ถึงเวลาพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ

จากเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ WALHI องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซีย เผยกรณีศึกษาโรงเรียนสอนปลูกกาแฟภาคสนาม (Coffee Field School) กับการทำเกษตรอินทรีย์ที่ช่วยพลิกฟื้นวิถีชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อย่างยั่งยืนในการปรับปรุงคุณภาพดินและดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วยลดรายจ่ายจากการงดใช้ปุ๋ยเคมี  เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายกาแฟออร์แกนิคที่ผู้บริโภคถวิลหา 

ความดื่มด่ำในรสชาติของกาแฟในอาเซียนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ตลาดกาแฟพร้อมดื่มจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความหลงไหลในกาแฟสดก็ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งเช่นกันที่ผ่านมาตลาดกาแฟของไทยและในตลาดโลก ยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการเติบโตดังกล่าวไม่ได้สะท้อนว่า คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจะดีขึ้น

สำหรับภูมิภาคอาเซียนนั้น กาแฟเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจท้องถิ่น ไม่ใช่แค่อาชีพ แต่เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร กลิ่นหอมของการคั่วเมล็ดกาแฟ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์ของเกษตรกร ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กาแฟออร์แกนิค ผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ เป็นหนึ่งในแนวทางยกระดับภาพลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากกาแฟออร์แกนิค สามารถจำหน่ายในราคาที่สูงกว่ากาแฟทั่วไปหลายเท่าตัว ส่งผลให้กาแฟออร์แกนิคเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น

 

การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของผู้ปลูกกาแฟในอินโดนีเซีย

“คาซิโม” เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจำนวนมากที่เมืองนากิริ ลูเบ็ก กาเดง (Nagari Lubuk Gadang) ในเกาะสุมาตราตะวันตก  ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟโซลก (Solok) ที่ขึ้นชื่อของอินโดนีเซีย ที่ผ่านมาพวกเขาทำการเกษตรแบบพึ่งพาสารเคมี และยาฆ่าแมลง จึงมีภาระรายจ่ายและต้นทุนการเกษตรที่สูง ประกอบกับในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ราคาเมล็ดกาแฟตกต่ำเหลือเพียง 9.09 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรต้องประสบปัญหาค่าครองชีพอย่างรุนแรง

คาซิโมและเกษตรกร 24 คนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “Kopi Rakyat” หรือกาแฟประชาชน โดยร่วมกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซียที่ชื่อ WALHI (Wahana Lingkungan Hidup Indonesia) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟให้ดีขึ้น

WALHI พัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้ผู้ปลูกกาแฟ

แวงกี เพอวันโต้ (Wengki Purwanto) กรรมการบริหารของ WALHI สุมาตราตระวันตก กล่าวว่า WALHI ได้เปิดโรงเรียนสอนปลูกกาแฟภาคสนาม (Coffee Field School) ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ด้านอาหารอย่างยั่งยืนในเมืองลูเบ็กกาเดงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2022 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับปรุงสภาพของดินและพื้นที่เพาะปลูกผ่านการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์กาแฟ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การควบคุมแมลงศัตรูพืช และสร้างเสถียรภาพให้กับตลาด โดยโรงเรียนสอนปลูกกาแฟนี้ได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในเมืองโซลก และเพิ่มองค์ความรู้ในการปรับปรุงสภาพดินและพื้นที่เพาะปลูก ให้เกษตรกรตามแนวทางของเกษตรอินทรีย์

โครงการโรงเรียนสอนปลูกกาแฟของ WALHI ให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าปุ๋ยเคมี แต่ ให้คุณค่าที่ดีกว่าในสองประการ คือ ทำให้สุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น ควบคู่กับการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพราะปุ๋ยอินทรีย์สามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่าถึง 5 เท่า  จึงช่วยฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกที่แห้งแล้ง ปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน ช่วยการดูดซึมสารอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และรับประกันความยั่งยืนทางการเกษตร ซึ่ง ตรงกันข้ามกับปุ๋ยเคมีที่ทำให้ดินเสื่อมโทรม 

คาซิโม กล่าวว่า การปลูกกาแฟแบบเกษตรอินทรีย์ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ส่งผลให้คุณภาพกาแฟดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น และยังช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แม้จะยังไม่ได้รับรางวัลระดับ prestigious label ใดๆ แต่ คาซิโม มั่นใจว่าทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบัน Kopi Rakyat ได้รับการประเมินคุณภาพในระดับ 80 คะแนน และได้รับการยกย่องให้เป็นกาแฟออร์แกนิคระดับพรีเมี่ยมของโซลกอย่างภาคภูมิใจ 

“การทำเกษตรอินทรีย์ เพาะปลูกกาแฟแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่เพียงแต่ทำให้เรามีผลิตภัณฑ์ที่ดี แต่ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาผืนดิน รักษาสิ่งแวดล้อม และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เรามุ่งมั่นที่จะรักษาการเติบโตและดึงดูดการเงินทุน ภายใต้แนวคิด จากฟาร์มสู่ตลาด  เรามุ่งมั่นแสวงหาการลงทุนในด้านอุปกรณ์ เพื่อยกระดับคุณภาพของกาแฟให้ดีขึ้น เพื่อให้กาแฟของเราได้รับการยอมรับ เป็นที่รู้จักทั้งในระดับประเทศและระดับโลก” คาซิโม กล่าว

WALHI ไม่เพียงแต่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้เกี่ยวกับความซับซ้อนของการเพาะปลูกและการแปรรูปกาแฟ ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ การตลาด การค้า และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟ ทำให้ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น 

แวงกี เพอวันโต้ กล่าวว่า WALHI มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน ควบคู่กับการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมกับผู้เพาะปลูก เพื่อให้แน่ใจว่ากาแฟทุกแก้วจะบอกเล่าเรื่องราว คุณค่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเสมอภาค แหล่งกำเนิด และสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบถ้วน 

________

เกี่ยวกับ WALHI

WALHI (Wahana Lingkungan Hidup Indonesia) เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ประกอบด้วยสมาชิก 487 องค์กรจากองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมด้วยสมาชิก 203 รายที่กระจายอยู่ใน 28 เมืองของอินโดนีเซีย นับตั้งแต่ปี 2523 WALHI ได้ขับเคลื่อนการปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในอินโดนีเซีย มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการยอมรับสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสิทธิเหล่านี้ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน ซึ่งสะท้อนถึงความรับผิดชอบของรัฐในการปกป้องทรัพยากรที่จำเป็น

WALHI ตระหนักถึงความท้าทายที่เพิ่มขึ้น ในการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม และ ความท้าทายจากอิทธิพลของระบบทุนนิยม การเมือง อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบของการสะสมทุนที่มีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงทรัพยากรที่สำคัญ ที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้และส่งเสริมความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต การเคลื่อนไหวทางสังคมที่เข้มแข็งเป็นสิ่งสำคัญ และ WALHI มีบทบาทสำคัญในความพยายามนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ได้23แข้ง'ชบาแก้วU17' ลุยชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้าย ที่อินโดนีเซีย

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศ รายชื่อ 23 นักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลหญิง ชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้าย (AFC U17 Women’s Asian Cup Indonesia 2024 Finals) ระหว่างวันที่ 6-19 พฤษภาคม 2567 ที่ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

เปิด26แข้ง'ชบาแก้วU17' ชุดลุยชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้ายที่อินโดนีเซีย

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศรายชื่อ 26 นักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี เข้าแคมป์เก็บตัวฝึกซ้อม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้าย (AFC U17 Women’s Asian Cup 2024 ) ระหว่างวันที่ 6-19 พฤษภาคม 2567 ที่ ประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้การคุมทีมของ “โค้ชคิม” กฤษดา พวงมะลิ

เริ่มแล้ว! 'งานสังคมสุขใจ' ครั้งที่ 9 งานเดียวเที่ยวได้ทั้งครอบครัว สายออร์แกนิกห้ามพลาด

หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานพิธีเปิดงานสังคมสุขใจ กล่าวว่า จากที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ “Carbon Neutrality” ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

มูลนิธิสังคมสุขใจ ชวนเที่ยวงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 ที่สวนสามพราน 26-28 ม.ค.นี้

มูลนิธิสังคมสุขใจ เปิดเวทีเสวนา หัวข้อ “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์” ชวนภาคีภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมผลักดันประเทศไทยพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ทั้งด้านสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม