7 หน่วยงานภาคีร่วมลงนาม ‘พัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดมุกดาหาร สร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างบูรณาการ’


เพิ่มเพื่อน    

 

มุกดาหาร/ วันนี้ ( 22 กุมภาพันธ์ 2564)   เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล ร่วมกับวิทยาลัยชุมชนจังหวัดมุกดาหาร  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานสภาเกษตรจังหวัด อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย “การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างบูรณาการ” ณ สวนรุกขชาติห้วยบังอี่  ต.หนองแวง อ.นิคมคำสร้อย โดยมีนายเอกราช  มณีกรรณ์ ปลัดจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานในพิธี และเป็นสักขีพยานในการบันทึกความร่วมมือ

 

โดย 7 หน่วยงาน ตกลงจัดทำข้อตกลงความร่วมมือเพื่อ 1. ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีพัฒนาเป็นการสร้างเครือข่ายข้ามหน่วยงานอย่างยั่งยืน 2.  เพื่อพัฒนาแกนนำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดมุกดาหาร  3. เพื่อพัฒนาการจัดการระบบข้อมูล การจัดการความรู้  การวิจัยพื้นที่รูปธรรมครอบคลุมทุกมิติของการการพัฒนา และ 4. เพื่อร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับจังหวัดและแผนพัฒนาตำบลโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง

 

 

นายเอกราช  มณีกรรณ์ ปลัดจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า การแก้ปัญหาความยากจนจากสาเหตุที่แท้จริง  ภาคส่วนต่างๆ ต้องสร้างความร่วมไม้ร่วมมือ ซึ่งจังหวัดมุกดาหารเล็งเห็นปัญหาความเดือดร้อนจากความยากจน และหาแนวทางมาแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งสอดคล้องกับขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดมุกดาหาร ในการทำงานเริ่มจากข้อมูล โดยทำการสำรวจข้อมูลใช้ฐานข้อมูลจากหลายส่วน  สำรวจแล้วกลไกอำเภอกลั่นกรองข้อมูลจากการสำรวจ  จังหวัดมุกดาหารจะมีการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยจำนวน 50 ครัวเรือน

 

ในส่วนของภาคเกษตร ข้าว มัน อ้อย นอกจากพืชหลักเกษตรกรจะมีพืชชนิดไหนที่ทำให้รายได้ดีขึ้น และจะเพิ่มผลผลิตพืชหลักได้อย่างไร ให้เราเชื่อมั่นว่าผู้บริหารจังหวัด ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะร่วมกันแก้ปัญหา สร้างอาชีพ รายได้ ให้พี่น้องพ้นจากความยากจนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

นายชายสิทธิ์ สุวรรณโชติ  นายอำเภอนิคมคำสร้อย กล่าวว่า การที่เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัด ได้เลือกพื้นที่อำเภอนิคมคำสร้อย จัดงาน “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างบูรณาการ” ก็เพื่อที่จะได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นสู่การจัดการตนเอง เป็นการสร้าง “พลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากฐานราก” เสริมสร้างระบบการพัฒนาที่เข้มแข็งในสังคม ในชุมชน โดยยึดหลักการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

“สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาที่เริ่มจากเจ้าของปัญหาที่จะลุกขึ้นมาแก้ปัญหาด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่ดีและตรงกับความต้องการของชุมชนเอง  ทั้งเรื่องระบบเศรษฐกิจชุมชน สังคม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเกษตรอินทรีย์  อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นความร่วมมือระหว่างชุมชน  ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงที่สำคัญของการพัฒนาจากฐานรากและต่อเนื่อง”  นายอำเภอนิคมคำสร้อยกล่าว

 

นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ

 

นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวว่า การร่วมมือกันแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่เราจะร่วมกันแก้ปัญหานั้น  ยังมีความท้าทายจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นปัจจัยที่ท้าทาย  เราต้องหาจุดร่วมกันแต่ละประเด็น  แต่ละหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น จากการทำวิจัยที่ต่อยอดความรู้เดิม  โดยนำงานวิชาการเข้ามาช่วยวิจัยเก็บข้อมมูล แล้วนำข้อมูลมาวางแผน เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมสู้กับปัญหาที่ท้าทาย

 

“ปัจจัยที่สำคัญคือการบูรณาการหน่วยงาน เป็นทั้งโอกาส ที่ชุมชนได้ร่วมแก้ปัญหา มีส่วนร่วม ราชการเข้ามาร่วมมือกันวางแผน และหนุนเสริมทรัพยากร ปัจจัยที่สาม การสรุปบทเรียน จัดการความรู้ ขยายผลผ่านโซเชียลมีเดีย ให้คนได้รับรู้กระบวนการแก้ปัญหาความยากจน  ทำให้คนมาคุยกันมากขึ้น  เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ก็มีความยินดีที่จะร่วมกันทำงานในครั้งนี้ เราจะก้าวไปพร้อมกันและสร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคม” นายสมชาติกล่าว

 

นายศศิพงษา จันทรสาขา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กล่าวว่า จากการขับเคลื่อนของภาคประชาชน และภาคราชการ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วที่เราขับเคลื่อนการพัฒนา ภาคประชาชนจำเป็นต้องมีภาควิชาการเข้ามาหนุนเสริมเพื่อความเป็นเหตุเป็นผล มีข้อมูลมาช่วยกันเติมเต็ม  โดยเมื่อปี 2563 ได้มีการทำวิจัยฯ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร  เพื่อค้นหาปัญหาความยากจนให้มีความชัดเจน  แม่นยำ และส่งข้อมูลให้กับทาง พมจ. และ พอช.

 

“การแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีการบูรณาการ  วันนี้ถึงเวลาของการรวมตัวจากทีมต่างๆ และพูดภาษาเดียวกัน  และจะยกระดับอำเภอนิคมคำสร้อยนำร่องความร่วมมือไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนมุกดาหารให้สอดคล้องกับบริบทของจังหวัดมุกดาหาร  เราจะให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อตรงเป้าหมายมากที่สุด”  นายศศิพงษากล่าว 

 

 

การลงนามบันทึกความร่วมมือของ 7 หน่วยงาน มีตัวแทนลงนามประกอบด้วย 1. นายบุญเพ็ง ยืนยง ประธานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดมุกดาหาร 2. นายศศิพงษา  จันทรสาขา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร  3.นางสาวเฉลิมศรี ระดากูล ผู้อำนวยการภาค สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4. นางสุพัตรา ไพฑูรย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดมุกดาหาร  5. นางธงชัย โสดา ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมุกดาหาร  6. ดร.พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร 7. นายชายสิทธิ์ สุวรรณโชติ นายอำเภอนิคมคำสร้อย   โดยมีสาระสำคัญความร่วมมือของแต่ละองค์กรที่จะมีบทบาทร่วมกันดังนี้

 

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร มีบทบาทสำคัญในการ 1. การดำเนินการจัดการศึกษาและยกเลิกการจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา สถานประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา องค์กรที่ดำเนินงานวัฒนธรรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐและสถานศึกษาขั้นสูง  หรือสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศหรือต่างประเทศ  2.ใช้หลักสูตรการบริการวิชาการ การฝึกอบรม ประกาศนียบัตร สัมฤทธิบัตรหรืออนุปริญญา ที่มีอยู่หรือพัฒนาใหม่ร่วมกัน 3.บริหารหลักสูตรและการสอนแก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด 4.จัดหาอาจารย์ผู้สอนที่มีคุณสมบัติ ร่วมบริหารและดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน

 

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดมุกดาหาร มีบทบาทสำคัญในการ 1. ร่วมพัฒนาหลักสูตรแกนนำ 44 ตำบล และจัดบุคลากรเข้าร่วมอบรมแกนนำเพื่อการเปลี่ยนแปลง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรภาคีต่างๆ 2.เผยแพร่ ส่งเสริมการแปรแนวคิดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารตลอดจนเผยแพร่สู่สาธารณะ 3.ร่วมปฏิบัติการเรียนรู้ตำบลรูปธรรมความสำเร็จ เช่น สวัสดิการชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบล  เศรษฐกิจและทุนชุมชน การพัฒนาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ  4. ร่วมสอบทาน/ติดตาม/ประเมินผล แบบเสริมพลังสู่การบริหารการจัดการที่ดี

 

 

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดมุกดาหาร มีบทบาทสำคัญในการ 1.บูรณาการและเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ  ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม สนับสนุนให้ชุมชนแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง 2. สนับสนุนงบประมาณภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อหนุนเสริมการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนตามบทบาท  ภารกิจของสำนักงานฯ        3. ขับเคลื่อนการบูรณาการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตผู้ประสบปัญหาทางสังคมเป็นรายครัวเรือนและพัฒนาศักยภาพชุมชน

        

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคะวันออกเฉียงเหนือ มีบทบาทสำคัญในการ  1. สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือแก่ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดมุกดาหารในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดมุกดาหาร 2. สนับสนุนงบประมาณภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อหนุนเสริมการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนตามบทบาทภารกิจของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 3. ประสานงาน  บูรณาการความร่วมร่วมมือกับหน่วยงาน  ภาคีการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น  โดยการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง องค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก     4.ร่วมพัฒนาหลักสูตรแกนนำเพื่อการเปลี่ยนแปลง 44 ตำบล และจัดบุคลากรเข้าร่วมอบรมแกนนำเพื่อการเปลี่ยนแปลง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรภาคีต่างๆ  5. ร่วมสอบทาน/ติดตาม/ประเมินผล แบบเสริมพลังสู่การบริหารการจัดการที่ดี

 

องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร มีบทบาทสำคัญในการ 1. ให้การสนับสนุนข้อมูล บุคลากร และประมาณการค่าใช่จ่ายในการสำรวจเพื่อการซ่อมปรับปรุงบ้านตามโครงการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนด้านที่อยู่อาศัย (บ้านสร้างสุขมุกดาหาร) ตามที่ภาคีเครือข่ายร้องขอ  2. ให้การสนับสนุนบุคลากร และงบประมาณ ในการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างและอื่นๆ สำหรับการก่อสร้างบ้านผู้ยากไร้ตามโครงการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนด้านที่อยู่อาศัย (บ้านสร้างสุขมุกดาหาร) สำหรับโครงการจัดทำเองของ อบจ.  3.ให้การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโครงการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ ที่เป็นตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร มีบทบาทสำคัญในการ 1. บูรณาการการบริหารราชการ การปกครองท้องที่ อำนวยความเป็นธรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในทุกระดับในพื้นที่ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข  2. ส่งเสริมสนับสนุนการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ทุกระดับ โดยผ่านกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน  3.สร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมั่นคงภายในทุกระดับในพื้นที่ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข

 

สภาเกษตรกรจังหวัดมุกดาหาร มีบทบาทสำคัญในการ  1. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัดร่วมกับฝ่ายที่หนึ่ง  2.ประสานนโยบายและการดําเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และสภาองค์กรชุมชนตำบล 3.ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และยุวเกษตรกร ภายใต้พื้นที่การดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในจังหวัด ในรูปแบบต่าง ๆ

 

4. สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและยุวเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืนร่วมกับสภาองค์กรชุมชนในจังหวัด  5.เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม รวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาองค์กรชุมชนในจังหวัดต่อสภาเกษตรกร

 

 

ทั้งนี้ในการจัดงานครั้งนี้ นอกจากมีการลงนามบันทึกความร่วมมือดังกล่าว ยังมีการรายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2563  การจัดเวที ถาม ตอบ สนทนาข้อสงสัยการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างบูรณาการ รวมทั้งพิธีมอบงบประมาณตามโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถของขบวนองค์กรชุมชน โครงการสวัสดิการชุมชน โครงการบ้านพอเพียง โครงการเชื่อมโยงธุรกิจและทุนชุมชนจังหวัดมุกดาหาร  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนอีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากกิจกรรมภาคเวทีเสร็จสิ้นลงตัวแทนภาคีเครือข่ายได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการบ้านพอเพียง นางทอง เบอร์ชัย บ้านหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร และโครงการบ้านสร้างสุขมุกดาหาร เพื่อเยี่ยมเยียนให้กำลังใจชาวบ้านที่รับประโยชน์ และรูปธรรมจากการดำเนินโครงการ  โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนที่เป็นฐานรากในการพัฒนาสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"