สิงคโปร์ชัดเจน ไม่สนับสนุนแซงก์ชันเมียนมา


เพิ่มเพื่อน    

วิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ ยอมรับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในเมียนมาน่าตกใจ แต่เขาไม่สนับสนุนการแซงก์ชันอย่างกว้างขวางโดยไม่เลือกปฏิบัติในเมียนมาเพราะอาจกระทบประชาชนทั่วไป

    ข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วิเวียน บาลากริชนัน กล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรของสิงคโปร์เมื่อวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ ว่าสิงคโปร์มีความกังวลเกี่ยวกับการปะทะรุนแรงในการประท้วง, การจับกุมข้าราชการ, การปิดอินเทอร์เน็ต และการวางกำลังทหารและยานหุ้มเกราะตามท้องถนน

    "สิ่งเหล่านี้เป็นพัฒนาการที่น่าตกใจ เราขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทางการใช้ความอดกลั้นถึงที่สุด" เขากล่าว "เราหวังว่าพวกเขาจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์ ไม่ควรมีการใช้ความรุนแรงกับพลเรือนที่ไม่มีอาวุธ และเราหวังว่าจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างสันติ"

    บาลากริชนันกล่าวด้วยว่า นางอองซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอยและการรัฐประหารเป็นการถอยหลังครั้งใหญ่สำหรับเศรษฐกิจเมียนมา ธุรกิจของสิงคโปร์อาจต้องประเมินความเสี่ยงกันใหม่ เขาหวังด้วยว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวไว้ ซึ่งรวมถึงซูจี และประธานาธิบดีวิน มยิน จะได้รับการปล่อยตัว เพื่อที่พวกเขาจะได้เจรจากับสภาทหารที่ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์

    อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีสิงคโปร์กล่าวว่า การใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างกว้างขวางจะทำร้ายประชากรในเมียนมา และเขาได้หารือกับรัฐบาลตะวันตกหลายชาติ รวมถึงเยอรมนี เรื่องนี้

    "เราไม่ควรเริ่มดำเนินมาตรการคว่ำบาตรอย่างกว้างขว้างโดยทั่วไปแบบไม่เลือกปฏิบัติ เพราะคนที่จะได้รับความเดือดร้อนส่วนใหญ่จะเป็นคนธรรมดาในเมียนมา” เขากล่าว

    รัฐบาลสหรัฐและอังกฤษอยู่ในกลุ่มประเทศที่ประกาศหรือขู่ว่าจะคว่ำบาตรเมียนมาเพื่อตอบโต้การรัฐประหาร แต่จีนใช้แนวทางที่นุ่มนวลกว่า โดยอ้างว่าควรให้ความสำคัญกับเรื่องเสถียรภาพเป็นอันดับแรก แม้ว่าจีนจะเห็นด้วยกับแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางซูจีและคนอื่นๆ ก็ตาม

    สิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมา เป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนที่มีนโยบายไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของชาติสมาชิก แต่อินโดนีเซียและมาเลเซียเรียกร้องให้อาเซียนประชุมวาระพิเศษเพื่อหารือสถานการณ์ในเมียนมา

    เร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย กล่าวที่กรุงจาการ์ตาว่า เมียนมาควรยึดมั่นในเส้นทางสู่ประชาธิปไตย ความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนชาวเมียนมาคือประเด็นหลัก แล้วการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยก็จะก้าวหน้า.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"