1พค.จองฉีดวัคซีนผ่านหมอพร้อม


เพิ่มเพื่อน    

 “อนุทิน” เชื่อมาตรการลดวันกักตัวกระตุ้นเศรษฐกิจได้แน่ ลงพื้นที่แม่สะเรียง-สบเมยคุมโควิดผู้อพยพ พร้อมหอบวัคซีนฉีด จนท.ชายแดน สธ.เปิดให้จองสิทธิฉีดวัคซีนผ่านแอป-ไลน์ "หมอพร้อม" 1 พ.ค.นี้ เล็งใช้ รพ.สนาม-ห้างสรรพสินค้าบริการประชาชน เร่งพิสูจน์พระวัดสัมพันธวงศ์วัย 70 มรณภาพหลังฉีดวัคซีน

    ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 เมษายน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เปิดเผยสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ 26 ราย โดยเป็นผู้ป่วยในประเทศ 21 ราย ได้แก่ จากการตรวจพบระบบเฝ้าระวังและบริการ 13 ราย ประกอบด้วย กรุงเทพฯ 7 ราย,  สมุทรปราการ 3 ราย และสมุทรสาคร 3 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 8 ราย ใน จ.สมุทรสาคร และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 5 ราย ประกอบด้วย เมียนมา 1 ราย, สวีเดน 1 ราย, เลบานอน 1 ราย, กาตาร์ 1 ราย และนอร์เวย์ 1 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 28,889 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 122 ราย รวมรักษาหายป่วยสะสม 27,548 ราย ผู้ป่วยรักษาอยู่ 1,247 ราย เสียชีวิตคงที่ 94 ราย
    นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงข้อกำหนดผ่อนคลายการลดวันกักตัว ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. ว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่กรมควบคุมโรคเสนอมายัง ศบค. ซึ่งหวังว่าจะมีคนไปท่องเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะที่ จ.ภูเก็ต ที่เราผ่อนคลายมาตรการลดวันกักตัว เพราะวัคซีนล็อตสองจากซิโนแวคจำนวน 8 แสนโดส อัดลงไปที่ จ.ภูเก็ตถึง 1 แสนโดส และ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี อีก 5 หมื่นโดส เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและสร้างความปลอดภัยให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่และผู้อยู่ในธุรกิจให้บริการนักท่องเที่ยว
    อย่างไรก็ตาม การลดวันกักตัวสำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วนั้น จะเน้นในส่วนคนไทยที่ได้รับวัคซีนแล้วและอาจเดินทางไปต่างประเทศ แล้วเดินทางกลับมา ไม่ต้องกักตัวถึง 14 วัน เพราะในส่วนของต่างชาติ ในเรื่องแพลตฟอร์มยังไม่ชัดเจน เช่นที่จะยอมรับว่าวัคซีนยี่ห้อไหน หรือพิสูจน์ว่าฉีดแล้วจริงหรือไม่ แต่ในส่วนของคนไทยมีชัดเจนอยู่แล้ว แค่ยิงคิวอาร์โค้ดปรากฏข้อมูล ส่วนการลดวันกักตัวเหลือ 7 วันนั้น วัตถุประสงค์เพื่อเน้นคนไทยก่อนเช่นกัน เพราะเราสามารถยืนยันอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคลได้ทันที
    นายอนุทินเปิดเผยว่า ในวันที่ 2 เม.ย. จะลงพื้นที่ อ.แม่สะเรียง จ.เชียงใหม่ เพื่อดูแลด้านมนุษยธรรมกับผู้ที่อพยพมาอยู่บริเวณชายแดนว่าเราจะให้ได้แค่ไหน ที่สำคัญต้องปลอดภัยไม่ให้โรคทะลักเข้ามา เบื้องต้นเตรียมโรงพยาบาลของรัฐไว้ หากมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากจะเตรียมโรงพยาบาลสนาม นอกจากนี้ ยังจะนำวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวคไปฉีดให้บุคลากรด่านหน้าตลอดแนวชายแดน ทั้งที่ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน อ.แม่สอด จ.ตาก โดยจะฉีดให้ได้มากที่สุด และขอย้ำว่าเป็นการฉีดให้เจ้าหน้าที่ของเรา ทั้งทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร แพทย์ พยาบาล ประมาณ 2,000 คน ไม่ได้ไปฉีดให้ผู้อพยพ เพราะถึงอย่างไรคนไทยต้องได้รับวัคซีนก่อน
     ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ต้องลงพื้นที่เพราะประเมินว่าการสู้รบจะรุนแรง และจะมีผู้อพยพเข้ามาจำนวนมากใช่หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ถูกต้อง เพราะเราต้องดูความพร้อมของเราด้วย ประเด็นหลักไม่ได้ไปดูแค่ผู้บาดเจ็บเท่านั้น แต่เพื่อควบคุมโรคไม่ให้เขาเอาของฝากเข้ามา อย่างไรก็ตาม ตามหลักมนุษยธรรม ไม่ใช่ผลักดันเขากลับให้ไปรับอันตราย ขณะเดียวกันไม่ให้เข้ามาลึกในเขตแดนของไทย เราจะดูแลตามความฉุกเฉิน
    ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ.   แถลงว่า หลังจากที่ สธ.ประกาศว่า วันที่ 1 เม.ย. จะมีการฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ โดยเป็นวัคซีนจากแอสตราเซเนกา 61 ล้านโดส, ซิโนแวค 2 ล้านโดส ซึ่งจะมาถึงไทยวันที่ 10 เม.ย. อีก 1 ล้านโดส คาดว่าจะฉีดได้ประมาณวันที่ 16-17 เม.ย. ซึ่งเพื่อควบคุมโรค รองรับทางเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลต้องการเปิดประเทศให้เร็วที่สุด จึงต้องทำให้คนในประเทศได้รับการฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 50-60% ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชันหมอพร้อมขึ้นมาให้ดูแลระบบการฉีดวัคซีนอย่างครบวงจร ซึ่งปัจจุบันใช้ฐานของโรงพยาบาลในการฉีด ต่อไปจะใช้ฐานจากโรงพยาบาลสนาม หรือรถเคลื่อนที่ และขณะนี้มีภาคเอกชนหลายแห่งเสนอให้ใช้สถานที่เป็นสนามฉีดวัคซีน เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
    ทั้งนี้ เดือน พ.ค. คาดว่าจะเปิดให้คนลงทะเบียนในแอปฯ หมอพร้อม ในการจองสิทธิ์และนัดหมายฉีดวัคซีนได้ หรือส่วนคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถติดต่อผ่านโรงพยาบาลที่เคยเข้ารับการรักษา และคนที่อยู่ในชนบท ทางโรงพยาบาลประจำตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จะเป็นผู้แนะนำเรื่องลงทะเบียนการฉีดวัคซีนต่อไป นอกจากนี้ ยังมีระบบติดตามอาการหลังฉีด สอบถามอาการผ่านทางแอปฯ และเตือนให้ไปรับวัคซีนเข็มที่ 2 รวมทั้งในแอปฯ ยังแสดงใบรับรองการได้รับวัคซีนดิจิทัลอีกด้วย
    นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี ประธานคณะทำงานด้านระบบข้อมูลการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กล่าวว่า  แอปฯ หมอพร้อมที่พัฒนาขึ้น จะมีการรายงานตัวเลขการฉีดวัคซีนที่กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ แบบเรียลไทม์ และสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับวัคซีน ติดตามอาการหลังฉีด การออกใบรับรองหลังการฉีดวัคซีน ขณะนี้ออกให้แล้ว 3.5 หมื่นราย สำหรับใบรับรองการฉีดวัคซีนให้ผู้เดินทางไปต่างประเทศ จะมีใบรับรองที่เรียกว่า International Travel Health Certificate ขณะนี้กำลังรอความชัดเจนขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยคาดว่า 28 เม.ย.จะมีความชัดเจนขึ้น
    "ที่เราเลือกแอปฯ หมอพร้อม ผ่านทางระบบไลน์ เพราะเห็นว่ามีคนใช้และเข้าถึงระบบไลน์กันมาก ซึ่งในวันที่ 1 พ.ค. แอปฯ หมอพร้อมจะเข้าไปอยู่ในระบบ Play Store ประชาชนสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ เพื่อเตรียมพร้อมกับการฉีดวัคซีน" นพ.พงศธร กล่าว
    นพ.ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า แอปฯ หมอพร้อมที่เป็นระบบรายงานผลแบบอัตโนมัติ  ข้อมูลจากทุกจังหวัด จะถูกส่งเข้ามาที่ส่วนกลาง ทั้งการฉีดเข็มแรกและเข็มที่สอง และมีการรายงานผลของอาการข้างเคียง รวมถึงทุกโรงพยาบาลที่ให้บริการจะเป็นผู้ออกใบรับรองให้ เพียงกรอกเลขบัตรประชาชน ข้อมูลก็จะวิ่งมาที่ สธ. เพื่อยืนยันว่าได้มีการฉีดวัคซีนแล้วจริง ต่อไปจะพัฒนาให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลทุกด้านเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน แต่คงต้องรอสักระยะ
    ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงถึงมาตรการการอำนวยความสะดวกการเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่าในกรณีการลดจำนวนวันกักกันตัวสำหรับผู้ที่มีใบรับรองการรับการฉีดวัคซีนครบถ้วนนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2454 เป็นต้นไป ศบค.จะบังคับใช้มาตรการกักกันตัวรูปแบบใหม่ โดยมีการผ่อนคลายมาตรการการขอเอกสารจากผู้เดินทางเข้าประเทศไทย โดยสำหรับคนไทย ยกเลิกการยื่นเอกสาร fit to fly/travel health certificate และใบตรวจผลโควิดแบบ RT-PCR ส่วนชาวต่างชาติ ยกเลิกการยื่นเอกสาร fit to fly/travel health certificate แต่ยังต้องแสดงใบตรวจผลโควิดแบบ RT-PCR ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง
    ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ประกาศรายชื่อประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์ จำนวน 11 ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ ซิมบับเว โมซัมบิก บอตสวานา แซมเบีย เคนยา รวันดา แคเมอรูน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แทนซาเนีย และกานา โดยรายชื่อประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์จะมีการทบทวนทุกเดือน ส่วนวัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุขไทยรับรอง และได้ขึ้นทะเบียนกับ WHO และสำนักงานองค์การอาหารและยา (อย.) แล้ว มีทั้งสิ้น 7 ชนิด ได้แก่ 1.วัคซีน CoronaVac ของบริษัท Sinovac 2.วัคซีน AZD 1222 ของบริษัท AstraZenaca/Oxford 3.วัคซีน AZD 1222 ของบริษัท Siam Bioscience /AstraZeneca/Oxford 4.วัคซีน Ad26.COV2.S ของบริษัท Johnson & Johnson 5.วัคซีนโทซินาเมแรน (Tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค) 6.วัคซีน Covishield ของ Serum Institute of India 7.วัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna
    วันเดียวกัน นพ.ณรงค์ อภิกุลวาณิช ผู้ตรวจราชการเขต 13 กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีพระสงฆ์วัย 70 ปี วัดสัมพันธวงศ์มรณภาพหลังรับวัคซีนโควิด-19 เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ร่างของพระสงฆ์รูปดังกล่าวถูกนำไปชันสูตรที่โรงพยาบาลตำรวจ รอผลชัดเจนอย่างเป็นทางการแล้วจะนำรายละเอียดของผลดังกล่าวนั้นเข้าสู่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ต่อไปว่า มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการรับวัคซีนหรือไม่ เบื้องต้นไม่ทราบประวัติและรายละเอียดทางสุขภาพของพระรูปดังกล่าว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"