สสส.ผนึกภาคีจัดโลกผจญภัยของเด็กลดช่องว่างเรียนรู้“แมพปา”


เพิ่มเพื่อน    

         สสส.จับมือ Flock Learning นิตยสาร WAY Base Playhouse และ Text & Title ลดช่องว่างการเรียนรู้ เปิดใช้งาน แมพปา แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์เฉพาะกิจ เด็กเป็นนักผจญภัย ในขณะที่พ่อแม่เป็นคู่หูของเด็ก ชวนพ่อแม่ลูกในจังหวัดสมุทรสาคร 100 ครอบครัว เปลี่ยน บ้าน เป็น ห้องเรียน แก้โจทย์โรงเรียนปิดช่วงโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่

                ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวถึงที่มาของงานนี้ว่า เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 รอบแรกในปี 2563 สถานศึกษาทั่วประเทศต้องปิดชั่วคราว เด็กและครอบครัวต่างได้รับผลกระทบ สสส.และภาคีทั้ง 4 หน่วยงานจึงได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันของเด็กๆ และครอบครัว ชื่อ แมพปา-mappa เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีคิดแบบเกม หรือเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ (gamification for learning) เน้นให้เกิดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กัน เปิดให้ใช้งานตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ผ่านมา

            ในช่วงแรกได้เปิดให้บริการแก่ครอบครัวที่มีลูกเล็กอายุไม่เกิน 8 ขวบจำนวน 1,000 ครอบครัว ต่อมาได้รับการติดต่อจากผู้ปกครองในจังหวัดสมุทรสาครว่าการระบาดรอบใหม่ทำให้เด็กๆ และครอบครัวในจังหวัดได้รับผลกระทบอย่างมากจากการปิดสถานศึกษา อยากให้เพิ่มโควตาสำหรับครอบครัวในจังหวัดสมุทรสาครเป็นการเฉพาะอย่างน้อย 100 ครอบครัว ทีมงานจึงเร่งพัฒนาระบบให้รองรับและเปิดให้ทั้ง 100 ครอบครัวตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา

            ณัฐยากล่าวอีกว่า สสส.เล็งเห็นว่าการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสถานศึกษา จึงสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตามความสะดวก และถ้ายิ่งเรียนรู้ร่วมกันทั้งครอบครัวจะยิ่งเพิ่มความรัก ความอบอุ่นระหว่างสมาชิกครอบครัวด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม ในส่วนของผู้ปกครองต้องรีบปรับตัวตามให้ทัน การสื่อสารในห้องเรียนเพียงทางเดียวอาจไม่เพียงพอ การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่หลากหลาย เชื่อมโยงได้ทั้งโลกออนไลน์และโลกจริง จะช่วยลดช่องว่างของการเรียนรู้ สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตเป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ยิ่งถ้าในอนาคตสามารถทำให้อินเทอร์เน็ตฟรีเกิดขึ้นได้จริง จะยิ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ได้มากขึ้น

                มิรา เวฬุภาค ผู้อำนวยการ Flock Learning ผู้ร่วมก่อตั้ง Mappa กล่าวว่า เกมิฟิเคชั่น (Gamification) เป็นกระบวนการสร้างหรือเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้เกิดความรู้สึกสนุกเหมือนกับเล่นเกม ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้สามารถติดตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เป็นเวลานาน แพลตฟอร์ม mappa จะเป็นตัวช่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเอาความสนุกเป็นตัวนำ ให้เด็กและครอบครัวได้ทำภารกิจร่วมกันเพื่อให้ผ่านด่าน โดยเด็กๆ จะรับบทบาท นักผจญภัย ส่วนผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางจะรับบทบาทเป็น คู่หู ช่วยกันพิชิตภารกิจ ต้องช่วยกันตัดสินใจ ช่วยกันลงมือทำ เช่น ทำอาหาร ทำงานบ้าน อ่านนิทาน ปลูกต้นไม้ ฯลฯ เป็นห้องเรียนออนไลน์ที่มีทั้งความรู้และความสนุก เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้จนจบเกม การเรียนรู้ลักษณะนี้ยังช่วยเป็นตัวอย่างให้กับสถานศึกษาต่างๆ ได้ลองนำไปปรับห้องเรียน จากที่ครูต้องเตรียมการสอนมาสู่การสร้างแรงบันดาลใจหรือความอยากเรียนรู้ให้แก่เด็ก โดยผู้ปกครองหรือคุณครูที่สนใจสามารถสมัครร่วมโครงการได้ที่ www.mappalearning.co หรือเฟซบุ๊ก mappalearning.

 

 

 

โลกออนไลน์ใน www.mappalearning.co

            ใน www.mappalearning.co มีเรื่องราวที่น่าสนใจ เรไรรายวัน “ฉันคิด-ฉันรู้สึก-ฉันเห็น-ฉันนึกว่า” ฝึกลูกเขียนบันทึกง่ายๆ ฉบับเรไรรายวัน อรสา ศรีดาวเรือง บัว คำดี 18 ก.พ.2021 “ความรัก” ที่ไม่มีคำว่ารักสักคำ แต่ชัดเจน

            เราไม่ปฏิเสธว่า คำว่ารักมีความสำคัญ ตรงกันข้าม ยิ่งบอก ยิ่งสื่อสารมากเท่าไหร่ คนฟังย่อมรู้สึกดี ฟุ่มเฟือยไปเถอะสำหรับคำนี้ แต่การกระทำก็สำคัญพอๆ กับคำพูด ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา mappa ได้สนทนากับพ่อแม่ต่างวงการหลายความคิด แต่สิ่งหนึ่งที่เราคิดว่าพวกเขามีเหมือนกันคือ การทำให้ลูกรู้สึกว่าเขามีตัวตน มีค่าและมีความสำคัญ

            ญารินดา บุนนาค แมกซ์ เจนมานะ หมอแพมช่วยอ่าน เดชรัต สุขกำเนิด วิทยากร โสวัตร รศ.ดร.กิตติพงศ์-ผศ.ดร.พิชญ์สินี มะโน

                ญารินดา บุนนาค คุณแม่ลูกสอง “เขาโตไปเป็นเพศอะไร เราก็แฮปปี้กับเขา” แมกซ์ เจนมานะ นักร้อง นักแสดง “ผม respect ลูกในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง” หมอแพม พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี เจ้าของเพจ “หมอแพมชวนอ่าน” “เด็กไม่ใช่ผ้าขาว แต่เป็นผ้าสีพื้น” เดชรัตน สุขกำเนิด คุณพ่อนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ “หน้าที่สำคัญของพ่อแม่คือสังเกตการณ์” วิทยากร โสวัตร นักเขียน เจ้าของร้านหนังสือฟิลาเดเฟีย “เราขอโทษลูกอย่างตรงไปตรงมา พ่อขอโทษ” รศ.ดร.กิติพงศ์-ผศ.ดร.พิชญ์สินี มะโน พ่อแม่ของภูมิ ภูมิปรินทร์ มะโน “ถ้ามันไม่ไหว พ่อแม่อยู่ตรงนี้นะ”

            ญารินดา บุนนาค “นินา” วัย 39 กะรัต นักร้อง นักแสดง พิธีกร สถาปนิกหญิง อาจารย์พิเศษปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ คุณแม่นักออกแบบ Playground สนามเด็กเล่น ศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ รร.มาแตร์เดอี เหรียญทองจากเฮนรีอดัมส์จาก AIA สมรสกับ วิล พาเธรา มีบุตร 2 คน น้องไทร (ชาย) วัย 4 ขวบ น้องอารี (หญิง) วัย 4 เดือน

            “การเล่นต้องเท่าเทียมด้วยสนามเด็กเล่น” ทิพย์วิมล เกียรติวาทีรัตนะ : เรื่อง อนุชิต นิ่มตลุง : ภาพ

            ญารินดา บุนนาค ผลงานเพลงแค่ได้คิดถึง แนวป๊อปร็อก นักออกแบบสนามเด็กเล่นที่สวนรถไฟ ฯลฯ ด้วยความฝันอยากให้เด็กๆ ทุกคนได้เล่นอย่างเท่าเทียมกัน สนามเด็กเล่นมีไว้เล่น ไม่ได้มีไว้เรียน ผ่านการออกแบบให้ปลอดภัยและสนุก และมีความเคารพทุกคนในความเป็นมนุษย์

            การออกแบบเครื่องเล่นต้องคิดถึงการปีน มุด คลาน กระโดด โหนตัวของเด็กๆ จะสนุกมาก แต่ถ้าเป็นงานออกแบบปกติ เราคิดถึงผู้ใหญ่ที่ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกครั้งที่ได้ออกแบบเครื่องเล่นจะมีน้องไทรเป็นคิวซีให้แม่ในพื้นที่สนามเด็กเล่น

            พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย แต่ละคนมีวิธีการเลี้ยงลูกที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เด็กสามารถเข้าใจวิธีการ มีปฏิสัมพันธ์กับคนแต่ละคนในหลายรูปแบบมากขึ้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นแบบเดียว เพราะเด็กต้องออกไป รร.เจอเพื่อนฝูง เจอครู ครูก็มีอีกหลายแบบ เราจะคอนโทรลทุกคนที่เข้ามาในชีวิต เขาให้ interact กับเขาในแบบที่เราอยาก ที่เราชอบในแบบเดียว จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว

            พ่อแม่สมัยนี้โชคดีเพราะมีอินเทอร์เน็ต หลายๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับทารก คำตอบส่วนใหญ่ก็มาจากการอ่านหนังสือหรือค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต เมื่อเข้าไปในอินเทอร์เน็ตจะเห็นว่ามีพ่อแม่อีกมากมายที่ประสบปัญหาเดียวกัน แต่ก็อุ่นใจว่าปัญหาที่มีเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะลูกของเราเท่านั้น

            การที่เด็กไม่ได้เล่น เอาแต่เรียน ย่อมมีพัฒนาการทางสมองไม่น่าจะเติบโตเท่ากับเด็กที่ได้เล่น การเล่นควรเป็น free play เด็กไม่ได้ถูกบังคับว่าจะต้องทำอะไร แต่เด็กสามารถวิ่งไปเด็ดดอกไม้เพื่อมาทำอาหาร หรือเอาก้อนหินมาก่อเป็นปราสาทก็ได้ ญารินดาเล่าว่า เธอเลี้ยงลูกไม่ได้ซื้อของเล่นให้ เพราะลูกชอบของผู้ใหญ่ กระป๋อง ขวดที่บ้าน ช้อนส้อม จริงๆ แล้วเด็กชอบเล่นของผู้ใหญ่ เพราะเขาอยากเป็นผู้ใหญ่ เด็กชอบนำของที่มีอยู่มาประดิษฐ์เป็นของเล่น ที่บ้านจะมีมุมเก็บขยะรีไซเคิลแล้วนำมาประดิษฐ์ด้วยกันเป็นประจำ

            รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา : สัมภาษณ์ อนุชิต นิ่มตลุง : ภาพ

                ชญาน์ทัต วงศ์มณี หรือทอฟฟี่ แบรดชอว์ นักเขียน พิธีกร นักพูด   

            “คำพูดต้องไม่ใช่อากาศธาตุ ถ้าเด็กรู้สึกมีคุณค่า เขาจะกล้าสื่อสาร” คนมักจะบอกว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูด แต่อย่าลืมว่าเก่งแค่ไหนก็ตาม ถ้าคุณสื่อสารไม่เป็น คุณก็จะไม่เก่งเลย คุณต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่าการสื่อสารเป็นอาวุธให้ประสบความสำเร็จได้ ถ้าการสื่อสารคือการส่งต่อเรื่องราวไปพร้อมกับวัตถุประสงค์ “วิธีการสื่อสาร” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย empathy ทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น อาจช่วยคลี่คลายปัญหาเวลาต้องสื่อสารบนภาวะขัดแย้งได้

            "ในยุคนั้นเราไม่ได้รู้ขนาดนี้ว่าโลกนี้มีอาชีพเต็มไปหมดเลย อาชีพที่เรารู้มีแค่หมอ วิศวกร ครู สาเหตุที่ต้องมาเรียนวิทย์ เพราะตอบตัวเองไม่ได้ว่าเรียนศิลป์แล้วทำอาชีพอะไร เหมือนถนนที่คุณต้องเลือก ถ้าเลือกแล้วจะหันหลังกลับไม่ได้อีกแล้วนะ ในชีวิตคนจริงๆ มันไม่ใช่ มนุษย์แต่ละคนมีส่วนผสมที่ประหลาดหลากหลายและไม่เหมือนใคร เราไม่ควรจำกัดอยู่แค่ถนนเส้นใดเส้นหนึ่ง การศึกษาควรช่วยทำให้เราค้นพบสิ่งที่มั่นใจ สิ่งที่เราถนัด ในขณะเดียวกันเราควรที่จะมีความรู้เรื่องอื่นๆ ที่กว้างขวาง เพราะในโลกการทำงานจริง เราไม่ได้ใช้แค่วิชาใดวิชาหนึ่ง ไม่ใช่แค่ว่าจบหมอก็มีความรู้เกี่ยวกับหมออย่างเดียว คุณจบนิเทศศาสตร์ คุณก็สื่อสารได้อย่างเดียว มันคือเรื่องของการหาส่วนผสมที่ประหลาดให้มันเป็นส่วนผสมที่ไม่เหมือนใคร"

            สมัยเรียนมัธยม เขาเคยเป็นเด็กที่ไม่มีความสุข เขากลายเป็นอากาศธาตุของอาจารย์เพียงเพราะเรียนไม่เก่ง “ก่อนเลือกสายการเรียน เราเคยเป็นเด็กเรียนเก่งที่ได้เกรด 4 ตอนนั้นทุกคนสนใจเรา เรารู้สึกอึดอัดกับเนื้อหาที่ไม่ใช่ตัวเอง วันที่เราไม่มีมงกุฎอีกแล้ว เราเปลี่ยนสถานะไปเป็นเด็กที่เรียนไม่เก่ง ทำไมเรากลายเป็นเด็กที่ไม่มีความหมายเลย ไม่มีใครมองเห็นเราเลย”

            “เราจำได้ว่าช่วงเวลาที่เรารู้สึกไม่มีค่า หรือช่วงเวลาที่เรานั่งเรียน เราชอบนั่งแต่งกลอนลงในสมุดฟิสิกส์ นั่งแต่งกลอนว่าวันนี้เบื่ออะไร นั่งแต่งกลอนว่าเพื่อนคนนี้ทำอะไรอยู่ แล้วเราก็พบว่านี่คือความสุขเดียวในห้องที่น่าเบื่อ นั่นแปลว่าการเขียนหรือการสื่อสารคือสิ่งที่เราโหยหา และเราก็เริ่มค้นพบว่าสิ่งนี้มันคือความสุขของเราจริงๆ” รางวัลจากการแต่งกลอนและการเขียนเรียงความวันแม่ของทอฟฟี่ช่วยเติมเต็มความรู้สึกในใจอย่างมาก เขาบอกว่าโมเมนต์นั้นจุดประกายทำให้ตัวเองค้นพบว่า ถึงแม้จะยืนอยู่บนถนนที่ตัวเองไม่เก่ง ไม่ถนัด ไม่ได้แปลว่าเราห่วยทั้งชีวิต ทุกคนมีพื้นที่เป็นของตัวเอง และการศึกษาควรเปิดช่องทางทำให้เด็กทุกคนทดลองและค้นหาพื้นที่ที่เหมาะสม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง มากกว่าการหยิบยื่นเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งโดยที่ไม่มีโอกาสได้เลือกเอง ที่สุดเขาเลือกเรียนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลือกเรียนในสาขาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ตามความสนใจของตัวเอง

 

สถานการณ์การขาดกิจกรรมทางกายในเด็กไทย

                เด็กรุ่นใหม่กำลังขาดกิจกรรมทางกายอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะเด็กในเขตเมือง ปัจจุบันเด็กไทยใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยวันละ 3.1 ชั่วโมง/วัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แถมยังมีภาวะเฉื่อยและเนือยนิ่งมากขึ้น ทำให้มีกิจกรรมทางกายต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ และขาดทักษะในการเข้าสังคม ผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกายระดับประเทศ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่ากลุ่มเด็กไทยมีกิจกรรมทางกายจากร้อยละ 24.9 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 26.4 ในปี 2559 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

            หากพิจารณาจากระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (สะสมอย่างน้อย 60 นาที/วัน) พบว่าค่าระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอยังไม่คงที่นัก เนื่องจากพิจารณาในปี 2557 และ 2558 เพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 27

            หากเด็กได้ออกมาเล่น (Active Play) เด็กจะมีพฤติกรรมที่ดี เสริมสร้างความจำ แก้โจทย์ปัญหาและเรียนได้ดีขึ้น การจัดกิจกรรมทางกายในตารางเรียน ตารางสอน หรือจัดช่วงเวลาและสถานที่ให้เด็กๆ ได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกายในระดับกลางถึงหนัก ช่วยพัฒนาศักยภาพหลายๆ ด้าน ทั้งสมอง ร่างกาย และทักษะด้านอารมณ์ของเด็กๆ ที่สำคัญช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ มีผลการเรียนที่ดีขึ้น

           

คนดีสร้างได้จากการได้เล่นสนุก

เพราะความสุขสร้างความคิดที่เป็นบวก

 

                สนามเด็กเล่นคือ ความสุข สนุก ทำให้สารเอนดอร์ฟิน กลูตาเมต หลั่งเป็นสายเชื่อมโยงเซลล์สมอง ออกซิเจนในเลือด ปอด กล้ามเนื้อ สร้างฝัน สร้างบุคลิกภาพด้วยเอนดอร์ฟิน การคิดริเริ่มเริ่มจากสมองคิดที่จะเล่น ที่จะทดลอง ของเล่นที่ท้าทาย การเล่นที่ท้าทาย เพื่อนที่ท้าทาย สิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย สารเคมีที่สมองสร้างเองจากความสุขที่ได้ทำ ความอิสระที่ได้เรียนรู้ ความสนุกสนานในการเรียน

            จากความคิดบวกมาสู่การทำบวก การจินตนาการสร้างสรรค์ อยากเป็นคนดี อยากสร้างค่าให้ตนเอง เด็กดื้อกลายเป็นเด็กฟังเหตุผล เด็กซนกลายเป็นเด็กมีสมาธิ เด็กร้ายกลายเป็นเด็กมีน้ำใจ เด็กขี้เกียจกลายเป็นเด็กขยันขันอาสา เด็กขี้โกงกลายเป็นเด็กซื่อสัตย์ เด็กโง่กลายเป็นเด็กฉลาด เรียนดี เด็กป่วยกลายเป็นเด็กแข็งแรง เด็กพิการกลายเป็นเด็กไม่พิการ

            เพราะว่าการเล่นคือธรรมชาติของสัตว์โลกทุกชนิด ด้วยดวงจิตที่สุข สร้างสรรค์ฮอร์โมนนานาชนิด ทำให้เลือดดี กระดูกดี หัวใจดี ท้องดี สมองดี นิสัยดี จิตดี กายดี ความประพฤติดี อนาคตจึงดี

                จากหนังสือสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาได้อย่างไร. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"