'ส.ส.โรม' ยังตะแบง! อ้างรธน.น่าจะทำได้ เรียกปธ.ศาลฎีกาแจงข่าวลือ พริ้วหวังดีภาพลักษณ์ตุลาการ


เพิ่มเพื่อน    

1 เม.ย.64 - นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และโฆษกคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีเสนอให้ กมธ. เชิญประธานศาลฎีกามาชี้แจงข่าวลือ ซึ่ง นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า รัฐสภาไม่สามารถมีอำนาจในการเรียกประธานศาลฎีกา มาชี้แจงได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา 129 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการนั้น

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า กรณีนี้น่าจะทำได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 129 ระบุว่า คณะกรรมาธิการมีอํานาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อํานาจในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล ซึ่งเทียบเคียงกับคดีนี้ ในการเรียกประธานศาลฎีกามาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ก็เพื่อสอบถามต่อความเป็นอิสระของศาล ว่าตกลงแล้วมีบุคลภายนอกแทรกแซงการทำงานของศาลหรือไม่

"เราสามารถเชิญประธานศาลฎีกาตอบคำถามต่อกรรมาธิการตามที่มีข่าวลือได้ และกรณีที่กล่าวว่าข่าวลือ มีน้ำหนักหรือไม่นั้น เหตุที่โฆษกศาลยุติธรรมออกมาชี้แจงนั้นแสดงให้เห็นแล้วว่า ข่าวลือดังกล่าวมีน้ำหนัก ซึ่งการทำให้ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมแบบนี้ ในอนาคตจะทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถืออีกเลย ดังนั้นกรณีดังกล่าวส่วนตัวคิดว่าสามารถทำได้ เพราะไม่เข้าเกณฑ์และกระทบตามมาตรา 129 ที่รัฐธรรมนูญกำหนด"

นายรังสิมันต์ ยังย้ำว่า นี่คือทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบตุลาการจากผู้แทนของประชาชนที่เลือกเข้ามาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ และเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนอย่างดีที่สุด การทำหน้าที่ของเราไม่ได้ต้องการพลิกผลคดี แต่คือความต้องการเห็นการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ในฐานะที่เป็นกรรมาธิการที่ตรวจสอบอำนาจหน้าที่องค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญทุกองค์กร กรณีนี้ศาลเองควรมาชี้แจงต่อประชาชนว่าศาลยังคงเป็นอิสระหรือไม่เป็นอิสระ การตอบคำถามต่อคณะกรรมาธิการ ยังเป็นสิ่งที่ควรจะทำ เพราะจะเป็นการช่วยศาลในรักษาบทบาท อำนาจหน้าที่ฝ่ายตุลาการให้ดีที่สุด ซึ่งหากสามารถชี้แจงได้ดี ก็จะทำให้ประชาชนลดข้อสงสัย แต่หากศาลไม่มาชี้แจง ประชาชนก็ยังคงตั้งข้อกังขาในสังคม

อย่างไรก็ตาม จากที่ประชุมของคณะกรรมาธิการในวันนี้ยังไม่มีบทสรุป เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบถ้วน และทางคณะกรรมาธิการฯ มีข้อสรุปว่าจะมีการส่งหนังสือเพื่อขอความเห็นไปยังฝ่ายกฎหมายของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก่อน ในสองประเด็น คือ ประเด็นแรก เรื่องการที่คณะกรรมาธิการจะเชิญประธานศาลฎีกา มาชี้เเจงทำได้หรือไม่ ส่วนประเด็นต่อมา คือการที่คณะกรรมาธิการจะขอบันทึกการประชุมใหญ่ที่ประชุมศาลฎีกา จะสามารถทำได้หรือไม่

ทั้งนี้ ทางกรรมาธิการฯ จะมีการหารืออีกครั้งในวันพุธ 7 เม.ย.2564 โดยจะทางรอความเห็นของฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตอบหนังสือมาอีกครั้ง เพื่อจะลงมติในคณะกรรมาธิการเพื่อดำเนินการต่อไป ซึ่งหากลงมติเเพ้ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินวิกฤติที่เกิดขึ้นต่อกระบวนการทางยุติธรรม ว่าสภาผู้แทนราษฎรยังมีน้ำหนักในการทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจหน้าที่ตามอำนาจทางรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่

"เราต้องยืนยันหลักการแบ่งอำนาจรัฐธรรมนูญเป็น 3 ส่วน ตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหาร ซึ่งเราสามารถตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลอำนาจกันทั้งสามส่วน สิ่งสำคัญคือเราต้องการตรวจสอบเพื่อลดข้อกังขาของประชาชนต่อกรณีที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระของศาล ชี้แจงความกระจ่างต่อสังคม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบทบาทและภาพลักษณ์ของสถาบันตุลาการอย่างเต็มที่“ นายรังสิมันต์ กล่าวทิ้งท้าย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"