“RSP Innovation Award 2023”ชูงานวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ระดับภาค สู่สุดยอดนวัตกรรมระดับประเทศ

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จัด "การประกวดผลงานนวัตกรรม ระดับประเทศ RSP INNOVATION AWARDS 2023" (อาร์เอสพี อินโนเวชั่น อะวอร์ด 2023) ในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี  เมื่อเร็วๆนี้

นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การประกวด RSP INNOVATION AWARDS 2023 เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้ประกอบการได้เผยแพร่ความสำเร็จ ผลงานวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อเชิดชูเกียรติผู้รับบริการจากอุทยานวิทยาศาสตร์ และเพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าของการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปปรับใช้ได้จริง  ซึ่งการประกวดครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่สาขานักธุรกิจนวัตกรรม และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังได้นำผลิตภัณฑ์และผลงานมาจัดแสดง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีโอกาสได้ทดลองตลาด นำประสบการณ์ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตอบโจทย์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ให้มีศักยภาพต่อไป  

สำหรับรางวัลชนะเลิศ สาขา นักธุรกิจนวัตกรรม คือ ผลิตภัณฑ์ SUWAN Spray นวัตกรรมสารสกัดแก้ปวดจากเบต้าไพนีนในมะกรูด โดย นางณฐมน ปิยะพงษ์  Suwan Spray by Bensu Co.,Ltd จากมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งได้พัฒนาสูตร สำหรับใช้เป็นสเปรย์สามัญประจำบ้าน ทดแทนการใช้ยาแก้ปวด ใช้ได้กับทุกคน และเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงทานยาแก้ปวด

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอีก 2 รางวัล ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหัวหอมสกัด ออซ-พี บรรเทาอาการหวัด โดย ภญ.ชญานิษฐ์ ชูแข บริษัท พีร์ชญาลี้ จำกัด  จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ปุ๋ยอินทรีย์แม่นยำ “พรี-ไอออนิคส์” โดย นายทิวา จามะรี บริษัททิวา อินโนเวท จำกัด จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้คิดค้นนวัตกรรมเครื่อง N-Machine ผลิตปุ๋ยไนโตเจนอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ผลิตได้เร็วกว่าการหมักแบบเดิมมากถึง 30 เท่า

ด้านรางวัลชนะเลิศ สาขากระบวนการ/นวัตกรรมเชิงพาณิชย์   ได้แก่ ผลงาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “ V Flow 3”  คุณวิสิษฐ กอวรกุล บริษัทเจดับบลิว เฮอร์เบิล จำกัด จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ขิง พุทราจีน เห็ดหูหนูดำ เพื่อการดูแลสุขภาพและหลอดเลือด ซึ่งได้พัฒนารูปแบบสารสกัด ชนิดชงดื่มและชนิดเม็ด ให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทานง่าย สะดวก โดยยังคงคุณสมบัติที่มีประโยชน์ไว้อย่างครบถ้วน

รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ผลงาน ZEREE A” นวัตกรรม Jelly Gummy  โดยนายสัตวแพทย์ณฐวัธน์ เอกศิริวรากิตติ์  บริษัท นาโนเซรี่ จำกัด จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สำหรับทางเดินอาหารและสมองพัฒนาในรูปแบบเยลลี่กัมมี่ สามารถพกพาได้สะดวกสบาย รับประทานง่าย ไม่ยุ่งยาก และมีประสิทธิภาพดี

ส่วนอีกหนึ่งรางวัลรองชนะเลิศ คือผลงาน “ชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งในระดับเบื้องต้น”  โดย รศ.ดร. ธีระพงษ์ พวงมะลิ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งเน้นตรวจวัดดีเอ็นที่พบในเลือด และจัดเป็นตัวบ่งชี้ชนิดทั่วไป(Universal biomarker) ของมะเร็งเกือบทุกชนิด  เหมาะสำหรับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งในระดับเบื้องต้น แตกต่างจากการตรวจคัดกรองมะเร็งในปัจจุบัน ที่ตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีความจำเพาะกับมะเร็งแต่ละชนิด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง สำหรับผู้ที่สนใจผลงานที่ได้รับรางวัลสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.facebook.com/mhesi.rsp?mibextid=LQQJ4d

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนไปงาน “ไทยโคเซ็น แฟร์ 2023” มิติใหม่การศึกษาเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ก.ท่องเที่ยวชี้ครึ่งปีแรก ต่างชาติเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น 5 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ประเมินเบื้องต้นพบว่าครึ่งปีแรกของปี 66 (ม.ค.-มิ.ย. 66) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณร้อยละ 63.5 เทียบกับช่วงเดียวกัน