ปปช.สอบ‘สหายแสง’รุกป่า


เพิ่มเพื่อน    

 “สหายแสง” โดนแล้ว ป.ป.ช.ชี้มีมูลรุกป่าเหมือน “ปารีณา” เตรียมชงเข้าที่ประชุมใหญ่กลางเดือน เม.ย. ส่วน “วิรัช” เรื่องฟุตซอลถึงมืออัยการสูงสุด เตรียมรวบอีก 6 สำนวนเข้าด้วยกัน “วิษณุ” การันตีกฎหมายประชามติผ่านแน่ “นิกร” รับสัญญาณบวกหลัง “ลุงตู่” สั่งให้คิดตกผลึก

        เมื่อวันอังคารที่ 31 มีนาคม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภาว่า นายกฯ หมายถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ห่วง แค่จะผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะถึงอย่างไรก็ผ่านอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือถ้าผ่านแล้วไม่ได้เป็นไปตามร่างที่รัฐบาลเสนอไว้ ซึ่งได้พิจารณามาโดยรอบคอบ และหากโหวตแพ้เพียง 4-5 คะแนน ก็เท่ากับแสดงให้เห็นว่าสภาไม่พร้อม
         ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯ ได้กล่าวย้ำในที่ประชุม ครม.ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่าเดินหน้าแก้ไขใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า นายกฯ พูดในที่ประชุม ครม.ว่ารัฐบาลเสนอให้เดินหน้าต่อไป ขอให้ไปคิดแนวทางกันให้ตกผลึก และให้นำกลับมาบอกให้ทราบ
         เมื่อถามว่า หากตกผลึกแล้วรัฐบาลไม่ขัดข้องเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่กล้าแปลเป็นอย่างอื่น เพราะนายกฯ พูดเพียงเท่านี้ พวกคุณก็จ้องกันอยู่เรื่อย
    ขณะที่นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่วมกันของ 3 พรรคร่วมรัฐบาลคือ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.), พรรคภูมิใจไทย (ภท.) และ ชทพ. ในเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ว่าตัวแทนของแต่ละพรรคจะนัดหารือในรายละเอียดช่วงวันที่ 7-8 เม.ย. โดยเบื้องต้นมีความเห็นร่วมกันว่าจะเสนอแก้มาตราที่เป็นปัญหาของประชาชนมากกว่าแก้ปัญหาของฝ่ายการเมือง แต่ยังไม่ลงรายละเอียดว่าจะเสนอแก้มาตราใดบ้าง ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่ควรปลดล็อกร่วมกันคือ แก้ไขมาตรา 256 เพื่อคลายล็อกกรณีต้องใช้เสียงของวุฒิสภา (ส.ว.) ร่วมด้วยในวาระแรกและวาระสาม
    นายนิกรกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ในการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ? พ.ศ.2560 ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกฯ เป็นประธาน ได้ศึกษาเนื้อหาของมาตราในรัฐธรรมนูญที่ควรแก้ไข ดังนั้นจึงควรนำมาพิจารณาและเลือกมาตราที่จำเป็นเร่งด่วน และควรแก้ไขประเด็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น
    เมื่อถามถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวในที่ประชุม ครม. ให้คิดแนวทางแก้รัฐธรรมนูญให้ตกผลึก เป็นสัญญาณที่ดีหรือไม่ นายนิกรกล่าวว่า ?เชื่อว่าจะทำให้แก้รัฐธรรมนูญได้หลายมาตรา และได้เท่าที่จำเป็น
    ส่วนนายวันชัย สอนศิริ ส.ว. ในฐานะเลขานุการคณะ กมธ.วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ..... ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับปรุงเนื้อหา 2 มาตราคือ มาตรา 10 และ 11 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 9 ที่ได้แก้ไขไป ซึ่งเชื่อว่าไม่มีรายละเอียดที่จำกัดสิทธิของประชาชน แต่การปรับปรุงเพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องกับที่รัฐสภาลงมติ และไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 166 และมาตรา 256 ซึ่งในการนัดประชุม กมธ.วันที่ 1 เม.ย. จะนำรายละเอียดที่กฤษฎีกาเสนอพิจารณาถกแถลงเพื่อให้ได้ข้อยุติในชั้น กมธ. เบื้องต้นเชื่อว่าการพิจารณาจะแล้วเสร็จภายใน 1 วัน เพราะมีเนื้อหาพิจารณาเพียง 2 มาตรา ทั้งนี้ ต้องให้สิทธิ กมธ.ทั้ง 49 คนได้อภิปรายและแสดงความเห็น
        เมื่อถามถึงกรณีที่นายวิษณุระบุเป็นสัญญาณว่าร่าง พ.ร.บ.ประชามติจะผ่านวาระสาม นายวันชัยกล่าวว่า ไม่เพียงแค่นายวิษณุเท่านั้น แต่เชื่อว่าทุกคนต้องการให้ผ่านพิจารณา และที่ผ่านมานั้นไม่มีเจตนาจะยื้อหรือดึงเรื่อง ส่วนกรณีที่อาจมีผู้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความหลังผ่านวาระสามนั้น ไม่ทราบว่าจะมีบุคคลใดยื่นเรื่องหรือไม่ แต่มองว่าหากในชั้น กมธ.ตกลงกันได้ และรัฐสภาเห็นร่วมกันก็ไม่น่าเกิดกรณีถูกมองว่าขัดรัฐธรรมนูญ
    นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรค ปชป.ระบุว่า ทางออกหรือจุดจบของ พ.ร.บ.ประชามติน่าจะมีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1.เมื่อพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติในวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะลงมติคว่ำในวาระสาม แต่เป็นไปได้น้อยมาก เพราะ พ.ร.บ.ประชามติเป็นกฎหมายสำคัญที่เสนอโดยรัฐบาล ถ้ากฎหมายถูกคว่ำไป รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง โดยยุบสภาหรือลาออกเท่านั้น 2.เมื่อที่ประชุมรัฐสภาพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเป็นไปได้สูงที่ศาลจะวินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ ทำให้ พ.ร.บ.ประชามติตกไป และมีผลกระทบต่อการทำประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ต้องล่าช้าออกไป และ 3.มีมติผ่านวาระที่สามไปก่อน และเมื่อประกาศใช้แล้วรัฐบาลก็จะรีบเสนอ พ.ร.บ.แก้ไขในทันที ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาแบบศรีธนญชัย ซึ่งจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมอย่างกว้างขวางแน่นอน
“ไม่ว่าแนวทางแก้ปัญหาของ พ.ร.บ.ประชามติฉบับนี้จะออกมาทางไหนก็ตาม ความเสียหายทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นกับรัฐบาลทุกแนวทาง ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะตัดสินใจเลือกแนวทางไหน ที่สร้างความเสียหายทางการเมืองให้รัฐบาลน้อยที่สุด” นายเทพไทประเมิน
    วันเดียวกัน มีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งว่า ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนักการเมืองที่ครอบครองที่ดินบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน เข้าข่ายฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งมีลักษณะคล้ายการครอบครองของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โดยพบว่ามีทั้ง ส.ส., ส.ว., รัฐมนตรี รวมถึงอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย แยกเป็น ส.ส. 33 ราย, ส.ว. 5 ราย, รัฐมนตรี 2 ราย และ สนช. 20 ราย รวม 60 ราย โดยจำนวนดังกล่าวมีทั้งที่มีการร้องเข้ามาและ ป.ป.ช.ตรวจสอบจากบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง และมี ส.ส. 1 รายที่ ป.ป.ช.มีมติแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนเพิ่มเติมไปแล้ว 1 ราย คือ นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2  
“กรณีนี้มีการร้องให้ถอดถอนนายศุภชัยมาตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง? รมช.เกษตรและสหกรณ์? จากกรณีถือครองที่ดิน?ดงพระทาย? จ.นครพนม? จำนวนหลายร้อยไร่? ซึ่งจากการที่อนุกรรมการไต่สวนลงตรวจสอบในพื้นที่แล้ว พบว่ามีข้อมูลทำให้เชื่อได้ว่าเข้าข่ายบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนจริง โดย ป.ป.ช.ได้ให้อนุกรรมการไต่สวนรายงานความคืบหน้าในการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว รวมถึงผู้ถูกร้องรายอื่นๆ ในกรณีที่มีความคืบหน้า เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่ภายใน 2 สัปดาห์นี้ เพื่อให้ที่ประชุมได้ทราบความคืบหน้าเป็นระยะๆ” รายงานระบุ
    นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษก ป.ป.ช.กล่าวถึงความคืบหน้าคดีทุจริตโครงการสร้างสนามฟุตซอล จ.นครราชสีมา ที่มีการชี้มูลนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พปชร.กับพวก ว่าล่าสุด ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนชี้มูลความผิดไปให้อัยการสูงสุด (อสส.) ครบถ้วนทั้ง 6 สำนวนแล้ว ขั้นตอนจากนี้เป็นอำนาจของ อสส.ที่จะดำเนินการสั่งฟ้องหรือไม่ ซึ่ง อสส.ได้ให้ความเห็นไว้ว่าจะบรรยายฟ้องจาก 6 สำนวน รวมให้เป็นสำนวนเดียว
    ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการ?การ?เลือกตั้ง? (กกต.) ?มีมติเห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคมิติใหม่ตามที่เสนอ ก่อนที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ พรรครวมไทยสร้างชาติมีชื่อว่าที่ ร.ท.ไกรภพ นครชัยกุล เป็นหัวหน้าพรรค โลโก้ใช้เครื่องหมายหกเหลี่ยมสีน้ำเงิน มีแถบ 3 เส้นสีทอง ขาว บนเครื่องหมายหกเหลี่ยม และมีตัวอักษรภาษาไทย "พรรครวมไทยสร้างชาติ" อยู่ใต้เครื่องหมาย ขณะที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 169/98 อาคารเสริมทรัพย์ ถนนรัชดาภิเษก ดินแดน กทม. ส่วนพรรคมิติใหม่มีนายวิมล สารมโน เป็นหัวหน้าพรรค และนายปพน วงศ์ตระกูล เป็นเลขาธิการพรรค
    สำนักงาน กกต.ยังได้ออกเอกสารข่าวข้อมูลเรื่องคัดค้านและสำนวนการเลือกตั้งเทศบาล โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. ว่ามีเรื่องคัดค้านและสำนวนการเลือกตั้งเทศบาลทั้งสิ้น 392 เรื่อง แบ่งออกเป็นการเลือกตั้งเทศบาลตำบล 267 เรื่อง, เทศบาลเมือง 101 เรื่อง และเทศบาลนคร 24 เรื่อง โดยเมื่อจำแนกเรื่องคัดค้านและสำนวนการเลือกตั้งตามฐานความผิดมากที่สุด 3 ลำดับคือ ฐานความผิดหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครใด ตามมาตรา 65 (5) จำนวน 130 เรื่อง, ฐานความผิดจัดทำ ให้ เสนอ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด ตามมาตรา 65 (1) จำนวน 102 เรื่อง และฐานความผิดให้ เสนอ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรง หรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด หรือศาสนสถานอื่น สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด ตามมาตรา 65 (2) จำนวน 43 เรื่อง.  
    

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"