แฉล่อซื้อพนักงานบริการไม่แก้ปัญหาค้ามนุษย์


เพิ่มเพื่อน    

มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์จัดเสวนาแฉความล้มเหลวล่อซื้อพนักงานบริการไม่ช่วยแก้ปัญหาค้ามนุษย์

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ แจ้งว่า ในวันที่ 1 มิถุนายน เวลา 10.30-16.00 น.จะมีการจัดเสวนาในหัวข้อ "จับเข่าคุย ล่อซื้อ 10 ปี แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์หรือยัง?" ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยเดือนมิถุนายนถูกจัดให้เป็นสัปดาห์วันต่อต้านการค้ามนุษย์

มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ระบุว่าแม้หลากหลายหน่วยงานจะออกมารณรงค์และทำงานในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยกลับไม่ได้ดีขึ้นเลย โดยเฉพาะนโยบายการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่มีไว้เพื่อปกป้องสิทธิของผู้หญิงแต่ยังมีผู้หญิงจำนวนมากที่ยังถูกจับและได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะนโยบายและแนวทางการ "ล่อซื้อพนักงานบริการ" ที่ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบให้กับพนักงานบริการและครอบครัวเป็นอย่างมาก

มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ระบุว่าการล่อซื้อพนักงานบริการเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามหลังสิทธิมนุษยชน และ ป.วิอาญามาตรา 226 ถือว่าเป็นปฏิบัติการที่ร่วมกระทำความผิด การบุกทลายก็เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการกระทำที่รุนแรงต่อพนักงานบริการ และสร้างผลกระทบต่อพนักงานบริการทั้งหมด ซึ่งในประเทศไทยมีพนักงานบริการประมาณ 3 แสนคน 10 ปีที่ผ่านมาจับผู้เสียหาย 300 คนทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบกับคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยเหตุการณ์การบุกทลายที่นาตาลีอาบอบนวดจับผู้หญิงไป 121 คนได้ผู้เสียหาย 15 คน ล่าสุดที่วิทตอเรีย ซีเคร็ทจับผู้หญิง 113 คน ได้ผู้เสียหาย 8 คน ส่วนคนที่เหลือถูกจับข้อหามั่วสุมในสถานค้าประเวณี

"ในหนึ่งปีพนักงานบริการถูกจับไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน ตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีเพื่อช่วยคนที่ด้อยโอกาส แต่เราเห็นว่าการจับกุมไม่ได้เป็นการให้โอกาสแต่อย่างไร”มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ระบุ

มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ระบุด้วยว่าจากเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ ทำให้เห็นชัดเจนว่า การล่อซื้อและบุกทลาย เป็นการละเมิดสิทธิของพนักงานบริการอย่างมาก  มูลนิธิฯได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรกฎาคม 2560 ประเทศไทยต้องรายงานต่อคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ หรือ ซีดอ (CEDAW) ว่าที่ผ่านมาได้มีการปฏิบัติต่อผู้หญิงในประเทศยังไง ตามอนุสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามไว้ และ เอ็มพาวเวอร์ (EMPOWER Foundation) ได้ทำรายงานคู่ขนานไปยังคณะกรรมการซีดอ(CEDAW)จากเหตุการณ์ร้านนาตาลีกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้คณะกรรมการซีดอได้มีข้อเสนอให้กับรัฐบาลไทยต้องทำตามคือ ให้หยุดการล่อซื้อและบุกทลายทันทีและให้ยกเลิกความผิดการค้าประเวณี ให้ใช้กฎหมายแรงงานเข้ามาคุ้มครองพนักงานบริการ แต่แนวทางดังกล่าวนี้ก็ยังไม่ได้มีการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย

มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ แจ้งด้วยว่า ในการจัดงานวันที่ 1 มิถุนายน นอกจากมีเวทีเสวนาแล้ว ยังมีการจัดฉายภาพยนตร์สั้น "The Last Rescue in Siam" สาวน้อยผจญภัย ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนถึงอุปสรรคที่พนักงานบริการต้องพบเจอในการทำงาน และยังมีนิทรรศการผ้าปัก "มิดะ" ความยาวว่า 5 เมตรจากสองมือของพนักงานบริการที่บอกเล่าความจริงและชะตากรรมที่พนักงานบริการต้องพบเจอและได้รับผลกระทบจากนโนบายการล่อซื้อของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ "ช่วย ไม่ช่วย" โดยพนักงานบริการจากมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ สำหรับกฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านการค้ามนุษย์
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"