ดูเลย! บัตรเครดิต-บัตรเดบิตมียอดผิดปกติต้องทำไง?

24 ก.พ.2566- นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำเตือนประชาชนว่า ในปัจจุบันภัยอันตรายในโลกออนไลน์มีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การหลอกถามข้อมูลส่วนตัวและรหัสผ่านทางโทรศัพท์ การใช้เว็บไซต์ปลอมหลอกเอาข้อมูล การส่งอีเมลแอบอ้างเป็นธนาคาร การแฮกข้อมูลจากแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าในช่วงปีที่ผ่านมาสาเหตุของการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตมักเกิดจากการที่มิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศที่ไม่มีการใช้รหัส OTP (One-Time Password) โดยเริ่มจากจำนวนเงินน้อย ๆ ก่อน แล้วเมื่อพบเลขบัตรที่สามารถใช้งานได้ ก็จะใช้เลขบัตรนั้นทำธุรกรรมที่วงเงินสูงขึ้นต่อไป

นางสาวรัชดา กล่าวว่า ทุกภาคส่วนได้บูรณาการการทำงานเพื่อป้องกันและจัดการกับอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ได้ออกคำแนะนำแก่ประชาชน หากพบรายการใช้จ่ายในบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตผิดปกติ โดยที่ไม่ได้ใช้ ให้ดำเนินการดังนี้

1.เก็บหลักฐานรายการผิดปกติ วันเวลา จำนวนเงิน
2.อายัดบัตรเครดิต/เดบิตด้วยตนเองผ่าน Mobile Banking หรือโทรติดต่อคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารผู้ออกบัตรหรือสาขาธนาคารเพื่อขออายัดบัตรทันที
3.แจ้งปฏิเสธรายการและให้ข้อมูลหลักฐานรายการที่ผิดปกติ ผ่านคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตร

หลังจากนั้น ธนาคารดำเนินการตรวจสอบ หากพบถูกคนร้ายเอาข้อมูลบัตรไปสวมรอยทำธุรกรรม ธนาคารผู้ออกบัตรจะดำเนินการคืนเงินภายใน 5 วันทำการสำหรับบัตรเดบิต ส่วนบัตรเครดิตนั้น ธนาคารจะยกเลิกรายการที่ผิดปกติ โดยไม่ต้องชำระเงิน

"วิธีการป้องกัน แนะนำ 1)ให้ตรวจสอบรายการใช้จ่ายและการเคลื่อนไหวในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ 2)หลีกเลี่ยงการผูกบัตรเครดิตบัตรเดบิตกับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ไม่น่าไว้ใจ เช่น ไม่มีการยืนยันตัวตน ไม่มีการส่ง OTP เพราะเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูล 3) จดข้อมูลว่าผูกบัตรใดไว้กับแอปพลิเคชันไหนบ้าง 4)ตั้งวงเงินในบัตรเครดิตบัตรเดบิตเท่าที่จำเป็นกับการใช้จ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหาย 5)หากพบรายการผิดปกติ ให้รีบติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตรทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร.1213" นางสาวรัชดา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลกางแผนปี 68 ไล่ตรวจสอบ 'นอมินี' 2.6 หมื่นราย เน้นธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมรีสอร์ต

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รายงานผลการตรวจสอบธุรกิจที่มีลักษณะนอมินี

ละเอียดยิบ! ครม.รับทราบผลงานปราบอาชญากรรมออนไลน์ในช่วง 30 วัน

นางสาว ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ ผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2567 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ดีอี เตือนประชาชนระวังเพจปลอม 'ป.ป.ง' หวั่นตกเป็นเหยื่อ 'โจรออนไลน์'

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) เปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่” รองลงมาคือเรื่อง “ก.ล.ต. รับรองเว็บไซต์เทรดทองออนไลน์” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' สวมรอยหน่วยงานรัฐหลอกลวง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

'ดีอี' ตั้งเป้าปิด 1 แสนบัญชีม้าต่อเดือน!

เข้มงวดปราบอาชญากรรมออนไลน์! 'รัดเกล้า' เผยเฟส 2 ดีอี พร้อมพันธมิตร ลุยปิดเว็บพนันสถิติเพิ่ม 82.8% ยอดสะสมปิดซิมต้องสงสัยกว่า 2.3 ล้านเลขหมาย ตั้งเป้าปิดบัญชีม้าต่อ 100,000 บัญชีต่อเดือน