'วิษณุ' ย้ำเลือกประธานสภาห้ามเกิน 12 ก.ค.ส่วนโหวตนายกฯ ลากยาวได้จนกว่าได้ 376 เสียง

'วิษณุ' ร่ายยาวแจงไทมไลน์เรื่องประธานสภา ชี้ไม่มีอำนาจชี้เป็นชี้ตาย แค่กำหนดวันโหวตนายกฯ เปิด-ปิดประชุม ระบุประมุขนิติบัญญัติยื้อได้ไม่เกิน 12 ก.ค. แถมเปิดช่องขั้วที่ 3 เสนอแข่งคู่ขนาน แต่โหวตนายกฯ ยึดเยื้อได้จนกว่าได้ 376 เสียง

29 มิ.ย.2566 - นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรอบเวลาการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า การเลือกประธานสภาต้องประชุมให้มีการเลือกให้ได้ภายใน 10 วัน นับแต่วันเสด็จเปิดรัฐสภา ในวันที่ 3 ก.ค. หรือไม่เกินวันที่ 12 ก.ค.และไม่มีเหตุที่จะเลือกกันไม่ได้ เพราะไม่เหมือนการเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ต้องใช้คะแนนเสียงเกิน 376 ของ 2 สภา แต่การเลือกประธานสภาใช้สภาเดียว และใช้เสียงข้างมากของ ส.ส.ก็สามารถทำได้

เมื่อถามว่า การเสนอชื่อประธานสภาสามารถเสนอชื่อแข่งขันมากกว่า 2 คนได้หรือไม่นายวิษณุ กล่าวว่า จะเสนอแข่ง 5 คนก็ได้ และใช้เสียงข้างมากของ ส.ส.ในการตัดสิน จึงขอย้ำว่าโอกาสที่จะเลือกไม่ได้จึงไม่น่าจะเกิดขึ้น หาก 2 พรรคคะแนนเสียงต่างกันใครชนะก็ได้

เมื่อถามว่า หากพรรคอันดับหนึ่ง และอันดับสองเสนอชื่อแข่งกัน และหากมีกลุ่มพรรคขั้วที่สามที่มี 188 เสียง เสนอแข่งมีโอกาสส้มหล่นได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เห็นเหตุที่จะเกิดขึ้น เพราะตอนนั้นต้องเสนอไปพร้อมกัน พรรคหนึ่งก็เสนอ พรรคสองก็เสนอ และกลุ่มพรรคขั้วที่สามอยากจะเสนอก็เสนอไป 3 คนแล้วก็โหวตแข่งกัน เพราะอาจต้องมีการแสดงวิสัยทัศน์ หรือไม่ต้องก็ได้ขึ้นอยู่กับมติสภา แต่หากมีแล้วฟังไม่หมดก็เลื่อนไปโหวตต่อในวันถัดไปก็ได้

เมื่อถามว่า ตามหลักการประธานสภาในฐานะประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการเลือกนายกฯ หรือเป็นเรื่องของมติที่ประชุมรัฐสภา นายวิษณุ กล่าวว่า ประธานสภามีหน้าที่กำหนดวันโหวตนายกฯ ถึงเวลาจะเลือกกันอย่างไร มีกี่ชื่อก็เป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภา

เมื่อถามว่า หากการโหวตนายกฯไม่ถึง 376 เสียง จะต้องทำยังไง นายวิษณุ กล่าวว่า ก็เป็นเรื่องของประธานสภาที่ต้องดำเนินการ และไม่มีกรอบเวลา จะวันรุ่งขึ้นหรือ 7 วันหรือ 15 วันก็ได้ โดยให้สมาชิกกลับไปคิด

ถามว่า ดูจากสถานการณ์การเมืองขณะนี้มองว่าจะเลือกนายกฯ ได้ช้าหรือเร็ว นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ

เมื่อถามว่า หากเกิดเหตุการณ์เลือกนายกฯ ไม่ได้ ประธานสภาสามารถเป็นผู้กำหนดพลิกเกมไปเลือกแคนดิเดตคนอื่นได้หรือไม่ หรือเป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภา นายวิษณุพยักหน้า พร้อมระบุว่า ตอนนั้น ส.ส.ปฎิญาณตนเสร็จแล้ว จึงมีฐานะในการประชุมสภาปกติ ใครเสนอมาถ้าอีกฝ่ายไม่เห็นด้วยก็เสนอมาแข่ง ประธานสภาก็จะให้โหวตกันว่าจะเลือกแบบไหน

ถามว่า หากเลือกนายกฯ ไม่ได้ แต่ต้องการเลือกต่อ เป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา หรือประธานรัฐสภา นายวิษณุ กล่าวว่า แล้วแต่ประธานรัฐสภาจะนัดวัน แต่ส่วนใหญ่ประธานรัฐสภาจะฟังเสียงสมาชิก

เมื่อถามว่า ส่วนใหญ่หากนัดโหวตนายกฯ เพื่อเปิดทางมีการล็อบบี้กันใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องล็อบบี้สื่อเป็นคนพูด การนัดใหม่อาจมีเหตุหลายอย่างก็ได้เหมือนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ไม่ให้ลงมติในวันเดียวกัน เพราะต้องการให้กลับไปคิดกันใหม่ เพราะอาจจะมาด้วยขอเสนอที่ดีกว่าเดิมก็ได้ เช่น เปลี่ยนคน

ถามย้ำว่า สุดท้ายคือใช้มติเสียงข้างมากในการตัดสินใช่หรือไม่ นายวิษณุ พยักหน้าและบอกว่า "ใช่"

เมื่อถามว่า สุดท้ายแล้วอำนาจของประธานสภาแค่กำหนดวันในการเลือกนายกฯ ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับตอนช่วงเลือกนายกฯ แต่เขาไม่ได้แย่งตำแหน่งกันเกี่ยวกับการเรื่องนายกฯ หรอก เขาต้องการเอาตำแหน่งประธานสภาเพื่อทำหน้าที่อื่นๆ ต่อไปด้วย ทั้งเรื่องกฎหมาย กระบวนการต่างๆ การนัดวันประชุมเพราะจบเรื่องการเลือกนายกฯ แล้ว ได้นายกฯ แล้วประธานก็ยังมีอำนาจ แต่ไม่ได้มีอำนาจยิ่งใหญ่ไพศาล อย่างที่นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภาพูด ชี้เป็นชี้ตายอะไรไม่ได้ เพราะบางอย่างประธานสภาตัดสินใจเองได้ บางอย่างก็ต้องอยู่ภายใต้เสียงข้างมาก และอำนาจอีกอย่างของประธานสภาคือเปิดและปิดประชุม

เมื่อถามว่า ประธานสภามีอำนาจตัดตอนการนำเสนอกฎหมายได้หรือไม่ อย่างเช่นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นายวิษณุ กล่าวว่า ประธานชี้ขาดตอนแรกว่าจะรับหรือไม่รับ ที่ผ่านมาชี้ว่าไม่รับ เพราะเป็นการเสนอกฎหมายที่ผิดกฎหมายก็ไม่รับ

ถามต่อว่า จึงเป็นเหตุที่พรรคก้าวไกลอยากได้ตำแหน่งประธานสภาใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่ทราบว่าเขาอยากได้เพราะอะไร แต่แน่นอนถ้าใครได้ก็ดีทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้วหากได้ตัวประธานสภาแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่ขณะเดียวกันหากได้นายกฯคนใหม่ ประธานสภาต้องเป็นผู้รับสนองฯ

เมื่อถามว่า คนที่มีชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯ สามารถลาออกได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้ แต่จะใช้วิธีว่าถ้าเขาเลือกแล้วคุณไม่ต้องรับ หรือไม่ก็ทำให้ตัวเองขาดคุณสมบัติ แต่จะไปลาออกไม่ได้ เพราะว่าตั้งแต่ตอนสมัครแล้วเขาระบุไวว้แล้วว่าถอนตัวไม่ได้ ยกเว้นเสียชีวิต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขาสั่น 'เศรษฐา' รับกังวล ปมถูกยื่นถอดถอน

สาธารณรัฐอิตาลี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี 40 วุฒิสมาชิก ยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า ตนคงไม่ไปก้าวล่วงกับศาลรัฐธรรมนูญว่าจะเป็น 50 ต่อ 50 หรือ 40 ต่อ 60 และเมื่อ

‘เศรษฐา’ ถึงกรุงโรมเตรียมคุยนักธุรกิจ ก่อนเข้าพบนายกฯอิตาลี หารือทวิภาคี

ภายหลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เสร็จสิ้นภารกิจที่เมืองมิลาน ได้เดินทางถึงท่าอากาศยานลีโอนาร์โด ดาวินชี ฟิอูมิชิโน  โดยมีนายเก-ราโด อมาดุซซี (Gherardo Amaduzzi) รองอธิบดีกรมพิธีการฑูต สาธารณรัฐอิตาลี พร้อมด้วยบุคคลฝ่ายไทยให้การต้อนรับ

'สว.วันชัย' ค้านยื่นถอด 'เศรษฐา-พิชิต' ชี้ปิดประตูล้มรัฐบาล ยกเว้น 'ปฏิวัติ'

'วันชัย' ยันไม่เห็นด้วย กรณี 40 สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน ’นายกฯ-พิชิต‘ แปลกใจไม่เปิดชื่อ ชี้หมดวาระแล้วไม่ควรสร้างปัญหา ปิดประตูล้มรัฐบาลเพื่อไทย ยกเว้นรัฐประหาร

จับตา! 2 เรื่องใหญ่ บ่งชี้ใกล้ถึงจุดจบ 'รัฐบาลเพื่อไทย'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า แรกทีเดียวคิดว่าจะไม่เขียนเกี่ยวกับเรื่องข้าว 10 ปี