รับมือวัยเกษียณ


เพิ่มเพื่อน    

    ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งหมายถึงไทยจะประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ

            โดยจากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รวบรวมสถิติผู้สูงอายุ (นับ 60 ปีขึ้นไป) ใน 77 จังหวัดของไทย ณ วันที่ 31 ธ.ค.2563 พบว่ามีจำนวนถึง 11,627,130 ล้านคน หรือคิดเป็น 17.57% ของประชากรทั้งหมด อีกไม่ถึง 2.5% ไทยก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ

            เมื่อโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไป และเข้าสู่ยุคคนแก่ครองเมือง ปัญหาที่ตามมาย่อมมีมากมาย อาทิ คนทำงานลดลง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน, ด้านการลงทุน และการออมก็จะลดลง เนื่องจากผู้สูงอายุมีรายได้ที่ลดลง ในขณะที่วัยทำงานต้องรับภาระหนักขึ้น ที่สำคัญภาครัฐจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการมากขึ้นเพื่อบริการสังคมทางด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ทำให้การลงทุนและการออมของประเทศลดลง ขณะที่ด้านสังคมก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง, ปัญหาสุขภาพและปัญหาทางด้านจิตใจ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาสังคมตามมา

            ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด นั้นก็คือคุณภาพชีวิตในช่วงหลังเกษียณ หรือบั้นปลาย ซึ่งพบว่าในปัจจุบันคนไทย ยังให้ความสำคัญในเรื่องการออมหลังเกษียณค่อนข้างน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่สามารถทำให้คนไทยสามารถเตรียมความพร้อมในการวางแผนการเงินได้ดี

            ล่าสุด นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ยังเผยแพร่รายงานพิเศษเรื่อง ‘หลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุ : เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น’ โดยระบุว่าไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Completely Aged Society) ในปี 2566 และสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปี 2576 หรือ 12 ปีข้างหน้า แต่การออมในผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอต่อการสร้างความมั่นคงในชีวิต

            ซึ่งประเด็นนี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข และผลักดันให้เกิดการรับมือที่ถูกต้อง โดยสภาพัฒน์ได้เสนอ 2 ประเด็นเร่งด่วนที่ต้องจัดการ คือ 1.การส่งเสริมการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุโดยการสร้างการรับรู้และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงหลักประกันให้สะดวกและรวดเร็ว ทั้งการสมัครและการขอรับสิทธิประโยชน์และทบทวนฐานเงินเดือนสูงสุดในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมและปรับอัตราการออมเพื่อให้แรงงานสามารถออมได้มากขึ้น ขณะที่ภาคประชาชนสามารถเตรียมความพร้อมโดยการเก็บออมได้อีกทางหนึ่งด้วย

            2.การเพิ่มรายได้โดยส่งเสริมการมีรายได้หลังเกษียณและความรู้ทางการเงิน การประกอบอาชีพตามความสามารถของผู้สูงวัย และเพิ่มความรู้ในการบริหารจัดการการเงิน (Financial literacy)

            “เราเคยมีการศึกษาไว้ว่าเงินออมที่พึงมีหลังจากอายุ 60 ปีไปแล้ว ในเขตเมือง ต้องมีเงินออม 4 ล้านบาท เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ต่อไปหลังเกษียณ ส่วนในชนบท ต้องมีเงินออมประมาณ 2.8 ล้านบาท แต่ระบบบำนาญของเรา จะพบว่าคนที่มีรายได้เพียงพอหลังเกษียณไปแล้วอยู่ในระดับไม่ค่อยดีนัก และหากเราไม่ทำอะไรเลย ในอนาคตจะมีคน 14 ล้านคน ที่จะอยู่ได้หรือมีรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุเท่านั้น จึงต้องทำให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบการออม” นายดนุชา กล่าว

            เห็นได้ชัดเจนว่า ถ้าไม่มีการแก้ปัญหาอะไรเลย ในอีกไม่กี่ปีจะมีผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่พอใช้เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"