'Telemedicine 'เทรนด์แห่งอนาคต 'การรักษาพยาบาล '

ผมว่าก็จะเหมือนช่วงแรกที่คนยังไม่คุ้นกับการซื้อของ ทางลาซาด้า หรือช้อปปี้ ตอนแรกก็คงไม่มั่นใจว่าจะสั่งได้จริงหรือเปล่า แล้วได้ของจริงเหรอ แต่ดูตอนนี้  คนไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สั่งซื้อของทางออนไลน์เป็นทั้งนั้น ซึ่งผมว่าระบบเทเลเมดิซีน ก็จะเป็นในทำนองเดียวกัน ถ้าคนรู้จักและคุ้นกับระบบแล้ว  ก็จะสามารถใช้งานได้อย่างแพร่หลาย  

ดูเหมือนว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหลายๆ ด้าน ไม่ว่าการระบบการทำงานทีบ้าน ที่เรียกว่า  Work From Home ที่นับวันจะขยายตัวและกลายเป็นส่วนหนึ่งที่กลมกลืนกับระบบการทำงานในยุคปัจจุบัน  นอกจากนี้  การใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโนยีและการออนไลน์ ยังขยายไปถึงระบบการรักษาพยาบาล ปรึกษาแพทย์ ที่เรียกว่าพบแพทย์เพื่อรักษาทางไกลหรือเทเลเมดิซีน (telemedicine)  ซึ่งมีการนำมาใช้ในช่วงการระบาดโควิด โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยโควิด ที่รักษาตัวที่บ้านหรือ Home Isolation

อย่างไรก็ตาม  ระบบ  telemedicine  ไม่ได้หยุดแค่การใช้เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิดเท่านั้น  แต่ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำระบบการรีกษาแบบทางไกล มาใช้ในสถานการณ์ปกติอย่างจริงจังอีกด้วย

ล่าสุดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง ที่มีผู้อยู่ในระบบ ประมาณ 48 ล้านคน ได้เปิดบริการทางเลือกให้แก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ป่วยโรคทั่วไปที่ไม่ซับซ้อน 42 กลุ่มอาการโรค สามารถพบแพทย์เพื่อรักษาทางไกลหรือเทเลเมดิซีน (telemedicine) ได้แล้ว ผ่าน 4 แอปพลิเคชันด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 1.แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology(กู๊ด ด็อกเตอร์) โดยจีดีทีคลินิกเวชกรรม 2.แอปพลิเคชัน  Clicknic (คลิกนิก) โดยคลิกนิกเฮลท์คลินิกเวชกรรม3.แอปพลิเคชัน Mordee (หมอดี) โดยชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม และ 4.แอปพลิเคชัน Saluber MD (ซาลูเบอร์ เอ็ม ดี) โดยสุขสบายคลินิกเวชกรรม โดยเบื้องต้นจะนำร่องในพื้นที่ กทม. ก่อน และจะขยายไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดในอนาคตต่อไป ขณะนี้พร้อมให้บริการแล้ว 2 แอปคือ แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology และแอปพลิเคชัน  Clicknic (คลิกนิก)

เนื่องจาก ในช่วงการระบาดของโควิดสปสช. ได้ริเริ่มนำระบบบริการแบบเทเลเมดิซีนมาใช้  และพบว่าการรับบริการมีความสะดวกสบาย ผู้ป่วยไม่ต้องหยุดงาน ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเดินทาง  สามารถพบแพทย์ทางออนไลน์แล้วไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านหรือส่งยาให้ที่บ้านเลย  

“42 อาการโรค เช่น ตาแดง ท้องร่วง ไข้ หวัด อาหารเป็นพิษ กระเพาะลำไส้อักเสบ กล้ามเนื้อ ข้ออักเสบ ลมพิษ ผื่น รวมถึงโรคโควิด-19 กลุ่มสีเขียวหรือกลุ่มที่มีอาการเล็กน้อย ฯลฯ สาระสำคัญคือเป็นโรคที่ไม่มีความซับซ้อนมากและพบได้บ่อย ตอนนี้เราขอนำร่องใน กทม. ก่อน รวมทั้งคนที่มีสิทธิอยู่ในต่างจังหวัดแต่ตัวอยู่ที่ กทม. ก็ใช้บริการได้เช่นกัน บริการนี้เป็นทางเลือกที่มุ่งอำนวยความสะดวก ถือเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน” ทพ.อรรถพร  ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ กล่าว

นพ.สุทธิชัย โชคกิจชัย

ด้าน นพ.สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปฯ Good Doctor กล่าวว่า ระบบการแพทย์ทางไกลเป็นช่องทางที่สามารถนำมาให้บริการผู้ป่วยได้ หลักๆ คือ 1.ผู้ป่วยกลุ่มโรคทั่วไป โรคง่ายๆ เช่น ปวดหัว เป็นไข้ ท้องเสีย ฯลฯ 2.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมอาการได้ดี 3.กลุ่มผู้ป่วย Mental Health เช่น มีอาการเครียด วิตกกังวล และ 4.กลุ่ม Home Care เช่น ผู้ป่วยติดเตียง


“จากที่ Good Doctor ได้เข้ามาร่วมให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งช่วงนั้น โรงพยาบาลรองรับไม่พอ ทำให้ต้องมีการนำเทเลเมติซีนมาใช้ ซึ่งพบว่าช่วยลดภาระโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยพบหมอได้ แบบไม่ต้องเจอตัว “


นับจากสปสช.เปิดตัวระบบเทเลเมดิซีนเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2565  ตอนนี้ Good Doctor เริ่มให้บริการแล้ว มีเวลาทำการ 8.00-17.00 น. นพ.สุทธิชัยอธิบายขั้นตอนการรับบริการก็ง่ายๆ อย่างแรกคือดาวน์โหลดแอปฯ Good Doctor มาติดตั้งในมือถือก่อน เมื่อสมัครใช้งานแอปฯเสร็จ ก็เข้าไปหน้าแรก จะมีแบนเนอร์ “ปรึกษาหมอฟรี ด้วยสิทธิบัตรทอง” หรือ คลิกที่ไอคอน “แพทย์ทั่วไป” ก็ได้ เมื่อกดเข้าไปแล้วก็คลิกคำว่าสิทธิบัตรทอง แล้วยืนยันตัวตน ผ่านไลน์ @nhso จากนั้นก็รอการติดต่อกลับจากทีมงานแล้วเข้าปรึกษาแพทย์ หากแพทย์เห็นว่าต้องสั่งยาก็จะส่งยาให้ถึงบ้านภายใน 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

“ของGood Doctor เราเน้นให้บริการแบบchat ข้อความระหว่างคนไข้ กับหมอ ซึ่งมีข้อดีตรงที่คนไข้ จะเห็นข้อมูลที่ได้ปรึกษากับคุณหมอในช่วงที่ผ่านมา แต่ถ้าหากในกรณีที่คุณหมอพิจารณาแล้ว เห็นว่าควร วีดีโอ คอล กับคนไข้ ก็จะมีการพูดคุยผ่านวีดีโอ คอล “
การเข้าไปใช้บริการระบบต้องรอนานหรือไม่ นพ.สุทธิชัย ยืนยันว่า หลังจากเข้าระบบอย่างถูกต้องและมีการยืนยันตัวตนแล้ว จะใช้เวลานานไม่ถึง 1 นาที  ก็จะได้พูดคุยปรึกษาแพทย์แล้ว ซึ่งทางGood Doctor  มีทั้งแพทย์ประจำและพาร์ทไทม์ ห้บริการ และหากมีจำนวนคนไข้มากขึ้น ก็คาดว่าจะเพิ่มจำนวนแพทย์ให้รองรับเพียงพอ  หากเป็นโรคที่จำเป็นต้องติดตามอาการ ก็จะมีทีมงานโทรติดตามอาการด้วย หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น ก็สามารถแจ้งเข้ามาในไลน์  @gdtt ได้ หากจำเป็นต้องส่งต่อก็จะแนะนำให้ไปใช้สิทธิที่หน่วยบริการตามปกติ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับบริการ สามารถสอบถามรายละเอียดที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-0268778 หรือแอดไลน์ @gdtt

ในระยะเริ่มระบบเทเลเมดิซีนนี้ ยังให้บริการแค่ในพื้นที่กรุงเทพฯ  ถือว่าเป็นการนำร่อง แต่ในอนาคตทางสปสช.คาดว่าจะขยายให้ครอบคลุมทั้งประเทศ  ซึ่ง นพ.สุทธิชัย เชื่อว่าระบบนี้จะเป็นเทรนด์การให้บริการสุขภาพ และเป็นที่ยอมรับในต่างจังหวัด แม้ช่วงแรกอาจจะไม่คุ้นเคยระบบ  แต่เชื่อว่าหากทำความรู้จักได้แล้ว ก็จะเหมือนการสั่งซื้อของทางออนไลน์

“ผมว่าก็จะเหมือนช่วงแรกที่คนยังไม่คุ้นกับการซื้อของ ทางลาซาด้า หรือช้อปปี้ ตอนแรกก็คงไม่มั่นใจว่าจะสั่งได้จริงหรือเปล่า แล้วได้ของจริงเหรอ แต่ดูตอนนี้  คนไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สั่งซื้อของทางออนไลน์เป็นทั้งนั้น ซึ่งผมว่าระบบเทเลเมดิซีน ก็จะเป็นในทำนองเดียวกัน ถ้าคนรู้จักและคุ้นกับระบบแล้ว  ก็จะสามารถใช้งานได้อย่างแพร่หลาย  ซึ่งระบบนี่มีข้อดีลดภาระผู้ป่วยและลดภาระโรงพยาบาลได้จริง และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลได้ไม่ต่ำกว่า 50 %ในต่างประเทศโดยแฉพาะระบบประกันนิยมใช้กันมาก เพราะค่าใช้จ่ายถูกกว่า  ผมจึงอยากสนับสนุน สปสช. ในเรื่องนี้ และมองว่าการดูแลรักษาโรคNCD หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถ้าคนไข้มีอาการคงที่ ควรจะเป็นการใช้ระบบเทเลเมดิซีนทั้งหมด ปรึกษาคุณหมอทางไกลแล้ว ก็รับยา หรือทางรพ.จะส่งยาให้ที่บ้าน  “นพ.สุทธิชัยกล่าว

นีล นิลวิเชียร

แอปพลิเคชัน Clicknic เป็นอีกระบบเทเลมเมดิซีนที่นำมาใช้ก่อน นีล นิลวิเชียร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คลิกนิกเฮลท์ จำกัด ผู้ให้บริการการเทเลเมดิซีนผ่านแอปพลิเคชัน Clicknic กล่าวว่า  เริ่มนำระบบเทเลเมดิซีนมาใช้จริงจังช่วงระบาดของโโควิด-19 ทำให้เห็นว่ายังมีคนกลุ่มใหญ่มากที่มีความต้องการใช้บริการเทเลเมดิซีน และเมื่อรับบริการแล้วพบว่ามีความพึงพอใจ มีการใช้ซ้ำและบอกต่อ ทาง Clicknic จึงมองว่าน่าจะขยายการให้บริการมายังโรคทั่วไป ประกอบกับ สปสช.ก็มีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าอยากให้บริการโรคทั่วไปด้วย จึงเกิดความร่วมมือในการให้บริการด้วยกัน

สำหรับขั้นตอนการรับบริการนั้น ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดแอปฯ Clicknic มาติดตั้งในมือถือก่อน เมื่อเข้าไปในแอปฯแล้วจะมีแบนเนอร์ “ผู้ป่วยกลุ่มโรคทั่วไป (สปสช.)” เมื่อคลิกเข้าไปจะมีช่องบันทึกข้อความสำหรับระบุที่อยู่และสถานที่จัดส่งยา พร้อมระบุอาการ รวมทั้งระบุข้อมูลสุขภาพ เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก และยังสามารถใช้เทคโนโลยีตรวจสัญญาณสุขภาพผ่านกล้องมือถือ เพื่อให้แพทย์มีข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการรักษาได้ด้วย เมื่อกรอกข้อมูลทั้งหมดเสร็จแล้วให้กด “เริ่มขอคำปรึกษา” จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิและส่งเคสให้แพทย์ทำการติดต่อกลับ ใช้เวลารอ 10-30 นาที และหากมีการสั่งจ่ายยา ก็จะส่งไปให้ที่บ้านหรือผู้ป่วยไปรับที่ร้านยาใกล้บ้านก็ได้ ทั้งนี้หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไลน์ไอดี @Clicknic  โดยคลิกนิก จะมีแพทย์ที่เป็นแพทย์ประจำ และแพทย์พาร์ทไทม์คอยให้บริการ

ก่ารวิดีโอคอลกับผู้ป่วยของคลิกนิก


“การให้บริการคลิกนิก เราเน้นVDO Call ทั้งหมด เพราะต้องการเห็นสีหน้า ท่าทางของคนไข้ ซึ่งจะทำให้การประเมินอาการและการรักษาง่าย ส่วนการส่งยา เรามีเครือขายไรเดอร์  ในการส่งยาไม่เกิน 8-10 ชัวโมงก็ถึงผู้รับแล้่ว “


มุมมอง เทเลเมดิซีน กับประเทศไทย จะเป็นอย่างไร   นีลบอกว่า ระบบนี้จะเหมาะกับประเทศไทยมาก ซึ่งในแง่ไทมมิ่งถือว่ามาถูกจังหวะมาก  เพราะถึงปัจจุบัน ไทยก็ยังมีปัญหาแพทย์ไม่พอ สัดส่วนคนไข้กับหมอยังห่างกันมาก  ขณะที่ โรงพยาบาลรัฐมีปัญหาคิวคนไข้ยาวมาก โดยเชื่อว่า  60% ของผู้มาโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาล สามารถพบแพทย์ทางระบบทางไกลได้  โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคปวดหัว ตัวร้อน ท้องเสีย สามารถปรึกษาแพทย์ทางระบบทางไกลได้ ซึ่งจะเข้าถึงการรักษาได้เร็วกว่าการมาโรงพยาบาล 


“ในแง่ต้นทุนการรักษา ทั้งค่าหมอ ค่าบริการ ที่เป็น Fixcost ปกติจะไปรวมอยู่ในค่ายา  แต่ถ้าใช้ระบบนี้ จะลดต้นทุนได้มากกว่าครึ่ง  ส่วนคลิกนิกเองเราให้บริการระบบผ่านโรงพยาบาลหลายแห่ง และรวมถึงบริษัทประกันที่เป็นการประกันสุขภาพ พบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมาก บริษัทประกันเอง แฮปปี้ เพราะลดต้นทุนการเคลมของผู้ประกันได้”ผู้บริหารคลิกนิก กล่าว.

เทเลเมดิซีน ที่บัตรทองจะให้บริการครอบคลุม 42โรค


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สปสช.' ยันไม่ได้ติดหนี้ รพ.มงกุฎวัฒนะ มีงบพร้อมจ่ายแต่ติดเงื่อนไขทางคดี

สืบเนื่องจากกรณี นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ระบุว่าโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการรับส่งต่อผู้ป่

เอาแล้ว 'รพ.มงกุฎวัฒนะ' ประกาศ หยุดให้บริการรับส่งต่อผู้ป่วยนอก เหตุสปสช.ค้างจ่าย 50 ล้าน

นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ด่วนที่สุด! ได้โปรดแชร์ถึงผู้ป่วยบัตรทองจากคลินิกต่างๆที่ส่งต่อมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะ