นวัตกรรมแนวคิดMIDLช่วยกระตุ้นเด็กไทยสร้างเมืองปลอดภัยและสร้างสรรค์


เพิ่มเพื่อน    

               สสส.-มหิดลเปิดผลสำรวจการรู้เท่าทันสื่อเด็กไทย 6-12 ปี เผยด้านวิเคราะห์สื่อ-สร้างสรรค์เนื้อหา-ประยุกต์ใช้ อยู่ในเกณฑ์ดีเกิน 70% น่าห่วง เด็กเข้าถึงสื่ออย่างปลอดภัยเพียง 56% ชี้ทุกภาคส่วนต้องผลิตสื่ออย่างรับผิดชอบ ร่วมกระตุ้นเด็กไทยเป็นกำลังสำคัญสร้างเมืองปลอดภัยและสร้างสรรค์ แนวโน้มคนรุ่นใหม่บนโลกดิจิทัลทำงานกับหุ่นยนต์ กระตุ้นเด็กทำงานด้วยความคิดสร้างสรรค์

            สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) จัดงานแถลงผลสำรวจและการเสวนาหัวข้อ ทิศทางการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเด็กไทยวัยเรียนในยุค New Normal ภายใต้โครงการวิจัยการสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของเด็กไทย อายุ 6-12 ปี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

วิทยากรที่นำเสนอเชิงนโยบาย 2563-2564 นำโดย ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล, ญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการ ผอ.สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส., เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผจก.สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน, ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ปรัชญ์ สง่างาม ตัวแทนผู้วิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้แทนจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผอ.สถาบันสังคมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ

            ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. ในฐานะประธานเปิดงานเสวนา กล่าวว่า การรับรู้ข่าวสารของเด็กไทยสร้างความกังวลให้กับผู้ใหญ่ จึงได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายปี 2563-2564 ในการสำรวจและเสวนาหัวข้อ “ทิศทางการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเด็กไทยวัยเรียนในยุค New Normal เป็นความร่วมมือของ 5 หน่วยงาน มีส่วนร่วมในการออกแบบเพื่อให้รู้เท่าทันสื่อด้วยการคิดวิเคราะห์ก่อนเชื่อข้อมูล หน่วยงาน สสส. สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กระทรวงดิจิทัลฯ ภาคีเครือข่าย สำรวจข้อมูล นักวิชาการนำผลเป็นสารตั้งต้นในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เป็นการพัฒนาสุขภาวะในกลุ่มเด็กทั้งด้านกาย จิต สติปัญญา มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างยิ่ง พัฒนาทักษะการรู้เท่าทัน โฟกัสที่ตัวเด็กเป็นพิเศษ

            สื่อเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อสุขภาวะของคนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะยุคสื่อดิจิทัลที่ประชาชนส่วนใหญ่มีบทบาทเป็นทั้งผู้สร้างและผู้รับสื่อ จึงควรปลูกฝังเด็กไทยให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เน้นทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สู่การเป็น พลเมืองดิจิทัล เท่าทันตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม และพัฒนาปัจจัยแวดล้อมทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ ช่องทางสื่อ การสนับสนุนการจัดการความรู้ งานวิชาการ และการพัฒนานโยบาย เพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.ได้สานพลังร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำการสำรวจ โดยใช้นวัตกรรมแนวคิด Media Information and Digital Literacy (MIDL) ว่าด้วยกรอบสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่ 1.เข้าถึงสื่ออย่างปลอดภัย 2.วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมิน 3.สร้างสรรค์เนื้อหา และ 4.ประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคมที่ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญ พร้อมออกแบบและสร้างเครื่องมือในรูปแบบแอนิเมชันสีสันสดใส เข้าใจง่าย เหมาะสมกับพฤติกรรมและความสนใจของเด็ก

                “ความน่าเป็นห่วงคือ การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (Cyberbullying) พบเด็กเป็นทั้งผู้กระทำและเหยื่อจากการถูกกระทำโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการพบเห็นภาพโป๊เปลือย และเว็บไซต์การพนัน สิ่งสำคัญคือ ความใส่ใจของผู้ปกครองในการกำกับดูแลการเข้าใช้สื่อของเด็ก ถือเป็นการสร้างองค์ความรู้และฐานข้อมูลระดับประเทศ เด็กไทยเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ดีถึง 80% นักวิจัยรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาพิษภัยต่างๆ ที่เข้ามาทางสื่อออนไลน์ ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว

                ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การสำรวจสถานการณ์ การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของเด็กไทย อายุ 6-12 ปี ได้ดำเนินการสำรวจผ่านเว็บไซต์ www.midlkids.com ในโรงเรียนทั่วประเทศไทย 63 โรงเรียน มีเด็กนักเรียนเข้าร่วมตอบแบบสำรวจ 2,609 คน พบว่า เด็กช่วงอายุ 6-8 ปี มีคะแนนการรู้เท่าทันสื่อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 73 ส่วนเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี มีคะแนนการรู้เท่าทันสื่อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76 การเข้าถึง MIDL เด็กทั่วไปวัย 6-12 ปีเล่นอินเทอร์เน็ต/วัน 1-2 ชั่วโมง มีการจัดแบ่งเวลาเป็น 35% กลุ่มที่เล่นมากกว่า 4 ชั่วโมง (23%) ส่วนใหญ่เด็กจะเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (88.3%) ผ่านทางคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ก (20.0%) แท็บเล็ต (11.3%) มีกลุ่มที่ไม่ได้เล่นอินเทอร์เน็ต 4.7% ในเมืองไทยผู้ผลิตสื่อไม่ค่อยอิงความเหมาะสมของเด็ก บางรายการเหมาะสมกับเยาวชนทั่วไปที่มีอายุมากกว่า 12 ปี เรื่องการเข้าถึงไม่เป็นปัญหา แต่ contents เด็กวัย 6-12 ปีเป็นปัญหา ในกลุ่มผู้ผลิตใช้ความพยายามในการเข้าถึงอย่างถูกวิธีโดยมีพ่อแม่ดูแลอย่างใกล้ชิด

            การสำรวจถูกแบ่งออกเป็น 4 ด้านตามกรอบสมรรถนะ ได้แก่ ด้านที่ 1 เข้าถึงสื่อ สารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย อยู่ที่ร้อยละ 56 ด้านที่ 2 วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมิน อยู่ที่ร้อยละ 73 ด้านที่ 3 สร้างสรรค์เนื้อหาและข้อมูล อยู่ที่ร้อยละ 86 และด้านที่ 4 ประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลง อยู่ที่ร้อยละ 71 ผลการสำรวจจึงชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยควรได้รับการพัฒนาทักษะการเข้าถึงสื่อ ทุกภาคส่วนจึงควรร่วมกันสนับสนุน ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของเด็กไทย รวมถึงการผลิตสื่ออย่างมีความผิดชอบต่อเด็ก กระตุ้นให้เด็กไทยเกิดความฉลาดทางดิจิทัล สามารถใช้สื่อได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

                เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า ขอชื่นชมในความร่วมมือของหน่วยงานทำวิจัย ถือเป็นครั้งแรกของเมืองไทยในการมองเครื่องมือรู้เท่าทันสื่ออย่างเป็นระบบ ไม่ได้คาดหวังว่าสื่อจะนำไปเสนอเป็นข้อมูลที่น่าตกใจ เด็กไทยถูกบูลลี่มากกว่าเด็กประเทศอื่นๆ เราต้องการนำเสนอวิธีคิด การออกแบบ กระบวนการเป็นเรื่องสำคัญกว่าการมองสังคมทั้งระบบ เพื่อขับเคลื่อนเด็กที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ความพยายามออกแบบเครื่องมือที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบการศึกษา การมองถึงความสามารถของเด็กในอนาคต นำไปสู่การออกแบบสังคมด้วยปัจจัยแวดล้อม การสร้างความสัมพันธ์ความเข้าใจระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้ต้องเตรียมความพร้อมเด็กด้วย เพราะสื่อออนไลน์นับวันก็จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประเทศไทยต้องมีนโยบายและมาตรการที่เป็นองค์รวม ครอบคลุมเด็กและประชาชนทุกช่วงวัยและหลากหลายกลุ่ม และดึงการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ

            ด้วยสถานการณ์ของสื่อเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเลี้ยงดูเด็กสมัยนี้จึงแตกต่างจากเด็กสมัยก่อน ผู้ใหญ่ก็ต้องลองผิดลองถูกไปกับสถานการณ์ ผู้ใหญ่จะสอนจากประสบการณ์เดิมๆ ไม่ได้อีกแล้ว เพราะโลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารที่เคยสอนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย พ่อแม่ก็ต้องแสวงหาความรู้เพื่อสอนลูก ไม่สามารถใช้ความรู้ในชุดเดิมๆ ได้อีกต่อไป พ่อแม่ในยุคดิจิทัลต้องลดอัตตา “ฉันรู้ดีกว่าลูก” เพราะความรู้แบบเดิมๆ ของคุณไม่ทันสมัยแล้ว ต้องเปิดใจกว้าง เปลี่ยนแปลงทัศนคติ มองกระบวนการเรียนรู้ศึกษาพร้อมไปกับลูก เอาตัวรอดให้ได้ในยุคดิจิทัล ท่ามกลางการแข่งขันในกระแสโลก มีสิ่งใหม่ๆ ที่ถาโถมเข้ามา เครื่องมือ MIDL ที่จะต้องรู้เท่าทันโลกดิจิทัล แฝงไปด้วยความหมายที่จะเท่าทันสถานการณ์ มีจริยธรรม มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แม้แต่ใน รร. ครูก็ต้องเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือ ทำให้สังคมออกแบบปัจจัยให้เกิดประโยชน์ในทุกมิติ ทุกชุมชน

            การเผชิญสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ เทคโนโลยีการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ การทำงานที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์ที่ท้าทายความเปลี่ยนแปลง เสมือนหนึ่งเป็นการออกแบบพื้นที่เรียนรู้บนโลกใบใหม่ ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น การใช้เทคโนโลยีบนพื้นที่ versial space มีความหลากหลาย ขณะนี้ในประเทศเกาหลีตั้งหน่วยงาน support เพื่อเตรียมพร้อมครูเข้าสู่โลกดิจิทัล ผลักดันการเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างเต็มตัว

ด้วยนวัตกรรมความรู้ พลเมืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การอยู่ร่วมกันกับคนที่มีความคิดเห็นแตกต่าง มีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ แก้ไขปัญหาเมือง ปัญหาสังคม มองทิศทางวิกฤติในสังคมเป็นเรื่องท้าทาย อยากให้คนมีส่วนร่วมในสังคมด้วย    

            สำหรับการวิจัยครั้งนี้มีที่ปรึกษาเข้าร่วม อาทิ ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผู้อำนวยการสถาบันสังคมศึกษา สพฐ., ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

 (ล้อมกรอบ)

ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

ผู้แทนจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา

 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

                กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์คุยกับ ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชนในการทำงานด้านข้อมูลกับเด็กกลุ่มที่อายุ 13-15 ปี และเด็กกลุ่มอายุ 16-18 ปี เห็นภาพรวมของงานวิจัยเป็นภาพรวมสอดคล้องกับการสำรวจในวันนี้ มีข้อสังเกตว่าพลเมืองในยุคดิจิทัลเห็นเด็กที่เกิดมากับ Digital native คนที่จะต้องอยู่กับเด็กกลุ่มนี้จะอยู่อย่างไรเพื่อเกิดประโยชน์โดยภาพรวม เพื่อเกิดแรงกระเพื่อมในสังคม เรามีบุคลากรเก่งๆ ที่นำเรื่องราวเกี่ยวกับ Digital literacy ที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ยังไม่ได้บูรณาการนำมาเสนอรวมกัน เรามาร่วมกันทำ MOU เพื่อจะปฏิบัติได้เป็นจริง การสร้างหลักสูตรมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำอย่างไรให้บุคลากรมีความเข้าใจด้วย ไม่ใช่แต่เพียงระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ต้องได้รับความร่วมมือเป็นระดับนโยบายก็จะไปได้อย่างดี

            กองทุนสื่อฯ มีงบประมาณ 300 ล้าน แต่มีผู้ขอทุนมากถึง 6,000 ล้านบาท มีคนผิดหวังมากกว่าคนสมหวัง คนทำงานด้านเด็ก เยาวชน ทำงานด้านสื่อเยอะมาก เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่ปัญหาขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แนวโน้มคนที่ทำงานด้านคุณภาพเขาขาดการเชื่อมโยงเข้าหากัน จึงมีความสำคัญที่จะต้องบูรณาการหน่วยงานระดับนโยบาย การสร้างกระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อ เจาะลงไปที่เด็ก การสร้าง mind set ทุกวันนี้ผู้ใหญ่จ้องจัดการ จ้องจับผิดชอบ มองเป็นลบมากกว่าจะให้เกิดการมีส่วนร่วม เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก การเรียนรู้ของเด็กที่ใช้สื่อแต่ละวัน เราต้องฟังเสียงความต้องการของเขา สิ่งเหล่านี้ต้องเปิดใจทั้งสองฝ่าย ผู้ใหญ่และเด็ก มิฉะนั้นจะกลายเป็นความขัดแย้งของ Generation

                สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) : ภาพ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"