ตั้งการ์ดรัดเข็มขัดแน่น!


เพิ่มเพื่อน    

            การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2564 ได้สร้างผลกระทบอย่างมหาศาลให้กับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แม้ว่าขณะนี้จะสามารถผลิตวัคซีนออกมากันบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเลย รวมถึงประเทศไทย ที่ภาครัฐพยายามที่จะออกมาตรการต่างๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจแล้วก็ตาม แต่ก็มีการประมาณการจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า ในปี 2564 นั้น  เศรษฐกิจไทย หรือจีดีพี น่าจะเติบโตได้ในช่วง 2.5-3.5%  หรือเฉลี่ย 3% ต่อปี ต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนที่เคยคาดว่าจีดีพีจะโตได้ 3.5-4.5%

                พร้อมกับยังระบุชัดว่าสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระลอกใหม่ แม้ว่าขณะนี้จะสามารถควบคุมได้ แต่ไตรมาส 1 ปี 2564 ยังมีข้อจำกัดอยู่ โดยได้ปรับสมมุติฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากเดิมที่คาดไว้ว่าปีนี้จะอยู่ที่ 5 ล้านคน ซึ่งหากดูจากการกระจายวัคซีน และสถานการณ์ในประเทศไทยช่วงไตรมาส 1 นี้ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 3.2 ล้านคน โดยจะเข้ามาได้ในช่วงไตรมาส 4

                จากปัจจัยดังกล่าวนั้นยังคงส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัท ฮาคูโฮโด แบงคอก ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคไทยในช่วงเดือน ก.พ.2564 ที่ผ่านมานั้น พบว่า ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ยังคงรัดเข็มขัด ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น อีกทั้งยังเลือกซื้อสินค้าที่สามารถใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ ทำให้มีแนวโน้มการใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาค และเกือบทุกช่วงอายุของประชากรในสังคมไทย

                ซึ่งชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ระบุว่าการใช้จ่ายที่ลดลงนั้น มีปัจจัยมาจากคนไทยมีแนวโน้มระมัดระวังการใช้จ่ายจนกว่าสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจะดีขึ้น โดยแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายอยู่ที่ 54 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ลดลงจาก 57 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อน ในขณะที่คะแนนความสุขในปัจจุบันอยู่ที่ 64 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ลดลงจาก 66 คะแนน ในการสำรวจครั้งก่อน

                นอกจากนี้ยังพบว่า การเลือกซื้อสินค้านั้นยังพบว่าจะต้องสินค้าที่ตอบสนองหลากหลายจุดประสงค์การใช้งาน ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจทั่วประเทศพูดถึงการซื้อสินค้าและบริการที่ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวก แต่ยังช่วยตอบสนองความต้องการอื่นๆ  ในชีวิต เช่น สมาร์ทโฟน (ใช้ทำงานและให้ลูกใช้เรียนออนไลน์) รถยนต์ (สำหรับการพักผ่อนและการทำงาน) ของตกแต่งบ้าน  (เพื่อความสวยงามและความสะดวกสบาย) และยังพบว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสองทำให้คนระวังตัว ต้องการกักตุนสินค้ามากขึ้น และมุ่งใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น

                และเมื่อจำแนกตามภาค พบว่าแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการย้ายถิ่นฐานจากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนาเนื่องจากโควิด และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุมีเพียงช่วงอายุ 20-29 ปีที่มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายคงที่ เนื่องจากต้องการบรรเทาความรู้สึกเบื่อจากการอยู่บ้านเป็นเวลานาน โดยต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม หรือโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ส่วนช่วงอายุอื่นๆ มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายลดลง

            ผลการสำรวจยังพบว่าข่าวการติดเชื้อโควิดระลอกสองในช่วงก่อนวันหยุดปีใหม่ ส่งผลให้มีการกล่าวถึงข่าวโควิดเพิ่มสูงขึ้นจาก 4% ในการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็น 81% ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ ทั้งยังส่งผลให้อารมณ์รื่นเริงของคนไทยในช่วงต้นเดือนธันวาคม กลายเป็นความเงียบเหงาในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จากการห้ามการเฉลิมฉลองในที่สาธารณะ และคนไทยส่วนใหญ่ยกเลิกการเดินทางในประเทศ นอกจากนี้ผลกระทบจากกระแสโควิดทำให้ความร้อนแรงทางการเมือง ซึ่งมีการกล่าวถึงสูงสุดในการสำรวจครั้งก่อนถึง 57% ลดลงเหลือเพียง 3% เท่านั้น.

บุญช่วย  ค้ายาดี

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"