คปภ. ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีเพลิงไหม้ “ย่านการค้าสำเพ็ง”

เผยร้านค้าอาคารพาณิชย์หลังข้างเคียงทำประกันคุ้มครองทรัพย์สิน ทุนประกันกว่า 11 ล้านบาท ส่วนร้านค้าต้นเพลิง ตรวจสอบเบื้องต้นไม่ได้ทำประกันภัยไว้แต่อย่างใด ด้านเลขาธิการ คปภ. เชิญชวนผู้ประกอบร้านค้าให้ความสำคัญทำประกันอัคคีภัยเพื่อนำระบบประกันภัยเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชนย่านการค้าสำเพ็ง บริเวณแยกคิคูยา ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ประกอบธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์พลาสติกพีวีซีและกล่องกระดาษ และเพลิงได้ลุกไหม้ไปยังอาคารพาณิชย์ข้างเคียงอีก 5 คูหา ส่วนสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้คาดว่ามาจากหม้อแปลงไฟฟ้าริมถนนที่มีสภาพเก่าเกิดการระเบิดทำให้เกิดเปลวไฟลุกลามไปยังอาคารพาณิชย์ดังกล่าว และจากเหตุในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 11 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2565 เบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เร่งให้การช่วยเหลือและสำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ ได้ลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการประกันภัยให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนี้อย่างใกล้ชิดแล้ว ทั้งนี้ ได้รับรายงานจาก สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ ว่า จากการลงพื้นที่และตรวจสอบด้านการทำประกันภัย กรณีความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย โดยเบื้องต้นพบว่า เหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จำนวน 2 ราย ซึ่งเป็นลูกจ้างของร้านราชวงศ์รุ่งเรือง จำกัด โดยสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ ได้เร่งตรวจสอบว่าทั้ง 2 ราย มีการทำประกันชีวิต หรือประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้กับบริษัทประกันภัยหรือไม่ ในส่วนของผู้บาดเจ็บทั้ง 11 ราย สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ ได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งตรวจสอบรายชื่อว่ามีการทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้หรือไม่ หากมีการทำประกันภัยจะแจ้งสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยให้ผู้บาดเจ็บได้ทราบต่อไป

สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สิน จากกรณีเพลิงไหม้ครั้งนี้ ตรวจสอบพบว่า มีอาคารพาณิชย์ได้รับความเสียหายจำนวน 6 อาคาร และรถยนต์ที่จอดบริเวณนั้น ได้รับความเสียหาย 2 คัน ได้แก่

1. ร้านราชวงศ์รุ่งเรือง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 157 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ โดยมี นายสุรชาติ กิตติฤดีกุล เป็นผู้เช่าอาคาร และประกอบธุรกิจขายอุปกรณ์พลาสติกพีวีซีและกล่องกระดาษ ทั้งนี้ นายสุรชาติ ให้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วว่า ร้านค้าที่ถูกเพลิงไหม้ไม่ได้ทำประกันภัยคุ้มครองทรัพย์สินแต่อย่างใด

2. อาคารพาณิชย์ เลขที่ 158-159 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ โดยมีนายอารยัน นารูลา เป็นเจ้าของ ได้ทำประกันภัยคุ้มครองทรัพย์สินซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ไว้กับบริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 19 มีนาคม 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 19 มีนาคม 2566 โดยกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองตัวอาคาร (ไม่รวมรากฐานของสิ่งปลูกสร้าง) รวมส่วนปรับปรุงต่อเติมอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา ทุนประกันภัย 5,200,000 บาท คุ้มครองค่าเช่าและ/หรือ คุ้มครองค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับค่าเช่าอาคารเดือนละไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาการชดใช้ไม่เกิน 12 เดือน ทุนประกันภัยในส่วนนี้เป็นเงิน 6,000,000 บาท รวมทุนประกันภัยทั้งสิ้น 11,200,000 บาท ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.เขตท่าพระ ได้ประสานบริษัทประกันภัยลงพื้นที่เกิดเหตุและตรวจสอบความเสียหายเป็นที่เรียบร้อย

3. รถยนต์ฮอนด้า แจ๊ส ทะเบียน ษษ 1179 กท ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง ตรวจสอบพบว่ารถยนต์คันดังกล่าว ทำประกันภัยรถยนต์ไว้กับบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 19 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 19 เมษายน 2566 โดยบริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ จะเร่งตรวจสอบการทำประกันภัยของอาคารพาณิชย์ที่เหลือและรถยนต์อีก 1 คัน ว่า มีการทำประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบจะเร่งแจ้งสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยให้เจ้าของทรัพย์สินได้ทราบต่อไป “สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงผู้ประกอบการที่ประสบเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้ แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงฝากเตือนมายังผู้ประกอบการร้านค้า ควรให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยอัคคีภัยหรือการประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินภายในสถานประกอบการ รวมทั้งการทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักที่ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากกรณีที่ไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ตามระยะเวลาและรายได้ที่ขาดหายไปในระหว่างที่กำลังซ่อมแซม รวมถึงการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้ประกอบการมีความรับผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่น เพื่อที่ระบบประกันภัยจะได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง และเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร โดยสำนักงาน คปภ.จะเร่งรัดให้มีการเยียวยาด้านประกันภัยเพื่อบรรเทาความสูญเสียและความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยด้านประกันภัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือLine Chatbot@Oicconnect ข้อมูลอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คปภ. ประกาศผลสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย “OIC InsurTech Award 2024”

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินและมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย

คปภ. เดินหน้าเคียงข้างเพื่อประชาชนเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ.

นางสาววิไลพร เจียรกิตติวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวางแผนและพัฒนากฎหมาย สำนักงาน คปภ. เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ. โดยมี นายประสงค์ หล้าอ่อน นายดำรงศักดิ์ ยอดทองดี

'นายกฯอิ๊งค์' ยกนิ้วโป้ง! หายป่วย ลงพื้นที่ร้อยเอ็ด

’นายกฯอิ๊งค์‘ นำคณะลงพื้นที่ร้อยเอ็ด แม้เสียงยังแหบ ยกนิ้วโป้งอาการดีขึ้น เปิดตารางงาน ลุยปัญหายาเสพติด พร้อมพบปะชาวบ้าน ก่อนกลับ กทม. ช่วงเย็น

ชวน 'นายกฯอิ๊งค์' ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปาก 'เหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต'

'อังคณา' ชี้รัฐบาลพท.-แพทองธาร ปฏิเสธความรับผิดชอบคดีตากใบไม่ได้ ชวนนายกฯ ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปากเหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต เตือนระวังคนรู้สึกไม่เป็นธรรม อาจเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุ