เตือนภัยกัญชา! เด็กรับโดยไม่รู้ตัว


เพิ่มเพื่อน    

 

วงเสวนาถกใช้กัญชาปลอดภัย เตือนเด็กรับกัญชาโดยไม่รู้ตัวจากอาหาร-น้ำดื่ม หลัง กม.ปลดล็อกใช้ผสมได้ "หมอล่ำซำ" ชี้ผู้ป่วยจิตเวชจากกัญชาพุ่ง 28% อาการรุนแรงหลอนถึงขั้นทำร้ายผู้อื่น พร้อมห่วงกินแล้วขับรถเสี่ยงอุบัติเหตุ แนะรัฐเร่งออกมาตรการคุมเข้มเหมือนเหล้า-บุหรี่ ปรับปรุง พ.ร.บ.จราจรทางบกให้ครอบคลุม

    วันที่ 30 มีนาคม 2564 ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีวิชาการหัวข้อ “กัญชา 360 องศา หมุนรอบตัว ล้อมรั้วให้ปลอดภัย” โดย น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า หลังจากกฎหมายปลดล็อกส่วนของกัญชาและกัญชงออกมาปี 2562 อาจทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมตามมาทั้งด้านบวกและด้านลบ จำเป็นต้องเฝ้าระวัง เพราะเด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนมองไม่เห็นโทษที่ยังมีอยู่ของสาร โดยเฉพาะช่อดอกและเมล็ดกัญชา การแพร่ระบาดของยาเสพติดถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ยังมียาเสพติดจำนวนมากที่ถูกลักลอบเข้าประเทศ โดยเฉพาะยาบ้าและไอซ์ มีแนวโน้มที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
    "แม้ปลดล็อกแล้ว แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมต้องขอขึ้นทะเบียนองค์การอาหารและยา หรือ อย. ส่วนการกินอาหารปรุงสด อยากให้ประเมินความพร้อมทางร่างกายของตนเอง ถ้ามีโรคประจำตัวให้หลีกเลี่ยง หรือต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ข้อกังวล ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสังคมของกัญชาเหมือนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ขาดแนวทางและเครื่องมือตรวจวัดปริมาณกัญชาในร่างกายของผู้ขับขี่ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ใช้กัญชาจากแหล่งผลิตที่ขอขึ้นทะเบียนถูกต้อง และบอกข้อมูลผู้บริโภคที่ถูกต้อง รวมถึงลงในหลักสูตรสถานศึกษา สร้างทักษะป้องกันความเสี่ยง เวทีนี้หาทางออกว่าเราจะใช้กัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ก่อปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ความรุนแรงในครอบครัวตามมา" น.ส.รุ่งอรุณกล่าว
    นพ.ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กล่าวว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ามารับการบำบัดจากกัญชาพบมากที่สุด และมีอาการทางจิตรุนแรง  เพราะผู้ที่สูบกัญชากว่าจะแสดงอาการรุนแรงใช้ระยะเวลานานกว่ายาบ้าหรือไอซ์ จึงเข้าสู่กระบวนการบำบัดช้ากว่าที่ควรจะเป็น จะเป็นอาการหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง และทำร้ายผู้อื่น ปี 2563 มีผู้ป่วยจิตเวชจากกัญชา 18% ปี 2564 ข้อมูล ณ ปัจจุบันเพิ่มเป็น 28% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กัญชาเป็นสารเสพติดที่ต้องเฝ้าระวัง อนาคตจะก่อความรุนแรงในสังคม ปัจจุบันพบว่ากัญชาหาซื้อได้ตามแหล่งโซเชียล และแหล่งที่ผู้เสพรู้เองว่าจะหาได้อย่างไร แม้รัฐบาลจะเร่งจับกุม
    “สถาบันเห็นด้วยกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจประโยชน์ของกัญชาในการรักษาโรค เพราะไม่ใช่ยาวิเศษ กรณีผู้ป่วยต้องการใช้กัญชารักษาโรคต้องปรึกษาแพทย์ การนำมาประกอบอาหารโดยใช้ใบ แม้มีสารมึนเมาต่ำ แต่ปัญหาที่น่ากลัวส่งผลแง่ลบ ภาพลักษณ์กัญชาไม่น่ากลัว โดยเฉพาะเยาวชนอาจทดลองใช้เป็นสารเสพติด อีกข้อห่วงใย ใช้กัญชาเพื่อความมึนเมาแล้วไปขับรถ ในต่างประเทศมีสถิติอุบัติเหตุจราจรจากเมากัญชาสูง ไทยยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลชัดเจน มีข้อแนะนำ ถ้าเสพกัญชาขอเวลา 6 ชั่วโมง ให้สร่างเมาแล้วค่อยขับ ยิ่งถ้าดื่มแอลกอฮอล์แล้วสูบกัญชา ห้ามดื่ม เห็นด้วยกับการปรับปรุง พ.ร.บ.จราจรทางบก ให้ครอบคลุมกัญชาด้วย" นพ.ล่ำซำกล่าว
    ด้าน รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้จัดการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) กล่าวว่า ขณะนี้กระแสการกินกัญชาและนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารใช้บริโภคมีมากขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น อยากทำความเข้าใจว่า การนำกัญชามาเป็นส่วนผสมปรุงในอาหารจะออกฤทธิ์ช้ากว่าการสูบ เนื่องจากปริมาณที่อนุญาตให้มีส่วนสารมึนเมาน้อย กว่าจะออกฤทธิ์ใช้เวลานาน ทำให้ผู้ที่บริโภคในครั้งแรกบางครั้งไม่ได้รู้สึกถึงความเคลิบเคลิ้ม หรือความสุขอย่างที่คิด จึงบริโภคซ้ำไปอีกต่อเนื่อง เมื่อสะสมเรื่อยๆ จะกลายเป็นกินในปริมาณมากเกินไป ดังนั้น ก่อนที่จะกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา ควรต้องรู้ว่าร้านดังกล่าวได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่ นำกัญชามาจากที่ใด เพราะแต่ละสายพันธุ์มีสารเมาไม่เท่ากัน รวมถึงกระบวนการปรุงอาหารแต่ละอย่างอาจทำให้สารเมาออกมาไม่เท่ากัน อีกเรื่องฮิตมาก หยดน้ำมันกัญชาใต้ลิ้นเพื่อรักษาโรค 1 หยด รอสักพักไม่ออกฤทธิ์ หยดต่ออีกหลายหยด ทำให้ได้รับสารเกินขนาด พบความเป็นพิษจากกัญชา
    "ถ้ากินอาหารที่ผสมกัญชาแล้วมีอาการเคลิ้มสูง นอนไม่หลับ พูดเยอะกว่าปกติ นี่คือเมาน้อย แสดงว่าได้รับผลทางจิตประสาทจากสารเมา ความทนต่อสารแต่ละคนไม่เท่ากัน สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มเปราะบาง เช่น เยาวชน ต้องเฝ้าระวังเด็กได้รับกัญชาโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้ใหญ่อาจแช่อาหารและน้ำดื่มที่ผสมกัญชาไว้ในตู้เย็น ในสหรัฐมีการรายงานระบุว่า พบเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เกิดฤทธิ์เป็นพิษหลายพันคน พบในเรซิน คุกกี้ เค้กบราวนี่ จนถึงมวนบุหรี่ใช้ในการสูบ นอกจากนี้ เด็กยังได้รับผลกระทบจากกัญชาจากการรักษาทางการแพทย์ อาการส่วนใหญ่จะเนือยนิ่ง อ่อนแรง เดินเซ ใจสั่น ม่านตาขยาย ฝากเตือนให้ระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย กัญชามีฤทธิ์มึนเมา เมื่อมีการปลดล็อกบางส่วน หากมีมาตรการดูแลการใช้ไม่ให้สารมึนเมามากเกินไปก็จำเป็น หากป้องกันไว้ก่อนประชาชนจะปลอดภัย อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป คนส่วนใหญ่ไม่เชียร์การใช้กัญชาเพื่อสันทนาการเพราะเสี่ยงเสพติด" รศ.พญ.รัศมนกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"