รมว.สุชาติ ปลื้ม! แข่งฝีมือแรงงานคึกคัก กองเชียร์แห่ให้กำลังใจเยาวชนกว่า 3,000 คน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พ.ค 66 มีพิธีเปิดและเริ่มการแข่งขันแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ โดยได้รับรายงานจากนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่า การแข่งขันฯเป็นไปอย่างราบรื่น บรรยากาศการแข่งขันในวันที่ 2 นั้น บางสาขาแข่งขันเสร็จสิ้นและคณะกรรมการเริ่มรวบรวมคะแนน ซึ่งแต่ละสนามได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ประจำสนามแข่งขันว่ามีกองเชียร์และประชาชนร่วมให้กำลังใจน้องๆเยาวชนรวมกว่า 3,000 คน รวมถึงการรับชมไลฟ์สดผ่านเพจ Facebook ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย ถือได้ว่าการแข่งขันในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วประเทศเป็นอย่างมาก และจะมีการประกาศผลการแข่งขันและจัดพิธีปิดวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 พร้อมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศ

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันในครั้งนี้มีทั้งหมด 5 กลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 25 สาขา และสาขาสาธิต จํานวน 1 สาขา รวมทั้งสิ้น จำนวน 26 สาขา โดยแยกเป็น 6 สนามแข่งขันและเริ่มแข่งขันไปแล้วหลายสาขา อาทิ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ จัดงานแข่งขันในสาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สนับสนุนบุคลากร สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการจัดงาน มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน 7 ทีม ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก ( 2 ทีม) วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ศูนย์การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและนวัตกรรมหุ่นยนต์ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง สนามสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยการแรงงาน แข่งขันในสาขาการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 11 คน จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคถลาง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ SBAC (สะพานใหม่) การแข่งขันจะมี 4 Module คือ Module A : Food and Beverages Service Module B : Special Task Module : C : Bar Service และ Module D : Coffee Service สำหรับสาขานี้ประเทศไทยเคยส่งเยาวชนเข้าแข่งขันในเวทีการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46 ณ เมืองลูเซิร์น สมาพันธรัฐสวิส และเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมมาได้

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันในครั้งนี้มีทั้งหมด 5 กลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 25 สาขา และสาขาสาธิต จํานวน 1 สาขา รวมทั้งสิ้น จำนวน 26 สาขา โดยแยกเป็น 6 สนามแข่งขันและเริ่มแข่งขันไปแล้วหลายสาขา อาทิ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ จัดงานแข่งขันในสาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สนับสนุนบุคลากร สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการจัดงาน มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน 7 ทีม ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก ( 2 ทีม) วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ศูนย์การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและนวัตกรรมหุ่นยนต์ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง สนามสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยการแรงงาน แข่งขันในสาขาการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 11 คน จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคถลาง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ SBAC (สะพานใหม่) การแข่งขันจะมี 4 Module คือ Module A : Food and Beverages Service Module B : Special Task Module : C : Bar Service และ Module D : Coffee Service สำหรับสาขานี้ประเทศไทยเคยส่งเยาวชนเข้าแข่งขันในเวทีการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46 ณ เมืองลูเซิร์น สมาพันธรัฐสวิส และเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมมาได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่