ศาลรับฟ้อง เหยื่อฟอร์ด 308รายเฮ


เพิ่มเพื่อน    

    ศาลแพ่งกรุงเทพใต้รับคดีผู้เสียหาย "ฟอร์ด" เป็นคดีแบบกลุ่มผู้บริโภค นัดฟังคำพิพากษา 28 ก.ย.นี้ ตัวแทนผู้ฟ้องร้องเผยเตรียมเคลื่อนไหวผลักดันตั้งองค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ชี้ สคบ.พึ่งไม่ได้
    เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลนัดฟังคำสั่งคดีแบบกลุ่มผู้บริโภค กรณีเหยื่อรถยนต์ฟอร์ด 308 คน รวมตัวยื่นฟ้องบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย ) จำกัด ในความผิดฐานผลิตรถยนต์ชำรุดบกพร่องออกจำหน่าย 
    นายจิณณะ แย้มอ่วม ทนายความ เปิดเผยว่า จากกรณีผู้ใช้รถยนต์ฟอร์ด รุ่นเฟียสต้า, ฟอร์ด โฟกัส และอีโคสปอร์ต มีปัญหาระบบเกียร์เพาเวอร์ชิป 6 สปีด ที่มีผู้เสียหายรวมตัวกันกว่า 300 ราย ยื่นฟ้องเรียกร้องความเสียหายเกี่ยวกับผู้บริโภคแบบกลุ่ม โดยยื่นฟ้องไปตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2560 ต่อมาบริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำเลยที่ 2 ได้ยอมรับว่าเป็นผู้สั่งซื้อและสั่งผลิตรถดังกล่าว โจทก์จึงถอนฟ้องจำเลยที่ 1, 3, 4 เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดี ซึ่งวันนี้เป็นวันนัดฟังคำสั่ง โดยศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้รับฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่มผู้บริโภค 
    การฟ้องคดีแบบกลุ่มจะมีหลายรูปแบบ เช่น คดีแบบกลุ่มสิ่งแวดล้อม คดีแบบกลุ่มแรงงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งในตอนแรกมีผู้เสียหายกว่า 400 ราย แต่ศาลก็เปิดโอกาสให้มีการไกล่เกลี่ย บางรายไกล่เกลี่ยได้ บางรายก็ออกจากกลุ่มไปจนเหลือผู้เสียหายในคดีผู้บริโภคที่ศาลสั่งรับไว้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม 308 ราย ซึ่งหลังจากศาลมีคำสั่งรับคดีในวันนี้แล้ว ได้กำหนดนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในวันที่ 1 ส.ค.นี้ และให้นัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 30-31 ส.ค.นี้ รวมทั้งยังกำหนดนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 28 ก.ย.นี้
    ด้าน น.ส.ฌนิฏา สุขขวัญ ตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายจากรถยนต์ฟอร์ด ในนาม "กลุ่มเหยื่อรถยนต์" กล่าวว่า พวกตนรอคอยวันนี้หลังจากยื่นฟ้องต่อศาลมานานกว่าหนึ่งปี และรู้สึกดีใจมากที่ศาลได้รับคดีนี้เป็นคดีแบบกลุ่ม เนื่องจากผู้ใช้รถยนต์ฟอร์ดรุ่นเดียวกันในหลายประเทศก็เจอปัญหาแบบเดียวกัน และศาลในต่างประเทศก็รับเป็นคดีแบบกลุ่มแล้ว ซึ่งการต่อสู้ของผู้บริโภคที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า แม้เราจะมีหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐอย่าง สคบ. แต่ผู้บริโภคก็ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างจริงจัง จนเป็นคำถามที่คาใจสมาชิกในกลุ่มมาตลอดว่า สคบ.คุ้มครองใคร ทำให้เราเลิกหวังกับหน่วยงานของรัฐ และหันมาต่อสู้ปกป้องสิทธิของตัวเอง 
    “ที่ผ่านมามีสมาชิกกลุ่มกว่า 100 รายที่ต้องยุติการร่วมฟ้อง เพราะรู้สึกเหนื่อย ท้อ ต้องส่งทั้งค่างวดรถ และจ่ายค่าซ่อมรถ บางส่วนรับภาระไม่ไหว มองไม่เห็นหนทาง จึงต้องขายรถทิ้ง ในการต่อสู้ครั้งนี้ เราไม่ได้สู้เพื่อเหยื่อรถยนต์ฟอร์ดเท่านั้น แต่เรามองถึงการสร้างมาตรฐานให้กับผู้บริโภคทั้งประเทศ ที่ควรจะต่อสู้กับผู้ประกอบการที่เอารัดเอาเปรียบ อย่ากลัวที่จะออกมาเรียกร้อง การที่เราไม่ต่อสู้เลย เท่ากับปล่อยให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาส และหลังจากนี้ ทางกลุ่มเตรียมยกระดับการเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันการตั้งองค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภคของไทยให้เกิดขึ้นจริง หลังระบุไว้ในรัฐธรรมนูญมาร่วม 20 ปี แต่ภาครัฐยังไม่มีการขยับดำเนินการให้เกิดเป็นจริง” นางสาวฌนิฏากล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"