พระบารมี กรมสมเด็จพระเทพฯ นำไทยสู่ 'การวิจัยขั้วโลก'

โครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เกิดขึ้นจากบารมีของพระองค์ท่าน  ทรงช่วยประสานกับโครงการโดยตรง  อย่างเช่นโครงการเซิร์น  ถ้าเราจะไปเอง  เขาก็จะถามว่า คุณเป็นใคร  แล้วต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 40 ล้าน ต้องนำเข้าครม.เพื่ออนุมัติ...

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลก อาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนไทย เนืองจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ห่างไกลจากความหนาวเย็นที่น้อยคนนีกจะได้ไปเยือนทวีปแอนตาร์กติกา  ซึ่งเป็นขั้วโลกใต้  แต่ด้วยพระปรีชาญาณและพระราชวินิจฉัยของสมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญการวิจัยด้านดาราศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้วโลก  จึงมีพระราชดำริให้นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมการศึกษาวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ขั้วโลกกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

ประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีการลงนามในความร่วมมือกับสำนักงานบริหารอาร์กติกและแอนตาร์กติกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ( Chinese Arctic and Antractic Administration :CAA ) เมื่อวันที่   30ก.ค.2556   และขยายขอบเขตความร่วมมือด้านงานวิจัย ไปยังวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆรวมถึงฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงจากอวกาศ

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงโปรดให้ ศ.เจมส์ เมดสัน และพอล อีเวนสัน เข้าเฝ้ารายงานเรื่องไอซ์คิวบ์ เมื่อเดือนม.ค.2566

นอกจากนี้ พระองค์ยังสนพระทัยในงานวิจัยด้านดาราศาสตร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการหอสังเกตุการณ์ นืวทริโนไอซ์คิวป์ ( IceCube Neutrio Obversavation )  ณ ขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความร่วมมือกับนักวิจัยทั่วโลกกว่า 350 คน จาก 14 ประเทศ 58 สถาบัน จึงทรงมีพระราชดำริให้เกิดโครงการวิจัย เพื่อสร้างความร่วมมือกับกลุ่มวิจัย  นิวทริโนไอซ์คิวป์ ภายใต้การประสานงานของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามแนวพระราชดำริกรมสมเด็จพระเทพฯ โดยมีพระราชประสงค์ให้นักวิทยาศาสตร์ไทย ได้มีโอกาสไปทำวิจัย ณ บริเวณขั้วโลก ทั้งแถบอาร์กติกและทวีปแอนตาร์กติก ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีองค์ความรู้มากมาย ให้ศึกษา แต่หากประเทศไทยจะดำเนินการเอง จะต้องใช้งบประมาณที่ สูงมาก ซึ่งการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ไทย เป็นการวิจัยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก

นางสาวอัจฉราพร ผักหวาน  นักวิจัยที่จะเดินทางไปกับร่วมกับนักวิจัยขั้วโลกเกาหลี นำเครื่องตรวจวัดอนุภาคนิวตรอน "ช้างแวน" ( ChangVan ) เก็บข้อมูลวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติก  

ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์ไทย 23 คน ที่ร่วมวิจัยขั้วโลก กับนักวิทยาศาสตร์ประเทศอื่นๆ โดยล่าสุดไทยจะส่งนักวิทยาศาสตร์อีก 2คน ไปวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวป์  คือ นางสาวอัจฉราพร ผักหวาน ซึ่งจะเป็นนักฟิสิกส์อนุภาคหญิง จะร่วมเดินทางไปแอนตาร์กติก  ร่วมเดินทางไปกับคณะวิจัยของสถานีวิจัยขั้วโลกเกาหลี ในโครงการสำรวจตัดข้ามละติจูดร่วมกับสถาบันวิจัยขั้วโลกเกาหลี  เพื่อศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงรังสีคอสมิกในระดับละติจูดต่างๆตามเส้นทางจากประเทศนิวซีแลนด์ เขตวิจั้ยทางทะเลอามันด์เชน (Amundsen Sea Research Area )สถานีวิจัย จางโบโก (Jang Bogo Station )สิ้นสุดการเดินทางที่เมืองกวางยาง ประเทศเกาหลี

ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม  จะปฎิบัติงานเจาะน้ำแข็งใจกลางโลก ร่วมกับนักวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวป์ ระดับโลกกว่า 350 คน  

 นักกวิทยาศาสตร์อีกคน ที่จะเดินทางไปวิจัยโครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวป์ ตามพระราชดำริฯ คือ เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยดร.ชนะจะปฎิบัติงานร่วมกับนักวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวป์ ระดับโลกกว่า 350 คน จาก 14ประเทศ 58 สถาบัน ภารกิจสำคัซญคือการขุดเจาะน้ำแข็ง  ณ สถานีตรวจวัดนิวทริโนไอซ์คิวป์  ใจกลางทวีปแอนตาร์กติก สูงประมาณ 2,835 เมตร  จากระดับน้ำทะเล สูงกว่ายอดดอยอินทนนท์ ประมาณ 300  เมตร ซึ่งถือว่าเรือโท ดร.ชนะ เป็นนักวิจัยไทยคนแรกที่ได้เดินทางไปถึงบริเวณขั้วโลกใต้ ณ ละติจูด 90 องศาใต้ ใจกลางทวีปแอนตาร์กติก

โครงการทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นพัฒนาและเตรียมความพร้อมกำลังคนของประเทศ  ในการก้าวสู่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแนวหน้า ยกระดับประเทศซึ่งจะนำประเทศไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์  

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์  เลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ กรมสมเด็จพระเทพฯ กล่าวว่ามูลนิธิแห่งนี้ ตั้งมาเป็นเวลา 30 ปี  ซึ่งช่วงนั้นโทรศ้พท์มือถือก็ไม่มี  ส่วนอินเตอร์เน็ตก็หายาก ทรงเกรงว่า การใช้อินเตอร์เน็ต จะตกกับคนบางกลุ่มที่มีโอกาสเท่านั้น จึงทรงตั้งมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ขึ้นมา โดยเน้น4กลุ่ม คนในชนบท คนพิการ ผู้ต้องขังในทัณฑสถาน เด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล จากโรคเรื้อรัง ต่อมาทรงโปรดให้เป็นมูลนิธิทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วย ไม่ใช่แค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียว  

 โดยจากการที่ทรงเสด็จขั้วโลกก่อนใครและเป็นคนไทยคนแรกที่เสด็จขั้วโลก โดยในพ.ศ.2536 ทรงเสด็จ ไปที่แอนตาร์กติก  ทอดพระเนตรการศึกษาวิจัย ของคณะนักวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านชีววิทยา ธรณีวิทยาอุตุนิยมวิทยาและสภาวะแวดล้อม    หลังจากการเสด็จครั้งนั้น ทรงมีพระราชกระแส อยากให้คนไทยไปวิจัยขั้วโลก  ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องไปวิจัยขั้วโลก  ทั้งที่บ้านเราเป็นเมืองร้อนอยู่เส้นศูนย์สูตร ก็เพราะชั้วโลกยังเป็นพื้นที่ ที่บริสุทธิ์   แต่ขั้วโลกมีความสำคัญ เพราะทั้งภาวะโลกร้อน การละลายของน้ำแข็งจากขั้วโลก ล้วนมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม   

ต่อมาในเดือนมีนาคม  2556 ทรงเสด็จอาร์ตติก เสด็จไปยังหมู่เกาะสวาลบาร์ด (Svalbard) ทอดพระเนตรคลังเก็บเมล็ดพันธุ์พืชโลก  ศูนย์วิทยาศาสตร์สวาลบาร์ด และศูนย์มหาวิทยาลัยแห่งสวาลบาร์ด (UNIS: University Center in Svalbard)  นอกจากนี้ ยังเสด็จเมืองนีอัลลีชนด์ (Ny-Alesund) ซึ่งเป็นศูนย์รวมของที่ตั้งสถานีวิจัยชั้วโลกของประเทศต่าง ๆ ที่ชุมนุมของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก และสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งนอร์เวย์ เมื่อเสด็จกลับยังกรุงออสโลทรงเข้าเฝ้ากษัตริย์ฮาราลด์ แห่งนอร์เวย์

จากความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์  และการวิจัยขั้วโลกของพระองค์ท่าน  . ซึ่งเป็นผลจากการเสด็จเยือนขั้วโลกและโครงการวิจัยต่างๆ  ทำให้ทรงประสานความร่วมมือระหว่างไทย กับประเทศแนวหน้าของโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยักษ์ใหญ่ในการวิจัยขั้วโลก  ซึ่งมีเรือตัดน้ำแข็งและสถานีวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก  เพื่อให้นักวิจัยไทยเข้าไปร่วมวิจัยกับประเทศเหล่านั้น 

สถานีวิจัยไอซ์คิวบ์ของสหรัฐอเมริกา

"การที่นักวิจัยไทยได้มีโอกาสเข้าไปวิจัยขั้วโลก ก็เพราะอาศัยบารมีของพระองค์ท่าน เราได้ขอเข้าเป็นสมาชิก Asia Forum Polar Science  เราไปแบบมือเปล่าไม่มีอะไรเลย และมีมาเลเซียอีกประเทศ ที่ขอเข้าเป็นสมาชิก แต่เขาก็ยังมีทรัพยากรมากกว่า    ต่อมาในปี 2556 ทรงเสด็จไปที่อาร์ตติก   ทรงเสด็จไปที่สวาร์บาร์ด  ที่มีพวกยักษ์ใหญ่วิจัยขั้วโลกชุมนุมอยู่ที่นั่น  ทรงเข้าเฝ้ากษัตริย์ของนอร์เวย์  ทรงทอดพระเนตรคลังเก็บเมล็ดพันธุ์พืช   เป็นที่มาของการวิจัยขั้วโลกในแง่มุมอื่นๆตามมา" ศ.ดร.ไพรัช กล่าว

รูปแบบจำลอง ปฎิบัติการเจาะน้ำแข็งเพื่อทำวิจัย ไอซ์คิวบ์

ต่อมาไทยได้ส่งนักวิจัยไปวิจัยขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้หลายชุดด้วยกันรวม  23 คน โดยนักวิจัยไทยได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยชั้นแนวหน้าของโลก  ล่าสุด เป็นการวิจัยเรื่องของไอซ์คิวบ์  ที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ นอกเหนือจากการวิจัยเรื่องเซิร์น โดย ไอซ์คิวป์ เกิดมาปีสองปี  โดยไอซ์คิวบ์ มีชื่อเต็มว่าสถานีตรวจวัดนิวทริโนไอซ์คิวป์ ซึ่งเป็นของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่สถานีขั้วโลกใต้ อมันเซนสก็อตต์ในทวีปแอนตาร์กติก สร้างเสร็จเมื่อปี 2553 มีอุปกรณ์ประกอบด้วยหน่วยตรวจวัดแสงนับพันตัวกระจายอยู่ในหนึ่งลูกบาศก์กิโลเมตรของน้ำแข็งใต้พื้นผิวหน้าของแอนตาร์กติก ทำหน้าที่ตรวจวัดนิวทริโนว่ามาจากแหล่งกำเนิดใด นอกระบบสุริยะ สาเหตุที่ต้องตั้งอยู่ที่แอนตาร์กติกา เพราะต้องอาศัยน้ำแข็งในการทำอันตกิริยากับนิวทริโน เกิดแสงให้ตรวจวัดได้

"การวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์  เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องลึกลับ เพราะเป็นอนุภาคที่ไม่มีมวลหรือประจุ วิ่งเร็วเกือบเท่าแสง ทะลุทะลวงออกนอกโลกได้ สามารถเป็นตัวนำข้อมูล จากนอกโลกมาให้เรา   "ศ.ดร.ไพรัช กล่าว

ในพ.ศ.2564 ทรงมีพระราชดำริ ให้เกิดความร่วมมือในโครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ ตามพระราชดำริฯ กับสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน และโครงการวิจัย โครงการนี้ ดำเนินการสอนพระราชดำริ โดยคณะกรรมการความร่วมมือการวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ประเทศไทย (Thai-Icecube  ) ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  การทำงานเป็นการบูรณาการหน่วยงานในประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หน่วยงานในต่างประเทศ ได้แก่ สถานีตรวจวัดนิวทริโนไอซ์คิวบ์ ที่รัฐบาลสหรัฐมอบหมายให้มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน  เป็นผู้บริหาร

เรือตัดน้ำแข็งของจีน

"โดยเมื่อวันที่  21 มกราคม 2566  ที่ผ่านมา ผมได้นำคณะผู้บริหาร และคณะนักวิจัยทั้งจาก IceCube และไทยเข้าเฝ้าถวายรายงาน ความก้าวหน้าความร่วมมือระหว่าง IceCube  โดยมี ศ.เจมส์ เมดสัน (Prof.James Madsen) จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน และนายพอล อีเวนสัน (Paul Evenson )จากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ เข้าเฝ้า  กราบบังคมทูลเรื่องการทำไอซ์คิวบ์" ศ.ดร.ไพรัช กล่าว

"ช้างแวน"ตู้คอนเทนเนอร์ เคยออกปฎิบัติการเก็บข้อมูลนิวตรอนขั้วโลกมาแล้ว โดยไปกับเรือตัดน้ำแข็งของจีน

โครงการลักษณะความร่วมมือกับประเทศวิจัยชั้นนำ ยังมีโครงการละติจูดข้ามประเทศของไทยเอง เป็นการตรวจวัดรังสีคอสมิกจากท้องฟ้า ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี  2531 แต่พัฒนาโครงการขึ้นอีกระดับ โดยในปี 2566 ได้ร่วมมือกับกลุ่มวิจัยจากประเทศเกาหลี ได้แก่ มหาวิทยาลัยชอนนัม สถาบันดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์อวกาศของประเทศเกาหลี  และสถานีวิจัยขั้วโลกเกาหลี เพื่ออาศัยการเดินทางของเรือตัดน้ำแข็งเกาหลี บรรทุกอุปกรณ์ตรวจวัดของไทยที่ชื่อว่า "ช้างแวน"  ซึ่งเป็นอุปกรณ์คล้ายคอนเทนเนอร์  จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลการตรวจวัดรังสีคอสมิกที่ละติจูดต่างๆ ขณะเดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก

ศ.ดร.ไพรัช กล่าวอีกว่า  นอกเหนือจากส่งนักวิจัยไทยไปวิจัยขั้วโลกและโครงการความร่วมมือไอซ์คิวบ์แล้ว กรมสมเด็จพระเทพฯยังทรงขับเคลื่อนงานวิชาการที่เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าไปอยู่ในวงการวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็น โครงการความสัมพันธ์ไทย-เชิร์นตามพระราชดำริฯ โครงการความร่วมมือไทย - สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences : CAS) เพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริฯโครงการความร่วมมือไทย สิงคโปร์ เรื่องนาฬิกาอะตอมเพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริฯ ,โครงการความร่วมมือไทย - GS/FAR ตามพระราชดำริฯ, โครงการไทย-เดซีเพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริฯ ซึ่งจะทรงประชุมคณะกรรมการตามโครงการต่างๆ ในเดือนมีนาคมของทุกปี

สองนักวิจัยไทยดร.สุจารี บุรีกุล และดร.อานุภาพ พานิชผล จากจุฬาฯ วิจัยขั้วโลกเรื่องไมโครพลาสติก และสิ่งมีชีวิตขั้วโลกเมื่อ 9 ก.ค.- 27 ก.ย.2566

เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ทรงสนับสนุนให้คนไทย เข้าร่วมกิจกรรมกับ สถาบันวิจัยระดับโลก 4 แห่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศไทยคัดเลือกนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าร่วมค่ายภาคฤดูร้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำงานวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ได้แก่     1. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Summer Student Program)  ประเทศสวิสเซอร์แลนด์     2. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี (DESY Summer Student Program) ประเทศเยอรมนี     3. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนจีเอสไอ (GSI/FAIR Summer Student Program)  ที่ประเทศเยอรมนี     4. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนไอซ์คิวบ์ (Icecube Summer Student Program)  ประเทศสหรัฐอเมริกา

"โครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เกิดขึ้นจากบารมีของพระองค์ท่าน การที่พระองค์ท่านเสด็จไปที่โครงการวิจัยต่างๆ ทรงช่วยประสานกับโครงการโดยตรง  อย่างเช่นโครงการเซิร์น  ถ้าเราจะไปเอง  เขาก็จะถามคุณเป็นใคร  แล้วต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 40 ล้าน ต้องนำเข้าครม.เพื่ออนุมัติ แต่พอพระองค์ท่านเสด็จโครงการพวกนี้ ก็ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น "ศ.ดร.ไพรัช กล่าว  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ

13 มี.ค.66 - เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา