
ในโอกาส 112 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร แถลงผลงานใน 4 ภารกิจสำคัญ นายพนมบุตร กล่าวว่า กรมศิลปากรได้ดำเนินการพัฒนาและสร้างมาตรฐานแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของแหล่งเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้มีมาตรฐาน ทันสมัยและน่าสนใจโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่นำมาจัดแสดงมีความปลอดภัยจากการเสื่อมสภาพ การจัดแสดงนิทรรศการถาวร มีการออกแบบตามหลักวิชาการเน้นความงาม ความสำคัญของโบราณวัตถุ และการสื่อความหมายต่อผู้เข้าชม รวมทั้งออกแบบแสงสว่างในการจัดแสดงตามหลักวิชาการให้เหมาะสม สวยงาม และปลอดภัยต่อโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสื่อการจัดแสดงที่ใช้มีความถูกต้องของข้อมูลทางวิชาการ มีระบบสืบค้นและนำชมสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น QR Code, AR Code, Audio Guide
การพัฒนางานด้านการจัดเก็บและอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ของชาติ มีการจัดตั้งคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้เป็นไปตามหลักวิชาการสากล ซึ่งมีกำหนดจะเปิดให้บริการในปีนี้ และจัดสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุ จังหวัดปทุมธานี ให้เป็นศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุทุกประเภทที่ได้มาตรฐานสากล มีความทันสมัย

นอกจากนี้ มีการปรับปรุงหอสมุดแห่งชาติ ให้ได้มาตรฐานทั้งสถานที่และการให้บริการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการให้บริการ การปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ ให้ได้มาตรฐานสากล มีศักยภาพถึงพร้อมในทุกๆ ด้าน และเป็นไปตามมาตรฐานโรงละครระดับสากล การพัฒนาแหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ จังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นศูนย์เรียนรู้งานโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรมศิลปากร

กรมศิลปากร ได้ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นให้หน่วยงานในสังกัดขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการข้อมูลที่เหมาะสม สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบการสืบค้น และระบบการให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายออนไลน์
โอกาสสำคัญนี้ กรมศิลปากรเปิดประสบการณ์ใหม่ในการนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและมิติใหม่ในการให้บริการข้อมูลด้วย Application FADiscovery เป็นแอปพลิเคชั่นนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โดยการให้ข้อมูลนำทาง ข้อมูลโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ และจัดเก็บข้อมูลความต้องการ ความสนใจของผู้ใช้ที่ครบวงจร ตั้งแต่เริ่มเข้าชม จนกระทั่งออกจากพิพิธภัณฑ์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ระบบจะทำการบันทึกความชื่นชอบ ความสนใจ และความต้องการในการเข้าชมไว้อย่างละเอียด ทำการแยกและจัดกลุ่มประเภทผู้เข้าชม และบันทึกประมวลผลแบบ Real Time เพื่อให้ทราบถึงความสนใจพิเศษของผู้เข้าชมแต่ละท่าน โดยแจ้งผลความต้องการและความสนใจไปยังผู้เข้าชมแบบรายบุคคล โดยระบบจะทำการประมวลผลความสนใจของประชาชนในประเด็นต่างๆ ทำการสืบค้นข้อมูล หนังสือ หรือบทความวิชาการที่เกี่ยวข้อง และส่งข้อมูลไปยังประชาชน เพื่อให้สามารถศึกษาเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง และได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียนรู้มากที่สุด มิติใหม่ในการให้บริการข้อมูล ด้วย Application FADiscovery นี้ จะเป็นการยกระดับการให้บริการและการเข้าถึงข้อมูลของกรมศิลปากรที่ครอบคลุมข้อมูลทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เอกสารโบราณ จารึก หนังสือ เอกสารจดหมายเหตุ ด้วย Application เดียว ” อธิบดี ศก. กล่าว

โอกาส 112 ปี กรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่ได้จัดนิทรรศการพิเศษ “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์”โดยนำผลงานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจัดแสดง เพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลในงานศิลปกรรม ก่อให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาด้านงานช่างสิบหมู่อันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 27 เมษายน 2566
สำหรับผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการผลงานของกรมศิลปากร เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สินค้าท้องถิ่น ของที่ระลึกและหนังสือกรมศิลปากร ลดราคาพิเศษ ร่วมฟังการเสวนาวิชาการ พร้อมรับชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี โดยสำนักการสังคีต สามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงวันที่ 29 มีนาคมนี้




ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ ขอพรปีใหม่ไทย
12 เม.ย.2566 - เวลา 09.39 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสมโภชพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ นำออกให้ประชาชนสักการะและสรงน้ำขอพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ 2566 ระหว่างวันที่ 12 – 14 เมษายน 2566
'ดร.นิว' ตอกหน้า 'สมศักดิ์เจียมฯ' เหตุ 'วัดพระแก้ว' ไม่ต้องขึ้นทะเบียนเป็น 'โบราณสถาน'
'ดร.นิว' ตอกหน้า 'สมศักดิ์เจียมฯ' ยัน 'วัดพระแก้ว' อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของ 'สำนักพระราชวัง' อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้กรมศิลปากรมาดูแลรักษาซ้ำซ้อน เป็นที่มาของเหตุไม่ต้องขึ้นทะเบียนเป็น'โบราณสถาน' จึงย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 32
ตู้พระธรรมวัดเบญฯ คลังคัมภีร์ใบลานล้ำค่า
คัมภีร์ใบลานโบราณหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ 3 ยุคสมัย ได้แก่ สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งวัดเบญจมบพิตรได้เก็บรักษาไว้ที่ในพระวิหารสมเด็จ ส.ผ. (เสาวภา ผ่องศรี) กรมศิลปากร (ศก.) สำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกับวัดเบญจมบพิตร นำเข้าสู่การดำเนินงานภายใต้โครงการอนุรักษ์วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
'เอ็นจีโอใต้' ร่อนจม.เปิดผนึก ฟ้อง นายกฯ ลงมาสงขลา ให้เห็นปัญหาบุกรุกเมืองเก่า-สุสานเรือเวียดนาม
'บรรจง นะแส' ร่อนจม.เปิดผนึกถึงผู้ว่าฯสงขลา ให้เรียนนายกฯ ที่ลงมาสงขลา เห็นปัญหาการบุกรุกทำลายแหล่งโบราณสถานเมืองเก่าที่อัยการยังไม่สั่งฟ้อง และกรณีสุสานเรือเวียดนามจอดระเกะระกะอยู่ตรงปากร่องน้ำร้อยกว่าลำ
กรมศิลป์ ยืนยันขึ้นทะเบียนได้ 5 องค์ พระพุทธรูปที่ครูบาไก่ขุดพบ ชาวบ้านบอกสบายใจ
นายลักษมณ์ บุญเรือง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น พร้อมด้วย นายศุภกนก์ธี อนุศรี หรือโต่ง ขอนแก่น ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอุปนายกสมาคม พระเครื่องพระบูชาไทย
'100 ปี ศิลปสู่สยามฯ' รำลึก อ.ศิลป์ พีระศรี
หลายคนเคยได้ยิน “ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว” หรือ “อย่าถือว่าเราเป็นคนเก่ง ต้องศึกษาเล่าเรียนอีกมาก รู้อยู่ตลอดเวลา” ประโยคคุ้นหูที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยเคยกล่าวไว้