จ่อคลอดแพ็กเกจคนชรา


เพิ่มเพื่อน    

 “สุชาติ” นัดถกรายละเอียดมาตรการเยียวยาผู้ประกันตน “ม.33 เรารักกัน” อีกรอบ ยันเงินถึงมืองวดแรกมีนาคมแน่ เล็งคลอดแพ็กเกจคนชรา นำเงินเกษียณมาใช้ก่อนหรือกู้ได้ “คลัง” เผยคนผ่านเกณฑ์เราชนะแค่ 50% “คลัง” ยันฐานะไทยยังแข็งปั๋ง อนุชาตีปี๊บผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว

    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ามาตรการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในโครงการ ม.33 เรารักกัน ว่าวันศุกร์ที่ 5 ก.พ. จะหารือร่วมกับกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ถึงแนวทางการจ่ายเงินเยียวยา โดยครอบคลุม 9 ล้านคน ซึ่งหากได้ข้อสรุปชัดเจนจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
    “ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม สรุปเกี่ยวกับหลักการในการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แล้วว่าต้องได้รับชดเชยทั้งหมดทุกคน ที่ 4,000 บาทต่อคน เพื่อไม่ให้เหลื่อมล้ำ และช่วยเหลืออย่างเท่าเทียม โดยยืนยันว่าเม็ดเงินจะถึงมือภายในเดือน มี.ค.2564” นายสุชาติกล่าว
    นายสุชาติยังกล่าวอีกว่า กระทรวงเตรียมปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้นำเงินกองทุนชราภาพราว 30% จากที่มีอยู่ 1.8 ล้านล้านบาท ออกมาให้ผู้ประกันตนได้นำไปใช้จ่ายก่อนเกษียณ โดยกำลังพิจารณารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินในประเทศ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ผู้ประกันตนกำลังประสบอยู่ หรืออาจนำออกมาปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกันตน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกันตนไปกู้ยืมเงินนอกระบบ
    ขณะที่ น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความพร้อมในการโอนวงเงินสิทธิ์ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐครั้งแรก วันที่ 5 ก.พ.2564 ว่าจะได้รับวงเงินเป็นรายสัปดาห์ทุกวันศุกร์ จนวงเงินสิทธิ์ครบ 7,000 บาท ซึ่งผู้ถือบัตรสามารถสะสมวงเงินและใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2564
    “กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถตรวจสอบวงเงินสิทธิ์คงเหลือได้ที่เครื่องกดเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือเครื่องรูดบัตรที่ร้านค้าธงฟ้า” น.ส.กุลยากล่าว
    น.ส.กุลยายังกล่าวถึงการคัดกรองคุณสมบัติสำหรับกลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในโครงการคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกัน ที่ยืนยันตัวตนสำเร็จภายในวันที่ 27 ม.ค. ว่ามีทั้งหมด 16.8 ล้านคน แต่มีผู้ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมมาตรการเราชนะที่ 8.398 ล้านคน ซึ่งผู้ที่มีแอปฯ เป๋าตังทั้ง 16.8 ล้านคน สามารถตรวจสอบผลการคัดกรองได้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. ผ่านเว็บไซต์ w ww.เราชนะ.com  ซึ่งมีจำนวนผ่านสิทธิ์ประมาณครึ่งหนึ่ง ส่วนกลุ่มที่ไม่ผ่านสิทธิ์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการและผู้ประกันตนตามมาตรา 33
    วันเดียวกัน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง ปาฐกถาในหัวข้อ “แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19” ในงานสัมมนาพลิกสูตรวัคซีนสู้โควิด พลิกวิกฤติเศรษฐกิจไทย ยืนยันว่าสถานะและเงินคงคลังของไทยยังอยู่ในระดับที่มั่นคง ข้อมูลที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ว่าไทยจะล้มละลายจึงไม่ใช่เรื่องจริง แม้ที่ผ่านมารัฐบาลจะมีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท
“การกู้เงินมา 1 ล้านล้านบาท ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 50% ของจีดีพี แต่ยังอยู่ภายใต้กรอบความมั่นคงทางการคลัง ที่กำหนดว่าหนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี โดยหนี้ที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นเหมือนกันในหลายประเทศทั่วโลก” นายอาคมกล่าว
    นายอาคมระบุว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ มีความแตกต่างกับการแพร่ระบาดในรอบแรกค่อนข้างมาก เพราะรอบแรกยังมองไม่เห็นเรื่องของวัคซีน ทำให้รัฐบาลต้องยอมสละด้านเศรษฐกิจ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มข้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจเดือดร้อนทั้งหมด แต่ครั้งนี้รัฐบาลพยายามสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและการป้องกัน จึงไม่มีการล็อกดาวน์เพื่อหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ายอดการใช้จ่ายยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนว่าประชาชนยังคงมีการใช้จ่ายอย่างปกติ
    รมว.การคลังยังกล่าวถึงแนวทางในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ว่ากำลังเดินหน้าเยียวยาควบคู่ไปกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านโครงการเราชนะ ที่จะดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบกว่า 31 ล้านคน ส่วนประชาชนในกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มแรงงาน หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะมีกองทุนประกันสังคม และมีมาตรการดูแลต่อไป โดยการเยียวยาในครั้งนี้พยายามนำดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาใช้ให้มากที่สุด ซึ่งต่อไปจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นระบบฐานข้อมูลในการดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึงในอนาคต
     นอกจากนี้ ยังมีมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งกำลังพิจารณามาตรการเพิ่มเติมเรื่องของการช่วยเหลือภาคประชาชนและภาคธุรกิจในเรื่องสภาพคล่องด้วย
    ส่วนนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันว่า ถือว่ามีสัญญาณที่ดี โดยมีรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ว่าช่วงเดือน ธ.ค.2563 ตัวเลขต่างๆ ถือว่าดี เช่น การส่งออกขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน อยู่ที่ 4.7% อัตราเงินเฟ้อต่ำ ทุนสำรองสูง ผ่านพ้นจุดที่ตกต่ำมาแล้ว และในปี 2564 ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ จะดีขึ้น และสำนักงานบลูมเบิร์กยังประเมินมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจอันดับ 1 ใน 17 ประเทศของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทำให้มีแรงดึงดูดจากเงินทุนต่างประเทศ รวมทั้งดัชนีสุขภาพของไทยติด 1 ใน 10 ประเทศแรกของโรค  
    “สศค.ยังได้ชี้แจงว่าสภาพเงินคงคลังมีเพียงพอในการดำเนินนโยบายและการลงทุนต่างๆ โดยเงินคงคลังปลายงวดปี 2563 มากกว่าเงินคงคลังปลายปี 2562 และหนี้สาธารณะไม่เกินกรอบที่กฎหมาย 60%”
     นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือแรงงานผู้ประกันตนว่า เป็นมาตรการช่วยเหลือที่ไร้ความจริงใจ ทำไมรัฐบาลจึงเลือกจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน ทำไมไม่จ่ายเป็นเงินสดผ่านบัญชีที่ผู้ประตนสามารถไปกดมาใช้ได้เลย การที่รัฐจ่ายผ่านแอปฯ เพื่อให้ไปซื้อสินค้าจากนายทุนใหญ่ใกล้ชิดรัฐบาล ถือว่าไม่ได้ช่วยประชาชนด้วยความจริงใจ แต่เป็นความเจ้าเล่ห์ในการหามาตรการเพื่ออุ้มนายทุนใหญ่ของรัฐบาลโดยใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือมากกว่า.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"