เพราะตกลงกันไม่ได้ โดยฝ่ายค้านขอเวลาการอภิปรายมา 45 ชั่วโมง แต่ฝ่ายรัฐบาลเห็นว่ามากเกินไป จะทำให้รัฐมนตรีมีเวลาชี้แจงน้อย โดยให้เต็มที่ได้แค่ 30-35 ชม. ดังนั้นจึงนัดหารือใหม่อีกครั้งในวันที่ 5 ก.พ.นี้ เวลา 14.00 น. โดยจะมีนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลฯ เป็นตัวแทน ครม.ร่วมหารือ เพื่อให้คำตอบถึงจำนวนเวลาของฝ่าย ครม. และคงไม่มีประชุมลับ หากมีการพูดถึงสถาบัน จะเป็นการประชุมเปิดเผย หากใครพูดอะไรต้องรับผิดชอบกันเอง
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านขอเวลา 45 ชม. แต่ฝ่ายรัฐบาลต่อรองเหลือ 30 ชม. สมัยที่อภิปรายรอบที่แล้วมีรัฐมนตรี 6 คน ใช้เวลา 37 ชม. แต่ครั้งนี้มีรัฐมนตรี 10 คน ความจำเป็นการใช้เวลาต้องมากขึ้น เวลา 45 ชม. ไม่ได้มากเกินไป และยังเปิดโอกาสให้รัฐมนตรีชี้แจงได้เต็มที่ เมื่อตกลงกันไม่ได้ ต้องหารือใหม่อีกรอบในวันที่ 5 ก.พ. แต่ฝ่ายค้านกำหนดประเด็นอภิปรายและตัวผู้อภิปรายไว้หมดแล้ว เวลา 45 ชม.ไม่มากเกินไป เต็มที่อภิปรายได้ถึงวันที่ 20 ก.พ. และโหวตลงมติในวันที่ 21 ก.พ.ก็ทำได้ รัฐบาลอย่ากลัว ต้องใจกว้าง
     นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวว่า มีข้อห่วงใยจากสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ระบุเรื่องสไลด์และภาพที่จะใช้อภิปราย ซึ่งปกติแล้วไม่จำเป็นต้องให้ตรวจสอบ เพื่อป้องกันการเปิดเผยการบ้านให้รัฐมนตรีรู้ แต่เนื่องจากญัตติอภิปรายครั้งนี้ มีการกล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ และ รมว.กลาโหม เกี่ยวกับพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับสถาบัน จึงขอปรึกษา ซึ่งพรรคยืนยันว่าจะอภิปรายอย่างระมัดระวัง ไม่มีภาพไม่เหมาะสมเสนอมา แต่ทราบว่านายวิรัชจะหยิบยกเรื่องนี้มาหารือในที่ประชุมสภา เพื่อขอมติยกเว้นข้อบังคับการประชุมให้ตรวจสอบภาพและสไลด์ของฝ่ายค้านก่อนการอภิปราย เป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม ไม่เหมาะสม ผิดประเพณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจอย่างรุนแรง โดยใช้ข้ออ้างเรื่องญัตติที่เกี่ยวกับสถาบันมาเล่นเกมในสภา ขอให้จับตาดูเรื่องนี้
มึนร้องศาลผิดมาตราไหน
     ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรค พท. กล่าวถึงความกังวลกรณีที่บางฝ่ายอาจนำญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคร่วมฝ่ายค้านยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ไม่รู้ว่าถ้ามีผู้ไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ จะยื่นเพื่อขอให้ตีความความผิดมาตราไหน เมื่อดูจากญัตติที่พรรคร่วมฝ่ายค้านยื่นให้ประธานสภาฯ ก็เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ มั่นใจว่าไม่ได้เป็นญัตติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการอภิปรายที่ห่วงใยหากฝ่ายค้าน อภิปรายพาดพิงไปถึงสถาบัน จะทำให้มีการขอประชุมลับนั้นตามข้อบังคับต้องอาศัยเสียงสมาชิก 1 ใน 4 ประชุมลับก็ทำได้ แต่ต้องเข้าเงื่อนไขว่าผู้อภิปรายนั้นดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายหรือไม่ ซึ่งมั่นใจว่า ส.ส.ฝ่ายค้าน จะอภิปรายอยู่ในเนื้อหาตามญัตติที่ได้ยื่นไป
    น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์  ส.ส.กทม. พรรค พท. กล่าวถึงกรณีรัฐบาลประกาศตั้งคณะทำงานนอกสภาและองครักษ์ปกป้อง พล.อ.ประยุทธ์และ พล.อ.ประวิตร ว่าเป็นการเล่นการเมืองแบบเก่า ไม่สร้างสรรค์ ไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ยืนยันว่าพรรคฝ่ายค้านจะทำหน้าที่ในการอภิปรายในครั้งนี้อย่างดีที่สุด เพื่อเปิดแผลเน่าของรัฐบาลที่สร้างความเสียหายกับประเทศชาติเพื่อให้ประชาชนรับทราบว่ารัฐบาลที่อ้างประชาชนแล้วจริงใจกับประชาชนจริงหรือไม่
    วันเดียวกัน ที่รัฐสภา นายรงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช ในฐานะประธาน ส.ส.ภาค 8 พรรค พปชร. แถลงถึงการเลือกตั้งซ่อมเขต 3 จ.นครศรีธรรมราช ว่าได้รับการร้องขอจากสมาชิกในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ให้มาบอกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เพื่อให้มีมติส่งนายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีตผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 เมื่อปี 2562 ลงแข่งขันการเลือกตั้งซ่อมเขต 3 ซึ่งสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องมีเหตุผลเรื่องความเป็นประชาธิปไตย และพรรคเองต้องทำหน้าที่ส่งผู้สมัครเมื่อตำแหน่งว่างลง
“มารยาททางการเมืองเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย ซึ่งมารยาททางการเมืองเป็นข้อตกลงหลวมๆ ไม่ได้ผูกมัดอะไร แต่ภารกิจของเราระดับพรรค ประชาชนเรียกร้องจะให้มีตัวเลือกมากๆ การบล็อกคนไม่ให้ลงสมัครไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย ดังนั้น มารยาททางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือเปิดตัวเลือกให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกคนที่เขารัก ไม่ใช่นิยามของผู้ใดผู้หนึ่งภายใต้ความปรารถนาขอตนเอง นอกจากนี้ มารยาททางการเมืองยังหมายถึงพรรคหรือผู้สมัครคนใด ถ้าทำผิดพลาดแล้วถูกออกจากตำแหน่งไปต้องไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งอีก” นายรงค์กล่าว
    เมื่อถามว่า การส่งผู้สมัครของพรรค พปชร. จะส่งผลต่อการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ นายรงค์กล่าวว่า เราจะเอาเหตุเรื่องการลงสมัครมาพัวพันเป็นรอยร้าวของพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ ถ้าจะแตกหักต้องแตกหักกันเชิงนโยบาย ไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งจากการแข่งขันกัน ส่วนพรรค ปชป.จะเอาเหตุนี้มาเป็นเหตุให้ยกมือโหวตสวนหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของวิปรัฐบาลที่ต้องไปคุยกัน แต่ขอย้ำว่าการแข่งขันกันทางเลือกตั้งไม่เป็นเหตุผลที่จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลมีรอยร้าวกัน เพราะเป็นเรื่องปกติ จะเอาเหตุปกติมาเป็นตัวชี้วัดให้เกิดความร้าวฉานไม่ได้
    ด้านนายนิพันธ์ ศิริธร ส.ส.ตรัง ในฐานะรองหัวหน้า พปชร.กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ส่ง เนื่องจากเป็นเสียงเรียกร้องจากสมาชิกพรรคในพื้นที่เขต 3 จ.นครศรีธรรมราช   
หวังแบ่งครึ่งเมืองคอน
     ขณะที่นายสายัณห์ ยุติธรรม ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรค พปชร. กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งแทนไม่ใช่เลือกตั้งซ่อม เพราะ ส.ส.คนเดิมถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากทุจริตการเลือกตั้ง ดังนั้น พรรค ปชป.จึงไม่มีความชอบธรรมที่จะส่งผู้สมัครลงแข่งอีก ถ้าเป็นพรรค พปชร.คงไม่ส่งผู้สมัคร อีกทั้งในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ผู้สมัครพรรค พปชร.ได้คะแนนเป็นที่สอง จึงมีความชอบธรรม ถึงเวลาแล้วที่เราจะได้ ส.ส.นครศรีธรรมราช 4 ต่อ 4 คนเท่ากับพรรค ปชป. เหมือนโครงการคนละครึ่ง
     "ไม่ใช่การเลือกตั้งซ่อม แต่เป็นการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากถูกศาลติดสินว่าทุจริตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงมากในทางการเมือง แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นรอยร้าวในพรรคร่วมรัฐบาล เพราะไม่ว่าพรรคพลังประชารัฐหรือประชาธิปัตย์จะได้ คะแนนเสียงพรรคร่วมก็เท่าเดิม เพราะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเหมือนกัน" นายสายัณห์กล่าว  
     ส่วนนายอาญาสิทธิ์กล่าวว่า มีความพร้อมในการลงสมัครรับเลือกตั้งเขต 3 และประชาชนในพื้นที่ก็พร้อมที่จะสนับสนุนพรรค พปชร.  
    หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยกล่าวถึงกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติให้พรรคส่งผู้สมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 3 ว่าจะส่งผู้สมัครคนเดิมคือ นายจำเริญ เสนากัสป์ ซึ่งผลคะแนนเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค.2562 ได้ 1,370 คะแนน เป็นอันดับที่ 6 ส่วนที่พรรคร่วมรัฐบาลส่งผู้สมัครแข่งกันเองระหว่าง ปชป.กับ พปชร.นั้น ก็ปล่อยให้สู้กันไป แต่ต้องระวังอย่าให้จับได้เรื่องของการทุจริตเลือกตั้ง อย่างที่พรรคเคยแจ้งจับทุจริตเลือกตั้งที่ จ.ลำปาง และ สมุทรปราการมาแล้ว
    “ความเห็นแรกของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ต้องการให้พรรคที่ผู้สมัครได้รับคะแนนสูงสุดลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งคือพรรคอนาคตใหม่และปัจจุบันคือพรรคก้าวไกล ได้ 11,754 คะแนน แต่พรรคก้าวไกลไม่พร้อม ด้วยเหตุผลว่ากำลังเตรียมปรับปรุงพรรค ขณะที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจว่าไม่ลง ทำให้พรรคเสรีรวมไทยตัดสินใจเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่จะสู้ศึก”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"