ผงะ!พบ2คลัสเตอร์‘แคมป์-โรงงาน’


เพิ่มเพื่อน    

 ไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่หล่นมาอยู่ 2 หลักที่ 90 ราย  แต่น่าห่วงหลังพบ 2 คลัสเตอร์ใหม่เป็นแคมป์คนงานที่สมุทรปราการติดโควิด-19 แล้ว 17 ราย และโรงงานย่านพระราม 2 อีก 28 ราย สาธารณสุขยังมั่นใจเอาอยู่ ไม่พบกลุ่มก้อนใหญ่แน่นอน เผยฉีดวัคซีนทั่วประเทศแล้วเหยียบ 7 หมื่นรายยังไม่พบใครแพ้รุนแรง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 90? ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ? 81? ราย โดยมาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 45 ราย? ในจำนวนนี้อยู่ใน กทม. 16? ราย,? สมุทรสาคร? 15? ราย?,? เพชรบุรี? 6? ราย?,? ปทุมธานี? 4? ราย,?? นครปฐม? 2? ราย,?? ราชบุรี? 1? ราย? และสมุทรปราการ? 1? ราย มาจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 36 ราย นอกจากนี้ เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ? 9 ราย ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสม 27,803 ราย หายป่วยสะสม 26,598 ราย อยู่ระหว่างรักษา 1,115 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงที่ 90 ราย
ส่วนที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด-19 และการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ว่าพบการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน (คลัสเตอ) จ.สมุทรปราการ ในแคมป์คนงานพบผู้ติดเชื้อแล้ว 17 ราย โดยผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นเพศหญิง อายุ 29 ปี สัญชาติกัมพูชา เป็นคนงานก่อสร้างในแคมป์ ซึ่งไปตรวจหาเชื้อเพื่อต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ผลยืนยันติดเชื้อโดยไม่มีอาการ จากการสอบสวนโรคจึงไปตรวจหาเชื้อในแคมป์คนงานที่สุขุมวิท 117 ต.บางเมืองใหม่ อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ตรวจไป 600 ราย พบผู้ติดเชื้อ 15 ราย เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ตรวจหาเชื้อ 8 ราย พบติดเชื้อ 1 ราย ในจำนวนเป็นคนไทย 4 ราย, ชาวกัมพูชา 10 ราย และเมียนมา 2 ราย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ซึ่งเป็นข้อสังเกตในการระบาดรอบใหม่ ดังนั้น การค้นหาผู้ติดเชื้อต้องอาศัยการสอบประวัติและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นหลัก
“ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 627 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่แคมป์คนงานสุขุมวิท 117 จำนวน 584 ราย ตรวจแล้วไม่พบเชื้อ, หอพักบางแค 14 ราย ตรวจแล้วไม่พบเชื้อเช่นกัน และกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นวิศวกร 29 ราย ผลตรวจ 23 รายออกแล้วไม่พบเชื้อ ยังอยู่ระหว่างรอผล 6 ราย นอกจากนี้ยังขยายผลการตรวจสอบไปที่แคมป์คนงานก่อสร้างที่ สุขุมวิท 107 ต.สำโรงเหนือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ พบผู้เสี่ยงสูงอีก 593 ราย ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ” นพ.โอภาสกล่าว
นพ.โอภาสกล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่พบคือ แคมป์คนงานส่วนใหญ่มีความแออัด ใช้สิ่งของ ห้องสุขา ห้องอาบน้ำรวมกัน มีพนักงานบางคนฝ่าฝืนมาตรการบริษัทด้วยการสังสรรค์ในพื้นที่เสี่ยง เมื่อติดเชื้อที่ไม่มีอาการ กลับมาที่แคมป์ก็ทำให้ติดเชื้อต่อกันไป ฉะนั้นบริษัทจึงมีความเข้มงวดและมีบทลงโทษตามสมควรแล้ว โดยหลังจากนี้ทีมสอบสวนโรคจะลงพื้นที่ติดตามในแคมป์คนงานอื่นเพิ่มเติม เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงนำสู่การปรับปรุงแก้ไขและเพื่อการเฝ้าระวังเชิงรุกให้มากขึ้นต่อไป แต่ภาพรวมของ จ.สมุทรปราการสามารถควบคุมสถานการณ์ได้รวดเร็ว คาดว่าหากพบผู้ติดเชื้ออีกจะเป็นแบบกระจาย ไม่พบเป็นกลุ่มก้อนใหญ่
นพ.โอภาสกล่าวว่า ในส่วนกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปลายปี 2563 ต่อเนื่องปี 2564 กทม.ได้ตรวจหาผู้ติดเชื้อในพื้นที่ตลาด แต่ยังไม่พบการติดเชื้อ และเพิ่งจะพบในต้นเดือน มี.ค.ในพื้นที่ตลาดบางแค ถือว่าการระบาดเพิ่งเริ่มต้น ยังไม่แพร่กระจายไปมากนัก แม้ว่าการติดเชื้อระยะต้นจำนวนผู้ติดเชื้อเหมือนจะมาก แต่เมื่อลงไปค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน พบว่าการติดเชื้อไม่มากนัก จึงคาดว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยการค้นหาผู้ติดเชื้อในพื้นที่ตลาดบางแค ตรวจไป 4,315 ราย มีผู้ติดเชื้อ 309 ราย คิดเป็น 8.32% หน่วยบริการตรวจรถพระราชทาน 6,293 ราย ติดเชื้อ 26 ราย คิดเป็น 0.6% รอผลอีก 2,108 ราย และการค้นหาเชิงรุกในชุมชนใกล้เคียง 4,886 ราย ติดเชื้อ 49 ราย คิดเป็น 1.08% รอผล 386 ราย โดยผู้ติดเชื้อก็จะเข้าสู่ระบบการรักษาในสถานพยาบาล ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงก็จะได้รับการกักกันโรคและตรวจหาเชื้อต่อไป
“เคสนี้คล้ายกับหลายเหตุการณ์ที่เคยเจอ ไม่ว่าจะที่ตลาดพรพัฒน์ จ.ปทุมธานี ที่จุดใหญ่อยู่ที่ตลาดหลัก และชุมชนโดยรอบเมื่อตรวจหาเชิงรุกแล้วก็จะพบผู้ติดเชื้อน้อยลง ดังนั้น การติดตามผู้สัมผัส ค้นหาผู้ติดเชื้อ ก็จะทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ภายใต้การควบคุม ทั้งนี้ มาตรการของ กทม.ได้ปิดตลาดเพื่อปรับปรุงสุขาภิบาล ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ผู้ค้าในตลาดมากกว่า 3,000 ราย และออกใบรับรองผลการตรวจหาเชื้อให้ผู้ค้า ก่อนอนุญาตให้เข้าขายของในตลาด แม้ว่าการควบคุมสถานการณ์ได้ค่อนข้างเร็ว แต่ไม่ได้แปลว่าทุกอย่างจะจบสมบูรณ์ ยังคงต้องดำเนินมาตรการค้นผู้ติดเชื้อ ปรับปรุงสุขาภิบาล ปรับปรุงตลาดอีกราว 1-2 สัปดาห์” นพ.โอภาสกล่าว
เมื่อถามว่า คลัสเตอร์แคมป์คนงานพบว่ามีกลุ่มเสี่ยงสูงที่หอพักบางแคด้วย ซึ่งคลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้างมีความเชื่อมโยงกับการระบาดที่บางแคหรือไม่ นพ.โอภาสกล่าวว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบสายพันธุ์ว่า มีการติดเชื้อเชื่อมโยงกันหรือไม่ แต่เบื้องต้นเชื้อที่พบในไทยมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ที่พบก็เป็นสายพันธุ์ที่มาจากเมียนมา ที่รับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง โดยคลัสเตอร์นี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ด้าน ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กอัพเดตผลการตรวจเชิงรุกในพื้นที่เขตบางแค กทม. ว่าพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 17 ราย ตรวจเชิงรุกเพิ่มอีก 3,123 ราย รวมตรวจแล้วทั้งสิ้น 15,494 ราย พบผู้ติดเชื้อรวม 384 ราย ไม่ติดเชื้อรวม 12,148 ราย รอผลการตรวจรวม 2,962 ราย
ต่อมาช่วงเย็น นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เผยว่า ตามที่ กทม.พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 ราย เนื่องจากเข้ารับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ได้เร่งขยายผลสอบสวนโรคทันที ซึ่งศูนย์บริการสาธารณสุข 42 ได้ลงพื้นที่สอบสวนโรคที่โรงงานย่านพระราม 2 เขตบางขุนเทียน พบผู้สัมผัสเสี่ยงจำนวน 215 ราย แบ่งเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 37 ราย และผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 178 ราย ตรวจหาเชื้อในผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้ว 37 ราย ทราบผลมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 28 ราย จึงได้กักกัน และแนะนำผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้สังเกตอาการ วัดไข้ทุกวัน  และทำความสะอาดพื้นที่
"ทีมสอบสวนโรคของ กทม.กำลังเร่งรัดติดตามประวัติการเดินทางของผู้ป่วย ค้นหาผู้มีอาการ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำเพิ่มเติม โดยจะลงสอบสวนโรคเพิ่มเติมที่โรงงานและหอพักที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อต่อไป" นายชวินทร์ระบุ
นพ.โอภาสยังกล่าวถึงภาพรวมการฉีดวัคซีนและการบริหารจัดการวัคซีนล็อตใหม่ว่า ข้อมูลล่าสุดตั้งแต่ 28 ก.พ.-20 มี.ค. มีผู้ได้รับวัคซีนสะสมแล้ว 69,927 ราย ประกอบด้วย บุคลากรการแพทย์ สาธารณสุข และ อสม. 32,207 ราย, เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 7,763 ราย, บุคคลที่มีโรคประจำตัว 5,122 ราย, ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1,514 ราย และประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 23,321 ราย
         "ตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการจนถึงวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งยังไม่รวมประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนจากการออกหน่วยให้บริการเคลื่อนที่ของ กทม. ที่ไปฉีดให้อีกกว่า 1,000 ราย รวมยอดผู้รับวัคซีนแล้วน่าจะแตะ 7 หมื่นราย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอาการแพ้ที่รุนแรง และปลอดภัยดี" อธิบดีกรมควบคุมโรคระบุ และกล่าวถึงการบริหารจัดการวัคซีนโควิด ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 20 มี.ค.64 ว่าในส่วนของวัคซีนจากบซิโนแวค สธ.ได้จัดส่งวัคซีนให้แก่จังหวัดเป้าหมายเบื้องต้นครบทั้ง 13 จังหวัด ระยะที่ 1 รอบแรกแล้ว จำนวน 116,520 โดส นอกจากนี้ได้จัดส่งเพิ่มเติมให้กับพื้นที่ กทม. จากการระบาดในย่านตลาดบางแคอีกกว่า 26,640 โดส และที่ จ.สมุทรสาครอีก 34,920 โดส รวมแล้วเป็นจำนวนวัคซีนที่ส่งให้กับพื้นที่ทั้งหมด 178,080 โดส ส่วนวัคซีนจากแอสตราเซเนกานั้น สธ.ได้ส่งให้ จ.สมุทรสาครไปแล้ว 10,000 โดส, นนทบุรี 5,000 โดส, ปทุมธานี 5,000 โดส และสมุทรปราการ 5,000 โดส โดยรวมได้จัดส่งวัคซีนทั้ง 2 ชนิดให้พื้นที่แล้ว 203,080 โดส
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ได้จัดส่งวัคซีนให้แก่จังหวัดเป้าหมายเบื้องต้น ครบทั้ง 13 จังหวัด ระยะที่ 1 รอบแรก ได้แก่ ซิโนแวค 116,520 โดส และแอสตราเซเนกา 10,000 โดส ให้หน่วยบริการใน จ.สมุทรสาครแล้ว ทั้งนี้ ยังมีแผนจัดส่งวัคซีนซิโนแวคให้พื้นที่ กทม.และสมุทรสาครเพิ่มเติม โดยจะได้ติดตามสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศ เพื่อปรับแผนการกระจายวัคซีนให้สอดคล้องกับความจำเป็นในพื้นที่ โดยยังคงเป้าหมายผู้ได้รับวัคซีน 31.5 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 60% ของกลุ่มเป้าหมาย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"