'จตุพร' ชี้การเมืองไทย-พม่า ย่ำวนล้าหลัง ไม่หลุดพ้นกองทัพยึดอำนาจ


เพิ่มเพื่อน    

4 ก.พ.64 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊กไลฟ์ peace talk ว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยกับพม่านั้น ทั้งสองประเทศคงหนีวังวนจาก การรัฐประหารกับประชาธิปไตยไม่พ้น แม้พม่าไม่มีระบบกษัตริย์ แต่ถูกปกครองด้วยระบบทหารมายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ (50 ปี) แล้ว พล.อ.มิน อ่อง หล่าย มานำรัฐประหารภายใต้รัฐธรรมนูญครั้งใหม่ คือ ทหารยึดอำนาจเพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับทหารกำหนดขึ้นเอง ดังนั้น ถึงกองทัพจะสัญญาอยู่ไม่นาน แต่คงเชื่อมั่นเป็นสัจจะของทหารยึดอำนาจได้ยากยิ่ง

อีกทั้ง การแสดงปฏิกิริยาไม่ยอมรับการรัฐประหารของคนพม่าในไทยนั้น เป็นการแสดงออกหน้าสถานทูตพม่าและยุติลงตามเวลาที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม รัฐไทยไม่ควรแสดงออกในการปกป้องการ รัฐประหารของทหารพม่า เพราะนั้นเป็นการแสดงความโง่สิ้นเชิง โดยตำรวจตั้งแถวสลายการชุมนุมหน้าสถานทูตพม่า ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศที่ไม่ขัดขวางสกัดกั้น ขณะที่การตั้งแถวใช้กำลังสลายการชุมนุมในไทย จึงเป็นความผิดพลาดอย่างที่สุด

“ในทางการเมืองรัฐไทยไม่ควรตีโง่อย่างไม่จำเป็นเลย โดยไม่ระมัดระวังในท่วงทำนองจึงเกิดภาพว่า รัฐบาลไทยยุคนี้ ออกมารับหน้าแทนกองทัพทำรัฐประหารในพม่า”

นายจตุพร โยงถึงการแก้รัฐธรรมนูญในไทยว่า ยังเป็นความหวังลมๆแล้งๆ ที่จะเดินไปสู่รัฐธรรมนูญ 2540 อีกครั้ง และยังเป็นความยากที่จะประสบความสำเร็จ อีกอย่างความหวังให้เลือกตั้ง สสร. 200 คนนั้น คงสะท้อนถึงการเมืองแบบลับลวงพราง ดังนั้น รูปแบบการเมืองไทยขณะนี้จึงดูเหมือนเป็นต้นแบบการรัฐประหารของพม่า ทั้งเนื้อหาและการใช้ภาษาที่ไม่แตกต่างกัน จึงเชื่อว่า คณะทหารพม่าจะกระชับอำนาจไปต่อเนื่องตามรัฐธรรมนูญที่สร้างขึ้นมา ซึ่งไม่แตกต่างกับเผด็จการในไทยที่ใช้พฤติกรรมสังคมมาสร้างดราม่าทางการเมืองขึ้น

โดยเฉพาะ การเรียกเก็บเบี้ยผู้สูงอายุคืนนั้น ไม่แตกต่างจากการสร้างดราม่าทางการเมืองของเผด็จการที่เข้าใจสังคมไทยดี โดยเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่รุกกดดันเข้มข้นต่อผู้สูงอายุให้คืนเงินที่ไม่ควรได้ จึงเกิดเสียงโวยวายทางสังคมขึ้น แล้วที่สุดมาลงท้ายด้วยการหักมุมให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาแก้ไขปัญหา ประกาศจะจัดการให้ ขอผู้สูงอายุอย่าได้กังวล และได้เสียงชื่นชม ทั้งๆที่เรื่องนี้ไม่ควรเป็นดราม่าเหมือนละครน้ำเน่าเลย เพียงรัฐดำเนินงาน สั่งการด้านลึกก็เสร็จสิ้น ดังนั้น สิ่งที่สงสัยคือ รัฐบาลดราม่าทำไม และคำตอบคงเป็นเพราะเผด็จการเข้าใจการเมืองในสังคมไทยดีนั่นเอง

ส่วนรัฐประหารในพม่านั้น ผู้นำกองทัพประโคมการโกงเลือกตั้ง ทั้งที่เป็นหน้าที่ของ กกต.พม่า แต่กองทัพกลับส่งเสียงกดดัน ไม่ยอมให้มีการโกงเลือกตั้งได้เข้าสู่สภา ซึ่งแตกต่างจากไทยที่ กกต.ปล่อยให้ทำหน้าที่ไปก่อนแล้วสอยกันที่หลัง ส่วนพม่ายึดเป็นเหตุสู่การรัฐประหารยึดอำนาจ 

เมื่อพิจารณาการเมืองของ นางออง ซาน ซูจี ที่ยอมเสียภาพลักษณ์ในการปราบปรามชาวโรฮิงญาต่อสายตาโลก นั่นสะท้อนถึงการแลกกับความนิยมในการเมืองภายในประเทศ จนได้รับการเลือกตั้งถล่มทลาย มีชัยชนะเหนือฝ่ายกองทัพอย่างมากมาย ดังนั้น กองทัพพม่ายอมให้อยู่ในอำนาจอีกต่อไปไม่ได้ เพราะยิ่งทำให้กองทัพจะถูกลดถอนอำนาจลงต่อเนื่อง

“ด้วยเหตุนี้ การยึดอำนาจจึงเป็นเลห์เพทุบาย เป็นการหาเหตุมายึดอำนาจเท่านั้น โดยเฉพาะรูปแบบการยึดอำนาจเอาแบบไทยชนิดถอดแบบ แม้ประกาศอยู่ไม่นาน แต่นั่นเป็นเพียงนำมาอ้าง เพื่อผ่อนคลาย หนีแรงต้านสูงของสังคม”

นายจตุพร ย้ำว่า หลายสิ่ง หลายรูปแบบที่สะท้อนออกมาในการเมืองของพม่ากับไทยนั้น บ่งบอกถึงต้องอยู่กับความล้าหลังอีกยาวไกล ทั้งที่ในหลายเรื่องไทยควรเดินไปไกลกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ตนยังเชื่อจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยต้องอาศัยพลังประชาชนมาเป็นผู้กำหนดการเปลี่ยนแปลงเพื่อทลายกำแพงกั้นความล้าหลังในทางการเมืองของไทย

“พลังประชาชนต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง พร้อมกำหนดแล้วนำไทยเดินหน้าไปสู่เวทีการเมืองโลกให้ได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ และผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นด้วยหนทางที่ดีกว่า แต่ทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนกำหนด"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"