พณ.เบรกจานด่วนขึ้นราคา


เพิ่มเพื่อน    

    “พาณิชย์” แตะเบรก ห้ามร้านอาหารจานด่วนขึ้นราคา ชี้ราคาก๊าซหุงต้มที่ขยับเพิ่มต้นทุนแค่ 20 สตางค์ ขายได้เยอะขึ้นก็ไม่ส่งผลแล้ว! สมาคมขนส่งหัวทิ่ม “ขนส่ง” ให้อยู่นิ่ง “รมว.พลังงาน” เตรียมถก กบง.ใช้เงินกองทุนน้ำมันอุ้มดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรเพื่อรอใช้บี 20 พร้อมให้แจ้งราคาน้ำมันแล้ว 
     เมื่อวันอังคาร นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบของการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ขนาดถัง 15 กก. จาก 353 บาทต่อถัง เป็น 395 บาทต่อถัง หรือปรับเพิ่มขึ้น 42 บาทต่อถัง ว่ากรมได้ศึกษาแล้วว่าส่งผลให้ต้นทุนอาหารปรุงสำเร็จ (จานด่วน) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยแค่ 15-20 สตางค์ต่อจานต่อชาม จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้ประกอบการหรือพ่อค้า-แม่ค้าที่ประกอบอาหารปรุงสำเร็จจะใช้เป็นเหตุผลปรับขึ้นราคา เพราะราคาก๊าซหุงต้มที่เพิ่มขึ้นกระทบต้นทุนน้อยมาก
     นายบุณยฤทธิ์ย้ำว่า การคำนวณพบว่าก๊าซหุงต้ม 1 ถัง สามารถปรุงอาหารได้ 200-300 จาน/ชาม โดยหากขายวันละ 100 ชาม เช่น ก๋วยเตี๋ยว เดิมจะมีต้นทุนก๊าซหุงต้มเดิมอยู่ที่ 1.68 ต่อชาม แต่เมื่อราคาก๊าซเพิ่มเป็น 395 บาทต่อถัง จะมีต้นทุนอยู่ที่ 1.88 บาทต่อชาม หรือเพิ่มขึ้น 20 สตางค์เท่านั้น ซึ่งหากขายได้มากกว่านี้ ต้นทุนต่อหน่วยก็จะลดลงอีก จะเห็นได้ว่าราคาก๊าซหุงต้มที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก ขึ้นแค่หลักสตางค์ จึงไม่ใช่เหตุผลนำมาใช้ปรับขึ้นราคา 
“การปรับขึ้นทีละ 5 บาท โดยอ้างว่าก๊าซหุงต้มแพงไม่ได้ ถือว่าไม่สมเหตุสมผล ซึ่งกรมจะจัดส่งเจ้าหน้าที่สายตรวจออกตรวจสอบราคาจำหน่ายอาหารจานด่วนในท้องตลาด รวมทั้งจะติดตามการจำหน่ายก๊าซหุงต้มอย่างใกล้ชิดด้วย” นายบุณยฤทธิ์กล่าว
     นายบุณยฤทธิ์กล่าวว่า การวิเคราะห์ต้นทุนจากการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะปรับขึ้นราคาค่าขนส่งอีก 5% นั้น พบว่ากระทบราคาขายปลีกสินค้าตั้งแต่ 0.0032-0.4853% โดยสินค้าที่กระทบน้อยสุดคือผ้าอนามัย และสูงสุดคือปูนซีเมนต์ ส่วนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มกระทบตั้งแต่ 0.0178-0.2772% โดยปลากระป๋องได้รับผลกระทบต่ำสุด และนมถั่วเหลืองสูงสุด และกลุ่มปัจจัยการเกษตร เช่น ยาปราบศัตรูพืช กระทบ 0.0848%, ปุ๋ยเคมี กระทบ 0.2452% เป็นต้น จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้ผลิตสินค้าจะใช้เป็นข้ออ้างปรับขึ้นราคาสินค้า 
     “กรมจะหารือกับผู้ผลิตสินค้า หรือซัพพลายเออร์ภายในสัปดาห์นี้หรือต้นสัปดาห์หน้า เพื่อติดตามสถานการณ์ราคาสินค้า หลังจากมีแรงกดดันทั้งการปรับขึ้นค่าขนส่งและการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล โดยจะขอความร่วมมือให้ชะลอการปรับขึ้นราคาสินค้าเอาไว้ก่อน หากต้นทุนไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถรับได้”
     นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า มีสินค้าที่แจ้งขอปรับราคาเข้ามายังสมาคมคือ ข้าวสารบรรจุถุง (5 กก.) โดยขอปรับขึ้นราคาประมาณ 20-30 บาท/ถุง เนื่องจากข้าวเปลือกปรับราคาสูงขึ้น ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ได้แจ้งขอปรับราคาเข้ามา แต่พบว่ามีการปรับลดขนาดสินค้าลง และจำหน่ายในราคาเท่าเดิม ส่วนเรื่องราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้น ขณะนี้ผู้ค้าส่งค้าปลีกก็ใช้วิธีการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน ซึ่งเรื่องของราคาสินค้านั้น เชื่อว่าผู้ผลิตไม่น่าจะปรับราคาขึ้นมาก เพราะเศรษฐกิจยังไม่ดี กำลังซื้อไม่ฟื้น อาจมีผลต่อยอดขายได้ 
เบรกขนส่งห้ามขึ้นราคา
     วันเดียวกัน นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ระบุว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทะลุ 30 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการรถบรรทุกต้องแบกรับภาระต้นทุนด้านพลังงานที่สูงจนเกินไป และที่ผ่านมาไม่เคยปรับขึ้นราคาขนส่งมากว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งจากการประชุมหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการทั่วประเทศเมื่อวันที่ 27 เม.ย. จึงมีมติร่วมกันว่าให้เตรียมชงเรื่องเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอปรับขึ้นราคาค่าขนส่งสินค้าผ่านรถบรรทุก 5% ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนให้กับการขนส่งราว 250 บาทต่อ 100 กิโลเมตร และจะไม่กระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคและวัตถุดิบการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นสัดส่วนไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อต้นทุนรวม โดยเมื่อนำมาคิดราคาเฉลี่ยต่อกิโลกรัมแล้วอยู่ที่ราว 0.0014 บาท ซึ่งยังไม่ถึงครึ่งสตางค์เลยด้วยซ้ำ จึงไม่สามารถนำเหตุผลดังกล่าวมาอ้างกับประชาชนได้ 
     “นอกจากจะเสนอเรื่องปรับขึ้นราคาแล้ว ยังต้องการเสนอให้รัฐบาลนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท นำออกมาพยุงราคาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนควบคู่ไปด้วย โดยตัวเลขที่ผู้ประกอบการมองว่าราคาดีเซลที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 25 บาทต่อลิตร” นายทองอยู่กล่าว 
     นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า ได้แจ้งไปยังสมาคมและสหพันธ์ต่างๆ ให้ชะลอในเรื่องของการปรับอัตราค่าขนส่งก่อน เพราะการศึกษาโครงสร้างราคาอัตราค่าโดยสารอยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างทุกปัจจัยให้ครอบคลุมทุกด้านในอีก 2-3 เดือน จึงต้องรอผลการศึกษาก่อน 
     นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า กระทรวงเตรียมประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เร่งด่วนภายในสัปดาห์นี้ เพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมันด้วยการดูแลเสถียรภาพราคาดีเซลไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะภาคขนส่งทั้งรถบรรทุก รถโดยสารธารณะ และเรือโดยสาร ที่จะไม่ทำให้ต้องปรับขึ้นค่าขนส่งและบริการเพิ่มขึ้น
     นายศิริกล่าวว่า มาตรการระยะสั้นก่อนที่จะเปิดจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซลเกรดพิเศษ หรือบี 20 ซึ่งมีราคาต่ำกว่าบี 7 ประมาณ 3 บาทต่อลิตร ที่จะจำหน่ายให้รถบรรทุกได้ปลายเดือน มิ.ย. หรือต้นเดือน ก.ค.นี้ หากระหว่างนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกยังขยับเพิ่มขึ้นจนทำให้ดีเซลปรับขึ้นเกิน 30 บาทต่อลิตร จะใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีฐานะการเงินสุทธิ 30,505 ล้านบาทนำมาตรึงราคาขายปลีกดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร  และหากใช้บี 20 แล้ว ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นสูงระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งจะมีผลให้ดีเซลเกิน 30 บาทต่อลิตร กระทรวงก็จะใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงช่วยลดภาระให้ ซึ่งมั่นใจว่าฐานะกองทุนที่มีอยู่จะดูแลราคาน้ำมันได้ประมาณ 10 เดือน
ให้แจ้งราคาน้ำมันแล้ว
     “เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันในช่วงขาขึ้น ได้มอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) สามารถแจ้งราคาขายปลีกน้ำมันได้ล่วงหน้าเช่นเดียวกับผู้ค้าน้ำมัน” นายศิริกล่าว
     นายศิริกล่าวถึงราคาแอลพีจีที่มีปรับขึ้นราคาต่อเนื่อง ว่าคงไม่จำเป็นต้องมีมาตรการมาดูแล เนื่องจากประเทศฝั่งตะวันตกกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนที่จะทำให้การใช้แอลพีจีลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ราคาแอลพีจีตลาดโลกปรับตัวลดลงเช่นกัน และเงินกองทุนน้ำมันบัญชีแอลพีจีขณะนี้เหลือเพียง 551 ล้านบาท ซึ่งมีการอุดหนุนแอลพีจีกิโลกรัมละ 2.70 บาทนั้นยังสามารถดูแลราคาได้อีก 2-3 เดือน ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
     นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นยังไม่กระทบกับการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยกระทรวงการคลังยังไม่มีแนวคิดลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง เพราะจะกระทบกับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล 
     ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงานกล่าวว่า ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันอย่างมากจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาดีเซลแตะลิตรละ 30 บาทแล้ว ทั้งที่ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงกว่าบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าตอนนี้ที่อยู่บาร์เรลละกว่า 70 ดอลลาร์ แต่ราคาดีเซลยังต่ำกว่า 30 บาท เพราะรัฐบาลขณะนั้นเห็นใจประชาชนจึงลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันสำหรับน้ำมันดีเซลเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ไปพิจารณาเอาแบบอย่าง 
“อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณาลดการจับเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงเพื่อช่วยเหลือประชาชน เพราะตลอด 4 ปีที่ผ่านมาในเรื่องพลังงาน พล.อ.ประยุทธ์ไม่เคยมีเลย และยังทำให้ทิศทางพลังงานของประเทศสับสนด้วย” นายพิชัยกล่าว
     ส่วนนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ออกแถลงการณ์สมาคมเรื่อง “จี้รัฐบาลเร่งควบคุมราคาน้ำมัน-ก๊าซหุงต้ม หากทำไม่ได้ให้คืนอำนาจประชาชน” โดยระบุว่า ปัญหาเรื่องราคาพลังงานสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลว และความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล, คสช., คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และ รมว.พลังงานโดยตรง ทั้งๆ ที่มีอำนาจอยู่ล้นมือ แต่กลับปล่อยปละละเลย เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนผู้ค้าน้ำมันและก๊าซหุงต้ม โดยผลักภาระให้ประชาชนเท่านั้น
     “รัฐบาลมีเครื่องมือในมือคือกองทุนน้ำมันที่มีอยู่มากกว่า 31,580 ล้านบาท แต่กลับไม่นำมารักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม มีอำนาจอยู่เต็มมือแต่กลับนิ่งเฉย ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนั่งบริหารประเทศอยู่ต่อไป ควรเร่งประกาศคืนอำนาจให้ประชาชน” นายศรีสุวรรณกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"