ยกระดับSMEผลิตชิ้นส่วน


เพิ่มเพื่อน    

  เอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมถือว่าเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น ได้ส่งผลกระทบกับผู้ประการการเอสเอ็มอีกอย่างมาก ทำให้ภาครัฐ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)  หรือ SME D Bank ได้หาแนวทางช่วยเหลือ ผ่านโครงการสินเชื่อ “เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย”  ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท สนับสนุนให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง สำรองเป็นค่าใช้จ่าย หรือลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยี สนับสนุนการเติบโตสู่ยุคนิวนอร์มอล (New Normal)

                อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ก็มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีบางส่วนที่ปรับตัวเพื่อรองรับกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ เห็นได้จากตัวเลขของ “กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ในปี 2563 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมก็ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ โดยมูลค่าชิ้นส่วนอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยรายเล็กกับบริษัททั้งรายใหญ่และรายเล็กตลอดปีที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 27,440 ล้านบาท แบ่งเป็นการเชื่อมโยงกับผู้ซื้อรายใหญ่ 16,056 ล้านบาท และกับผู้ซื้อ SMEs 11,384 ล้านบาท

                ซึ่งแม้ว่ามูลค่าที่เกิดขึ้นจะไม่มากเท่ากับสถานการณ์ปกติ แต่ต้องถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยสามารถปรับตัวขยายการลงทุนเชื่อมโยงกับผู้ซื้อที่ส่วนใหญ่ถูกปูฐานอย่างแข็งแกร่งอยู่ก่อนแล้ว โดยเห็นได้จากอุตสาหกรรมที่เกิดการเชื่อมโยงส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

                ดังนั้น ต้องถือว่าบีโอไอมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็กที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศได้มีโอกาสเชื่อมโยงกับผู้ซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่จากทั่วโลกมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2535 ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดให้ผู้ซื้อพบผู้ขาย การมีตลาดกลางซื้อขายชิ้นส่วน การจับคู่ธุรกิจการจัดสัมมนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs ไทย

                รวมถึงการนำผู้ประกอบการออกบูธงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการจัดงาน SUBCON Thailand ซึ่งเป็นงานนิทรรศการอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตที่สำคัญระดับภูมิภาค โดยจัดเป็นประจำทุกปี กิจกรรมเหล่านี้ได้สร้างโอกาสทางการตลาดให้ SMEs ผลิตชิ้นส่วนป้อนผู้ประกอบการรายใหญ่ปีละหลายหมื่นล้านบาท

                และผลลัพธ์ของการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทำให้เกิด Win-Win Situation ทั้งด้านผู้ขาย กล่าวคือ เกิดการยกระดับการผลิตชิ้นส่วนของ SMEs ไทย เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างให้ประเทศเป็นฐานซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง ส่วนในด้านผู้ซื้อรายใหญ่ก็ได้ประโยชน์ในด้านช่วยลดต้นทุนโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนทุกสายการผลิต เพราะสามารถหาซัพพลายเออร์ผลิตชิ้นงานได้ในประเทศ เกิดข้อได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจเพราะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่มีซัพพลายเชนไม่แข็งแกร่ง

            อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้ความสำคัญของการส่งเสริมเอสเอ็มอียกระดับปรับธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยียุคใหม่   ดังนั้นหลังจากไทยประสบความสำเร็จในการสร้างฐานซัพพลายเชน ด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนแล้ว ทิศทางจากนี้ไปคือเป้าหมายการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมของบีโอไอ เพื่อขยายไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตมากขึ้น และต้องสอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 รวมถึงการสอดรับกับในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้เพราะเอสเอ็มอีถือเป็นกระดูกสันหลังของระบบเศรษฐกิจ. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"