กางแผน 'วัคซีนโควิด-19' เปิดไทม์ไลน์คนไทยกลุ่มไหนได้ฉีดก่อน


เพิ่มเพื่อน    

ในที่สุด 'วัคซีนโควิด-19' ก็มาถึงประเทศไทย แบ่งเป็นวัคซีนซิโนแวค จำนวน 200,000 โดส  และวัคซีนแอสตราเซนเนกา  จำนวน 117,000 โดส ซึ่งมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ในเวลา 10 :05 น. ของวันที่ 24 ก.พ.นี้  ซึ่งรัฐบาลไทยพร้อมจัดกิจกรรมรับมอบ “วัคซีนโควิด-19 คืนรอยยิ้ม ประเทศไทย” โดยมีนายกรัฐมนตรีเดินทางไปร่วมรับด้วยที่คลังสินค้าการบินไทยด้วยตัวเอง

ใครได้ฉีดวัคซีนโควิด-19ล็อตแรก

สำหรับวัคซีนดังกล่าวทางศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. วางแผนฉีดให้กับ 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย

1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน

2.บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ

  • โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตร.ม.

3.ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

4.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย

พร้อมทั้งได้มีการจัดสรรตามพื้นที่ซึ่งจะมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, พื้นที่ควบคุม และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด 13 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร จำนวน 7 หมื่นโดส, กทม.(ฝั่งตะวันตก) จำนวน 6.6 หมื่นโดส, ปทุมธานี จำนวน 8 พันโดส, นนทบุรี จำนวน 6 พันโดส, สมุทรปราการ จำนวน 6 พันโดส, ตาก (อ.แม่สอด) จำนวน 5 พันโดส, นครปฐม จำนวน 3.5 พันโดส, สมุทรสงคราม จำนวน 2 พันโดส, ราชบุรี จำนวน 2.5 พันโดส, ชลบุรี จำนวน 4.7 พันโดส, ภูเก็ต จำนวน 4 พันโดส, สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) จำนวน 2.5 พันโดส และ เชียงใหม่ จำนวน 3.5 พันโดส รวม 183,700 โดส และเหลือสำรองสำหรับควบคุมการระบาดและบุคลากรในโรงพยาบาลที่รักษาผุ้ป่วยโควิด-19 จำนวน 16,300 โดส

ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายตามสถานการณ์และบริบท

 

ขั้นตอนการเข้ารับการฉีดวัคซีน

    เพื่อให้การเข้ารับวัคซีน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้วางต้นแบบให้บริการแก่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ จำนวน 8 ขั้นตอน คือ 

  1.     ลงทะเบียน (ทำบัตร) 
  2.     ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต 
  3.     คัดกรอง ซักประวัติ ลงนามใบยินยอมการรับวัคซีน 
  4.     รอรับการฉีดวัคซีน 
  5.     ฉีดวัคซีน 
  6.     พักสังเกตอาการ 30 นาที สแกน Line Official account “หมอพร้อม” ซึ่งทางโรงพยาบาลจะต้องจัดเตรียมห้องปฐมพยาบาล และอุปกรณ์ทางการแพทย์        พร้อมเผื่อผู้ที่มารับวัคซีนมีอาการแพ้ หรือเกิดผลข้างเคียงจะได้ให้การดูแลอย่างทันท่วงที 
  7.     มีจุดตรวจสอบย้อนกลับ พร้อมรับการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน 
  8.     โรงพยาบาลจัดทำประเมินผลความครอบคลุมการฉีดวัคซีน และอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนแล้ว 30 วัน โรงพยาบาลจะติดตามอาการ เพื่อให้แน่ใจ      ว่าทุกคนที่ได้รับวัคซีนไปแล้วปลอดภัยรวมถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรค และจะมีการรับใบนัดฉีดเข็มที่ 2 หลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้วประมาณ 3-4          สัปดาห์

วัคซีนซิโนแวคเหมาะกับใคร

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว อธิบายถึงสาเหตุที่ไม่ควรฉีดวัคซีนของซิโนแวคให้กับคนที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และแนะนำให้ฉีดในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี ว่า "เนื่องจากการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยนั้น ข้อมูลผลการศึกษาการฉีดวัคซีน ซิโนแวต ในผู้มีอายุเกิน 60 ปี ยังมีจำนวนน้อย จากการศึกษาในระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3 มีผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี อยู่เกือบร้อยละ 4

ดังนั้นทางคณะกรรมการ จึงอนุญาตให้ฉีดในภาวะฉุกเฉิน กับผู้ที่มีอายุ 18 ถึง 59 ปี ซึ่งก็เช่นเดียวกัน เหตุผลที่ไม่ให้ฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็เพราะยังไม่มีข้อมูลในการศึกษาในกลุ่มอายุดังกล่าว ในทางปฏิบัติจึงจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ และในอนาคตข้างหน้าเมื่อมีข้อมูลการฉีดในผู้สูงอายุมากเพียงพอ ก็จะขยับการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุต่อไปในวันข้างหน้า หรือในระยะเวลาอันใกล้ มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะขยับอายุขึ้นไป เมื่อมีข้อมูลมากพอ

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า และมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ หรือป่วยเป็นโรคโควิด-19 และเกิดอันตรายได้สูง อย่างเช่นคุณหมอที่จังหวัดมหาสารคาม ก็สามารถให้วัคซีนได้ แต่จะต้องประเมินประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีนมากกว่าอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น โดยแพทย์ต้องแจ้งข้อมูลทั้งหมดให้เจ้าตัวทราบ และหากเจ้าตัวยินดีรับความเสี่ยง ยินยอมที่จะฉีดวัคซีน ก็สามารถทำได้โดยความเห็นส่วนตัว ในระยะเวลาอันใกล้ ข้อมูลการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ ก็จะมีเพิ่มขึ้นและคงจะได้ฉีดกันทุกคน อดใจรอ"

‘บิ๊กตู่’ ได้เข็มแรก 

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมการฉีดวัคซีนให้กับคนไทยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะสามารถฉีดวัคซีนเป็นเข็มแรกของประเทศไทยได้เพราะเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งต้องมีกระบวนการประเมินความเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นขั้นตอนตามวิธีการสากล ไม่ใช่วิธีปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษ

ทั้งนี้นายกฯจะได้รับวัคซีนที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ คือไม่ใช่ซิโนแวค เพราะซิโนแวคมีข้อจำกัดเรื่องอายุ แต่เป็นอีกยี่ห้อหนึ่งคือแอสตร้าเซนเนก้า โดยผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนเป็นผู้จัดหามาให้ก่อน ส่วนจะฉีดเมื่อไหร่นั้น ต้องรอให้ นพ.โสภณ เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด และเมื่อนายกฯฉีดวัคซีนแล้วก็สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ตามปกติ

 

เปิดแผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ประเทศไทย พ.ศ.2564

ซิโนแวค  : วัคซีนของบริษัท ไซโนแวค ไบโอเทค จำนวน 2 ล้านโดส ช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย.64          
                    200,000 โดส   วันที่ 24 ก.พ. 64
                    800,000 โดส   เดือนมี.ค.64
                    1,000,000 โดส เดือนเม.ย.64


แอสตราเซนเนกา :  วัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซเนก้า จำนวน 26 ล้านโดส ช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค.64
                    6,000,000 โดส เดือนมิ.ย.64
                    10,000,000 โดส เดือนก.ค.64
                    10,000,000 โดส เดือนส.ค.64


แอสตราเซนเนกา  : วัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซเนก้า จำนวน 35 ล้านโดส ช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.64
                    10,000,000 โดส เดือนก.ย.64
                    10,000,000 โดส เดือนต.ค.64
                    10,000,000 โดส เดือนพ.ย.64
                    5,000,000 โดส เดือนธ.ค.64

          


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"