หนาวแน่!ม.ล.ชัยนิมิตโชว์ประวัติ’ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต’หญิงแกร่งตัวจริงที่ฟ้องราชวงศ์อินเดีย8ปีและชนะมาแล้ว


เพิ่มเพื่อน    

10 มี.ค.2564 -  ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน ทายาท ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน อดีตนักคิดนักเขียนไทย หนึ่งในอดีตนักโทษการเมืองในคดีกบฏบวรเดชโพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาว่า ระโยงข้างบนนี้จะพาคุณไปอ่านเรืองราวการต่อสู้ในศาลอินเดียของหม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต กับราชวงศ์ชัยปุระ เพื่อรักษามรดกราชบุตรราชธิดาของท่านซึ่งเกิดจากเจ้าชายจกัต สิงห์ พระโอรสของมหาราชแห่งแคว้นชัยปุระ ใช้เวลากว่า 8 ปีจึงได้รับชัยชนะ
https://www.dailynews.co.th/foreign/350450

การตัดสินใจต่อสู้กับขบวนการใส่ร้ายป้ายสีสถาบันนี้ถึงจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็ไม่หนักหนาสำหรับสตรีแกร่งท่านนี้ 

บางส่วนคำฟ้องของ​ ม.ร.ว.ปรียนันทนา​ รังสิต​

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ได้วางหลักเกณฑ์การเขียนวิทยานิพนธ์ไว้ว่า “สิ่งที่ควรตระหนักอย่างยิ่งในการเขียนวิทยานิพนธ์ คือ เรื่องจริยธรรม หรือจรรยาบรรณในการวิจัย นิสิตต้องรับผิดชอบในการหารายละเอียดที่ถูกต้องเกี่ยวกับเอกสารและแหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิง การคัดลอกสาระสำคัญของผลงานวิจัย หรือข้อเขียนของผู้อื่นมาใส่ไว้ในวิทยานิพนธ์ของตนเองจะต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลทุกรายการ นอกจากเป็นการให้เครดิตเจ้าของผลงานแล้ว ยังทำให้วิทยานิพนธ์นั้น มีคุณค่าน่าเชื่อถือทางวิชาการมากยิ่งขึ้น” การทำวิทยานิพนธ์มีหลายระดับการศึกษา การทำวิทยานิพนธ์ในระดับดุษฎีบัณฑิต ถือเป็นงานที่มีเกียรติยศสูงสุดในทางวิชาการด้านการศึกษา การทำวิทยานิพนธ์เพื่อจะเป็นดุษฎีอันมีเกียรติ พึงต้องมีความละอายต่อการบิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่ควรสร้างผลงานทางวิชาการด้วยการปั้นแต่งความเท็จเพื่อสนองความต้องการของตนเองอันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรม

การอ้างข้อเท็จจริงอันฝ่าฝืนต่อความจริงของจำเลยที่ 1 ในวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตดังกล่าว เป็นการจงใจนำความเท็จที่ตนเองปั้นแต่งขึ้นเพื่อบิดเบือนประวัติศาสตร์ ให้เป็นข้อเท็จจริงที่มีความน่าเชื่อถือด้วยการอ้างว่าเป็นข้อเท็จที่มีมาก่อนแล้ว เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิชาการที่น่าละอายอย่างยิ่ง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยมีอคติต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการจงใจและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพื่อให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยการกล่าวหาโจมตีผ่านสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ซึ่งในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โดยมุ่งประสงค์ให้ผู้ที่อ่าน หรือผู้ที่พบเห็นข้อความในวิทยานิพนธ์เข้าใจข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ทำให้เกิดความเสื่อมเสียพระเกียรติและวงศ์ตระกูล ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นผู้ไม่นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ฝักใฝ่อำนาจทางการเมือง สนับสนุนการรัฐประหาร กระทำการก้าวก่ายการบริหารราชการของรัฐบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่จริงแต่ประการใด
จำเลยที่ 2 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลักในการทำวิทยานิพนธ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 เป็นอาจารย์ระดับสูง จบการศึกษาระดับปริญญาเอก มีสถานะเป็นรองศาสตราจารย์ ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะนักวิจัยดีเด่น เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และต้องทราบหลักเกณฑ์การเขียนวิทยานิพนธ์ของนิสิตเป็นอย่างดี มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยในระดับมาตรฐานของนักวิชาการในการให้คำปรึกษา เสนอแนะ และตรวจสอบข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ใช้อ้างอิงในการทำฐานะนักวิจัยดีเด่น เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และต้องทราบหลักเกณฑ์การเขียนวิทยานินธ์ของนิสิตเป็นอย่างดี มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยในระดับมาตรฐานของนักวิชาการในการให้คำปรึกษา เสนอแนะ และตรวจสอบข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ใช้อ้างอิงในการทำวิทยานิพนธ์ให้ตรงกับความเป็นจริง เพื่อให้งานวิทยานิพนธ์ในระดับดุษฎีบัณฑิตมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ อันเป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการอ้างอิงแหล่งข้อมูลใดๆ จะต้องเป็นข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งข้อความในวิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 หน้า 63 และ 105 เป็นข้อความสำคัญที่กระทบถึงความมั่นคงขององค์กรหลักของชาติ จำเลยที่ 2 ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก จึงยิ่งต้องมีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังและต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ถูกต้องชัดเจน ซึ่งสามารถตรวจสอบจากเอกสารของจำเลยที่ 1 ได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่เคยมีปรากฏในทางวิชาการมาก่อน การที่จำเลยที่ 2 ไม่ทักท้วงข้อความดังกล่าว จึงเป็นการจงใจและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ทำหน้าที่ให้สมฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่อ้างอิงในวิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 ตามวิสัยของผู้ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลักในการทำวิทยานิพนธ์ ปล่อยปละละเลยให้มีการอนุมัติวิทยานิพนธ์อันมีข้อความเท็จของจำเลยที่ 1 จนในที่สุด มีการห้ามเผยแพร่วิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 ทำให้กระทบถึงเกียรติภูมิความน่าเชื่อถือในมาตรฐานดุษฎีบัณฑิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเกิดความเสียหายในเวลาต่อมา

หลังจากนั้น วิทยานิพนธ์ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียน โดยความร่วมมือและเห็นชอบของจำเลยที่ 2 ได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไป จึงเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ซึ่งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทราบดีว่า วิทยานิพนธ์ที่ผ่านการอนุมัติแล้ว จะได้รับการเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป เมื่อข้อความในวิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ย่อมทำให้เป็นที่เสียหายต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และราชสกุลรังสิต เป็นการจงใจบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยไม่มีโอกาสชี้แจงความเป็นจริงเพื่อปกป้องชื่อเสียงเกียรติคุณของตนเองได้

แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมิได้ดำเนินการเพื่อปกป้องมาตรฐานความน่าเชื่อถือทางวิชาการของสถาบันการศึกษาของจุฬาฯ เอง แต่อย่างใด จนต่อมาเมื่อปี 2562 คณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัย เพียงมีมติให้ระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายบันทึกของบัณฑิตวิทยาลัย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 14

จำเลยที่ 1 ยอมรับว่า ข้อเท็จจริงที่อ้างไม่ตรงตามความเป็นจริง และรับว่าจะแก้ไขให้ตรงตามความเป็นจริง รายละเอียดปรากฏตามหนังสือของจำเลยที่ 1 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15

การยอมรับว่าจะแก้ไขของจำเลยที่ 1 เป็นการอ้างเพื่อให้ยุติการสอบสวนเท่านั้น มิได้มีความจริงใจที่จะแก้ไขข้อความอันฝ่าฝืนความจริงในวิทยานิพนธ์ของตนเอง เนื่องจากวิทยานิพนธ์ได้รับการอนุมัติไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว และข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยแก้ไขหรือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณะแต่อย่างใดเลย กลับปรากฏว่ายังคงอ้างอิงข้อความอันฝ่าฝืนความจริงนั้นต่อสาธารณชนต่อไป โดยไม่มีความละอายในฐานะนักวิชาการแต่อย่างใด โดยยังคงเขียนหนังสือเผยแพร่ข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จออกสู่สาธารณะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 จงใจใส่ร้าย กล่าวหาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และสถาบันพระมหากษัตริย์

จำเลยที่​ 1​ ณัฐพล​ ใจจริง​ 
จำเลยที่​ 2​ กุลลดา​ เกษบุญชู​ มี๊ด​ อาจารย์ที่ปรึกษา
จำเลยที่​ 3​ ชัยธวัช​ ตุลาธน​ (บก.หนังสือ​ ขอฝันใฝ่ฯ)​
จำเลยที่​ 4​ อัญชลี​ มณีโรจน์​ (บก.หนังสือ​ ขุนศึกฯ)​
จำเลยที่​ 6​ ธนาพล​ อิ๋วสกุล​ (บก.ฟ้าเดียวกัน)
https://www.facebook.com/wathin.chatkoon/posts/3003298479948963

ทั้งนี้ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต หลานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้มอบหมายให้ นายสมผล ตระกูลรุ่ง ทนายความ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 5 มี.ค. เพื่อดำเนินคดีต่อนายณัฐพล ใจจริง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้แต่งหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” และ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี”, นางกุลลดา เกษบุญชู มี้ด อดีตอาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล, น.ส.อัญชลี มณีโรจน์ หุ้นส่วนสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน และ นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ในฐานความผิดละเมิดไขข่าวด้วยข้อความฝ่าฝืนความจริง เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาทเมื่อวันที่ 9 มี.ค.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"